ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นนายแพทย์ชาวไทย รู้จักในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ทำหน้าที่สื่อสารต่อประชาชนในสภาวะสถานการณ์การระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์[2]กรรมการแพทยสภาและกรรมการอิสระ ธนาคารออมสิน[3]อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก[4] เเละเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประวัติทวีศิลป์ เป็นชาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2508 บิดาชื่อ เว้งกวง แซ่โต๋ว มารดาชื่อ เพ็ญนภา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นลูกคนที่ 2 เป็นน้องชายนาย ทวีศักดิ์ วิษณุโยธิน เจ้าของธุรกิจเอบีพี กรุ๊ป และเป็นพี่ชาย นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา และ รศ.นพ.ทวีโชค วิษณุโยธิน หัวหน้าสาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวระวีวรรณ วิษณุโยธิน ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย เปิดร้านโชห่วยอยู่หน้าตลาดเทศบาล 2 จังหวัดนครราชสีมา บิดาประสบอุบัติเหตุจนต้องตัดขา ทุกคนในบ้านจึงช่วยทำงาน รวมถึงทวีศิลป์ที่ต้องช่วยเลี้ยงหมู พับถุงขาย กรอกน้ำกรด ทำขนมผิง ฯลฯ เขาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการสอบโควตา[5] หลังจากเรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อปี 2532 เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช นครราชสีมา เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นก็ได้เข้าเรียนที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และได้เข้าทำงาน ณ ที่ดังกล่าว และทำหน้าที่สอนนักศึกษาแพทย์ไปด้วย จนปี 2537 ก็ตัดสินใจไปเรียนต่อเพิ่มเติมที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์แอทชิคาโก ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ทางด้านประสาทจิตเวชศาสตร์[6] ช่วงที่อยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เริ่มทำหน้าที่ตอบคำถามเรื่องจิตเวชผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นรายการล้อมรั้วด้วยรักทางวิทยุ INN รายการโทรทัศน์หลายรายการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จนราวปี พ.ศ. 2546 – 2547 มีข้าราชการอาวุโส สังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ย้ายมาอยู่กับทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มจากการเป็นโฆษกกรมสุขภาพจิต แล้วขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตและสังคม พร้อมดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข[7] ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2552-2556) และผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (2556-2560) วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโฆษก ศบค.[8]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแพทย์ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กระทั่งวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1454/2566 แต่งตั้งให้นายแพทย์ทวีศิลป์ เป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2566 จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ[9] หลังจากเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้เห็นชอบนายแพทย์ทวีศิลป์ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากเกษียณอายุราชการ ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับวิไลรัตน์ วิษณุโยธิน เป็นกุมารแพทย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ ธรรศและธนวินท์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ ดังนี้
ผลงานU-life สายด่วนสุขภาพจิต ออกอากาศครั้งแรกทาง UBC ต่อมาเป็น TNN24 ปี2543-2554 โดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในพระราชูปถัมภ์ฯ Health Station รายการสดออกอากาศทาง ITV อมยิ้ม ออกอากาศทาง ไทยทีวีช่อง3 ภาพยนตร์
อ้างอิง
|