Share to:

 

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
สัญชาติไทย ไทย
อาชีพนักธุรกิจ

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 — ) ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[1]กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[2] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[3] ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[4] กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[5] กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมผู้ประกอบการระบบรักษาความปลอดภัยไทย[6] กรรมการอิสระและกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์[7]เขาดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559[8] อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[9] และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และได้รับการแต่งตั้งจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[10]

ประวัติ

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล หรือที่รู้จักกันในนามของ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เกิดเมื่อวัน 24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ที่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากวิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และปริญญาเอกด้านการสื่อสารดิจิทัล จากที่เดียวกัน[11]

การรับราชการ

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ ปี 2526 ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาบริหารอุตสาหการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบกับการดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดูแลในส่วนงานพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2539 จนครบวาระ 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2547 และได้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในช่วงต่อมาจนถึง พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ให้ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยได้รับการต่อวาระในปี พ.ศ. 2556 ดร.ทวีศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผลงาน

นอกเหนือไปจากภารกิจช่วงที่สำคัญต่อชีวิต ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเวลา 8 ปี แล้ว กล่าวได้ว่า ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล มีผลงานหลักในกลุ่มของการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาระบบภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ การพัฒนาและผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม[12]ต่างๆ ที่ต้องใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการริเริ่มสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยร่วมกับบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน [13] โดยเริ่มจากการก่อตั้งเครือข่ายไทยสาร โครงการสคูลเน็ต (School Net) เครือข่ายกาญจนาภิเษก เครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ หรือ GINET (Government Information Network) และการมีส่วนร่วมในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มผลงานที่สาม คือเรื่องการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดย ดร.ทวีศักดิ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายต่างๆร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของประเทศหลายๆท่าน เช่น ศาสตราจารย์คนึง ฤๅไชย ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร และเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นรองประธานกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งออกมาเป็น พรบ.ในปี 2550 รวมถึงการเป็นคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกของประเทศสองวาระ ในช่วงที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) งานสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 2000 การยกร่างและผลักดันนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือ IT 2010[14] การทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549)[15] การผลักดันกฎหมายไอซีที ที่สำคัญต่อประเทศหลายฉบับ และการทำงานร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. เพื่อก่อตั้ง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.ทวีศักดิ์ เข้าร่วมทำงานกับกรรมการระดับชาติและของหน่วยงานต่างๆไม่ต่ำกว่า 100 คณะ ดร.ทวีศักดิ์มีผลงานเขียน และคำบรรยายในที่ต่างๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศจำนวนมาก เป็นบทความมากกว่า 150 เรื่อง และปรากฏในหนังสือต่างๆไม่น้อยกว่า 30 เล่ม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิก
  2. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
  3. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
  4. กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  6. "ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมผู้ประกอบการระบบรักษาความปลอดภัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  7. "ประวัติคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  9. ทวีศักดิ์นั่งเก้าอี้ผอ.เนคเทค
  10. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  11. จากไพรัชถึงทวีศักดิ์[ลิงก์เสีย] ผู้จัดการ
  12. รวมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย NECTEC
  13. ประวัติของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เก็บถาวร 2009-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Network Start-up Resource Center, Oregon, USA
  14. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ[ลิงก์เสีย] NECTEC
  15. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549)[ลิงก์เสีย] NECTEC
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya