Share to:

 

ทุกรกิริยา

การเฆี่ยนตนเองเป็นการบำเพ็ญ “ทุกรกิริยา” วิธีหนึ่งที่เริ่มทำกันในช่วงที่เกิดแบล็กเดท

ทุกรกิริยา (บาลี: ทุกฺกรกิริยา; อังกฤษ: self-mortification/mortification of the flesh) แปลว่า “การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก”[1] ใช้ในบริบททางศาสนาและจิตวิญญาณ เพื่อหมายถึงการทรมานร่างกายตนเอง เพื่อชำระตนให้บริสุทธิ์จากบาป

“ทุกรกิริยา” อย่างง่ายที่สุดคือการละเว้นจากกิเลสบางอย่าง เช่น การงดดื่มสุรา หรือการเลือกใช้ชีวิตอันสมถะ เช่น ใช้ชีวิตอารามวาสี หรือถ้าเป็น “ทุกรกิริยา” ขั้นรุนแรงอาจจะเป็นการทำร้ายตนเองเช่นโดยการเฆี่ยน แทง หรือกรีดเนื้อหนังเป็นต้น

ศาสนาคริสต์

การทำ “ทุกรกิริยา” ในศาสนาคริสต์ มีต้นกำเนิดมาจากบทจดหมายสามฉบับของเปาโลอัครทูตที่กล่าวว่า “เพราะว่าถ้าท่านดำเนินชีวิตตามเนื้อหนังแล้ว ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าโดยทางพระวิญญาณ ท่านทำลายกิจการของร่างกาย ท่านก็จะดำรงชีวิตได้” (โรม 8:13)[2] ความคิดเดียวกันนี้สะท้อนในบทเขียนที่ว่า “เหตุฉะนั้นจงประหารอวัยวะของท่านซึ่งอยู่ฝ่ายโลกนี้ คือการล่วงประเวณี การโสโครก ราคะตัณหา ความปรารถนาชั่ว และความโลภ ซึ่งเป็นการนับถือรูปเคารพ” (โคโลสี 3:5)[3] และ “ผู้ที่อยู่ฝ่ายพระเยซูคริสต์ได้ตรึงเนื้อหนังไว้ที่กางเขนพร้อมกับราคะและตัณหาแล้ว” (กาลาเทีย 5:24) [4]

ศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ ได้ปฏิเสธการบำเพ็ญแบบทุกรกิริยาเพราะมองว่าเป็นการกระทำโดยอัตตกิลมาถานุโยคคือการปฏิบัติธรรมที่ทำให้ตนลำบากโดยหาประโยชน์มิได้ อันเป็นวิธีการที่สุดโต่ง ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละเว้นเสีย

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 575
  2. โรม 8:13
  3. โคโลสี 3:5
  4. กาลาเทีย 5

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya