สิงโตทะเล บนทุ่นเดินเรือ #14 ในท่าเรือซานดิเอโก
ทุ่นกระป๋องสีเขียว #11 ใกล้ปากแม่น้ำเสากาตัค
ทุ่นวิเคราะห์สภาพอากาศ ของโนอา
ทุ่น (อังกฤษ : Buoy [ 1] [ 2] ) เป็นอุปกรณ์ลอยน้ำ ที่มีวัตถุประสงค์หลากหลาย ซึ่งสามารถทอดสมอ (ให้อยู่กับที่) หรือปล่อยให้ล่องลอยไปกับกระแสน้ำในมหาสมุทร
ประเภท
ทุ่นเดินเรือ
ทุ่นนำร่องสำหรับการแข่งขัน (Racing Buoy, Race course marker buoys) ใช้งานแพร่หลายในการแข่งเรือใบ (Yacht racing)[ 3] และเรือเร็ว (Power boat racing) โดยจะกำหนดด่านที่ต้องขับตามเส้นทางและทิศทางที่วางไว้และไปยังอีกด้านที่กำหนด นอกจากนี้ยังใช้ในการแข่งขันเดินสำรวจใต้น้ำ (Underwater orienteering)
ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency wreck buoys) คือทุ่นที่ใช้ในการแสดงพื้นที่ที่มีซากเรือที่พึ่งอัปปาง ในระยะเวลา 24–72 ชั่วโมงแรก โดยทุ่นใช้สีน้ำเงินและสีเหลืองในแนวตั้งในสัดส่วนที่เท่ากันสลับกัน พร้อมกับสัญญาณไฟกระพริบสีน้ำเงินและสีเหลืองสลับกัน เริ่มต้นใช้งานหลังจากเหตุเรือโดนกันในช่องแคบโดเวอร์เมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อมีเรือไปชนซากเรือ MV Tricolor ที่พึ่งอัปปาง[ 4]
ทุ่นแสดงน้ำแข็ง (Ice marking buoys) สำหรับทำเครื่องหมายหลุมในทะเลสาบหรือแม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง ดังนั้นบริเวณนั้นไม่สามารถขับรถสโนว์โมบิลผ่านหรือข้ามไปได้ รวมไปถึงเตือนนักเดินเรือว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยทุ่งหรือธารน้ำแข็ง[ 3]
ทุ่นเดินเรือขนาดใหญ่ (Large Navigational Buoys: LNB) หรือ ทุ่นเครื่องหมายทางเรืออัตโนมัติขนาดยักษ์ (Large Automatic Navigational Buoy: LANBY) เป็นทุ่นแบบอัตโนมัติที่มีความสูงมากกว่า 10 เมตร พร้อมด้วยแสงกำลังส่งสูงที่สามารถถูกตรวจพบได้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้แทนที่เรือทุ่นไฟ (Light Vessel)[ 5] อาจถูกกำหนดเครื่องหมายบนแผนที่ว่า "Superbuoy"[ 6] หรือ "ทุ่นยักษ์"[ 7] ในภาษาไทย
ทุ่นเครื่องหมายทางข้าง
เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe Water Marks) หรือ ทุ่นไฟปากร่องน้ำ[ 3] (Fairway buoys) ใช้กำหนดเครื่องหมายทางเข้าร่องน้ำหรือแผ่นดินที่อยู่ใกล้เคียง
เครื่องหมายทะเล (Sea marks) ใช้ในการทำเครื่องหมายร่องน้ำในการเดินเรือ บ่งบอกอันตราย หรือพื้นที่ที่มีการควบคุมจัดการ เพื่อให้เรือ ขนาดต่าง ๆ สามารถเดินเรือ ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย บางที่มีการติดตั้งระฆังหรือฆ้องแบบใช้คลื่น
ทุ่นเรือจม (Wreck buoys) ใช้ในการทำเครื่องหมายว่ามีเรืออัปปางอยู่ในบริเวณนั้น และเตือนให้หลีกเลี่ยงเนื่องจากอันตรายที่อาจมองไม่เห็นซากเรือ โดยจะต้องรักษาระยะห่างจากทุ่นนี้ประมาณ 500 หลา[ 3]
ทุ่นไฟ (Light buoys) ทำหน้าที่ในการแบ่งเขตในเวลากลางคืน และช่วยในการเดินเรือเวลากลางคืน
ทุ่นเครื่องหมาย
ทุ่นเครื่องหมาย (Marker buoys) มักใช้ในการทำเครื่องหมายของวัตถุในน้ำชั่วคราวหรือถาวร เช่น
ทุ่นดักกุ้งล็อบสเตอร์ (Lobster trap buoys) จะเป็นทุ่นเครื่องหมายสีสันสดใสในตำแหน่งที่มีการวางกับดัก เพื่อให้ชาวประมงสามารถค้นหาตำแหน่งของที่ดักกุ้งล็อบสเตอร์ของตนได้ง่าย ซึ่งชาวประมงแต่ละคนจะใช้เครื่องหมายสีหรือหมายเลขทะเบียนที่ต่างกันไป ซึ่งพวกเขาได้รับอนุญาตให้ลากเฉพาะทุ่นดักของตัวเอง และต้องแสดงสีของทุ่นและใบอนุญาตปรากฏให้เห็นบนเรือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทราบว่าพวกเขาใช้ทุ่นอะไร โดยการใช้ทุ่นที่มีสีสันสดใสพร้อมกับเลขทะเบียนที่เห็นเด่นชัด จะช่วยให้มองเห็นทุ่นได้ในทุกสภาพอากาศที่ไม่เอื่ออำนวย เช่น ฝนตก หมอกจัด และหมอกทะเล [ 8] [ 9]
ทุ่นลอยตกปลา (Fishing floats) เป็นทุ่นน้ำหนักเบาประเภทหนึ่งที่ใช้ในการตกปลาเพื่อระบุตำแหน่งของเบ็ดเหยื่อที่ห้อยอยู่ใต้น้ำ และเป็นตัวแสดงการกัดเหยื่อเพื่อส่งสัญญาณให้นักตกปลาทราบถึงความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของเบ็ดที่อยู่ใต้น้ำ
การดำน้ำ
ทุ่นเครื่องหมายหลายประเภทอาจถูกใช้งานโดยนักดำน้ำ :
ทุ่นบีบอัด (Decompression buoys) ถูกใช้งานในการดำน้ำสกูบา เพื่อระบุตำแหน่งของตนใต้น้ำในขณะที่กำลังพักน้ำ (decompression stops)
ทุ่นนำทางสำหรับนักดำน้ำ (Shot buoys) ใช้สำหรับทำเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของนักดำน้ำสกูบา ใช้ในการนำลงไปยังจุดดำน้ำได้ง่ายขึ้นในสภาวะที่ทัศนวิสัยต่ำ หรือกระแสน้ำขึ้นน้ำลง รวมถึงสามารถพักน้ำ (decompression stops) ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และช่วยให้กลับขึ้นมายังผิวน้ำเพื่อขึ้นเรือได้อย่างปลอดภัย[ 3]
ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งบนผิวน้ำ [ 10] (Surface marker buoys) จะถูกใช้งานโดยนักดำน้ำสกูบา เพื่อทำเครื่องหมายตำแหน่งจากใต้น้ำ[ 11]
ทุ่นกำหนดเขตดำน้ำ (Dive site demarcation buoys) ใช้ในการระบุว่ามีนักดำน้ำกำลังทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ทำเครื่องหมายดังกล่าว เพื่อเตือนให้เรือที่แล่นผ่านได้รับทราบตำแหน่งได้ชัดเจน
การกู้ภัย
ห่วงชูชีพ (Lifebuoys) เป็นทุ่นช่วยชีวิตที่ใช้ในการโยนให้กับคนที่พลัดตกน้ำเพื่อพยุงตัว โดยมักจะมีสายโยงเพื่อดึงเข้ามาสำหรับช่วยเหลือ
ทุ่นเครื่องหมายบอกตำแหน่งในตัว (Self-locating datum marker buoys: SLDMB) มีขนาด 70 เปอร์เซ็นของโมเดลการทดลองพลวัตของมหาสมุทรชายฝั่ง (Coastal Ocean Dynamics Experiment: CODE) ซึ่งเป็นเรือผิวน้ำสไตล์เดวิสที่มีใบพัดแบบ Drogue ที่กินความลึกระหว่าง 30 ถึง 100 เซนติเมตร[ 12] ออกแบบมาเพื่อใช้งานจากเรือหรืออากาศยานของยามฝั่งสหรัฐ เพื่อค้นหาและกู้ภัย ซึ่งใช้พื้นที่บนผิวน้ำน้อยมากเพื่อลดผลกระทบจากลมและคลื่น[ 13]
ทุ่นกู้ภัยเรือดำน้ำ (Submarine rescue buoys) จะถูกปล่อยในกรณีฉุกเฉินมีวัตถุประสงค์สำหรับติดต่อสื่อสาร
การวิจัย
ทุ่นเก็บข้อมูล (Profiling buoys) เป็นทุ่นเฉพาะทางที่มีการปรับแต่งให้มีการลอยตัวและการจมในอัตราที่สามารถควบคุมได้ลงไปจนถึงความลึกที่กำหนด เช่น ความลึก 2,000 เมตร เพื่อวัดอุณหภูมิของและความเค็มในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ปกติจะประมาณ 10 วัน จากนั้นจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และส่งข้อมูลของรายงานผ่านดาวเทียม และจมลงตามโปรแกรมการทำงานที่ตั้งไว้อีกครั้ง[ 14]
ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ (Tsunami buoys) เป็นทุ่นที่มีการทอดสมอสำหรับตรวจจับความเปลี่ยนแปลงฉับพลันของแรงดันน้ำใต้ทะเล และเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย
ทุ่นวิเคราะห์คลื่น (Wave buoys) จะวัดการเคลื่อนที่ของผิวน้ำเสมือนรถไฟคลื่น ซึ่งจะส่งข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อมูลทางสถิติ เช่น ความสูงและคาบของคลื่นที่ใช้ในการกาดการณ์ รวมถึงทิศทางของคลื่น
ทุ่นวิเคราะห์สภาพอากาศ (Weather buoys) จะวัดค่าตัวแปรต่าง ๆ ของสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความเร็วและทิศทางลม และส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุผ่านดาวเทียม เช่น ระบบ Argos ซึ่งเป็นเครื่อข่ายสำหรับการวิจัยสภาพอากาศโดยเฉพาะ หรือเครื่อยข่ายโทรศัพท์ดาวเทียม ในเชิงพาณิชย์ ไปยังศูนย์อุตุนิยมวิทยาเพื่อการพยากรณ์และศึกษาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจจะทอดสมออยู่กับที่ (ทุ่นผูกเรือ) หรือปล่อยให้ลอยไปอย่างอิสระ (ทุ่นลอย) ในกระแสน้ำเปิด โดยตำแหน่งของทุ่นจะถูกคำนวณโดยดาวเทียม ซึ่งสามารถเรียกทุ่นนี้ได้อีกอย่างว่า ระบบทุ่นเก็บข้อมูลสมุทรศาสตร์ (Ocean data acquisition system: ODAS)[ 15] และอาจถูกทำเครื่องหมายเอาไว้ว่า "ทุ่นยักษ์" หรือ "Superbuoy"[ 6]
ท่าจอดเรือ
ทุ่นลอยหลัก หรือ ทุ่นผูกเรือ (Mooring buoys) จะยึดปลายด่านหนึ่งของสายเคเบิลหรือโซ่ไว้กับทุ่นบนผิวน้ำสำหรับให้เรือสามารถผูกติดกับทุ่นได้ ท่าจอดเรือหลายแห่งจะทำเครื่องหมายด้วยตัวเลขและกำหนดไว้สำหรับเรือลำใดลำหนึ่ง หรือสำหรับให้เช่าใช้งานชั่วคราว
ทุ่นทริปปิ้ง (Tripping buoys) ใช้เพื่อยุดปลายด้านหนึ่งของ "เส้นทริปปิ้ง" (tripping line) เพื่อใช้ในการแยกและช่วยยกสมอบนผิวน้ำ เพื่อช่วยให้สมอที่ติดอยู่ถอนออกมาได้ง่ายขึ้น
ทางการทหาร
ทุ่นเครื่องหมาย (Marker buoys) ใช้งานในสงครามทางเรือ (โดยเฉพาะการปราบเรือดำน้ำ ) สามารถปล่อยแสง และ/หรือควันด้วยการใช้อุปกรณ์ปล่อยพลุแฟลร์ และควัน โดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว (76 มิลลิเมตร) ละความยาวประมาณ 20 นิ้ว (500 มิลลิเมตร) ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยการสัมผัสน้ำทะเลและลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ บางชนิดจะดับเองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ในขณะที่บางชนิดจะดับลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานมันอีก
ใช้ในการสงครามทางเรือ (โดยเฉพาะการต่อต้านเรือดำน้ำ) ปล่อยแสงและ/หรือควันโดยใช้อุปกรณ์พลุเพื่อสร้างพลุและควัน โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว (76 มม.) และยาวประมาณ 20 นิ้ว (500 มม.) พวกมันจะถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสน้ำทะเลและลอยอยู่บนผิวน้ำ บางชนิดดับเองหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่บางชนิดดับลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป
ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ หรือ ทุ่นโซโนบุย (Sonobuoys) เป็นทุ่นที่ถูกใช้งานในอากาศยานการสงครามปราบเรือดำน้ำ เพื่อใช้ตรวจจับเรือดำน้ำ ด้วยระบบโซนาร์
ทุ่นเป้า เป็นทุ่นที่จำลองเป็นเป้าหมาย เช่น เรือเล็ก ในการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงโดยกองทัพเรือและกองกำลังรักษาฝั่ง โดยปกติจะใช้เป็นเป้าหมายสำหรับอาวุธขนาดกลาง เช่น ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ยิงเร็ว (~20 มม.) ปืนใหญ่อัตโนมัติ (สูงสุด 40–57 มม.) และจรวดต่อต้านรถถัง
ใช้งานเฉพาะด้าน
ทุ่นหมายเขต [ 16] (DAN buoys) มักจะถูกใช้เป็น
เครื่องช่วยเดินเรือ ทางทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแท่นสำหรับกระโจมสัญญาณไฟ และสัญญาณวิทยุ
ห่วงชูชีพแบบมีธง ใช้กับเรือยอชต์และเรือสำราญขนาดเล็ก
เครื่องหมายชั่วคราว ในการทำประมงลากอวนของเดนมาร์กเพื่อทำเครื่องหมายตำแหน่งของสมออวน
เครื่องหมายชั่วคราว ที่กำหนดโดย เรือวางหมายเขต (danlayers) ในระหว่างปฏิบัติการเพื่อระบุถึงขอบเขตของเส้นทางกวาดทุ่นระเบิด พื้นที่กวาด อันตรายที่พบ และแจ้งสถานที่ที่ใช้เป็นจุดอ้างอิง
เครื่องหมายชั่วคราว สำหรับการปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ
ทุ่นขอน (Spar buoys) เป็นทุ่นแบบสูง บางทุ่นมีลักษณะมีฐานลอยอยู่เหนือน้ำ เช่น เรือ RP FLIP
อื่น ๆ
ทุ่นพร้อมด้วยตู้จดหมายในทอเร[ 17]
ตู้จดหมายบนทุ่น มีอยู่ใน ทอเร (สวีเดน) และที่ทะเลสาบชไตน์ฮูเดอ (เยอรมนี)[ 18]
ตัวละคร
การจินตนาการให้มี "ทุ่นไปรษณีย์" ซึ่งเป็นตลกที่ใช้ในการแกล้งอำคนเล่นในกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกะลาสีเรือใหม่อาจจะได้รับภารกิจให้ค้นหาทุ่นไปรษณีย์เพื่อรับจดหมายในทุ่นซึ่งไม่มีอยู่จริง[ 19]
การใช้งานอื่น ๆ
คำว่า "buoyed" ในภาษาอังกฤษ ยังสามารถนำมาใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น a person can buoy up (เปรียบเทียบแทนคำว่า 'lift up') someone's spirits by providing help and empathy.[ 20]
ทุ่นถูกนำมาใช้งานในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่น ในบางระบบ[ 21]
จอร์จ เอ. สตีเฟน ผู้ก่อตั้ง บริษัท เวเบอร์-สตีเฟ่น โปรดักส์ จำกัด ได้คิดค้นเตาย่างแบบกาต้มน้ำด้วยการตัดทุ่นโลหาออกครึ่งหนึ่ง แล้วปั่นเตาย่างทรงโดมโดยมีฝาปิดโค้งมน[ 22]
ระเบียงภาพ
ทุ่นต่าง ๆ มากมายในคลังเก็บของ
ทุ่นที่ใช้เป็นเครื่องหมายเลี้ยวในการแข่งเรือใบ
ทุ่นเหล็กเก่า มักเป็นที่จอดเรือ
เด็กๆ เล่นทุ่นใน
แม่น้ำวอลกา
ทุ่นลอยผิวน้ำรีไซเคิล
ทุ่นเกยตื้นที่อุทยานแห่งรัฐเซบาสเตียนอินเล็ต
ทุ่นฉุกเฉินของเรือดำน้ำ นอร์ดคาพาเรน ของสวีเดน
ทุ่นแก๊สเกยตื้นบนบกหลังพายุเฮอริเคนกัลเวสตันเมื่อปี พ.ศ. 2458 ใกล้เท็กซัสซิตี รัฐเท็กซัส
ทุ่นทางกราบขวา (เครื่องหมายทางข้าง - ภูมิภาค B - IALA ) เป็นทุ่นเครื่องหมายร่องน้ำที่แม่น้ำ "รีโอเดลาปลาตา", บัวโนสไอเรส, อาร์เจนตินา
ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิก่อนจะติดตั้งลงในทะเลอันดามัน
ทุ่นดักกุ้งล็อบสเตอร์แขวนอยู่บนต้นไม้ เกาะสปรูซเฮด รัฐเมน สหรัฐอเมริกา
ทุ่นในลานเก็บของแห้ง, โฮเมอร์, อลาสก้า
ทุ่นลอยน้ำพร้อมบารอมิเตอร์
ทุ่นอยู่ระหว่างการซ่อมแซม
ห่วงชูชีพพร้อมแสงไฟบนเรือสำราญ
ทุ่นนอกชายฝั่งวิทบี นอร์ธยอร์กเชียร์
ทุ่นวิเคราะห์สภาพอากาศหยุดอยู่ที่พิกัดของเกาะนัล ซึ่งอยู่ที่ 0°N 0°E
ทุ่นทนน้ำแข็ง MR-2S และ N-2 ที่สนามเด็กเล่นในเมืองทาลลินน์ ประเทศเอสโตเนีย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "buoy" . Dictionary.com Unabridged (Online). n.d.
↑ "buoy" . The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins.
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 co, บริษัท ได อิ ชิ พลาสติค จำกัด Daiichiplastic; Ltd. (2019-05-05). "ทุ่นคืออะไร? และประโยช์ของทุ่นต่างๆกว่า 21 ชนิด" . บริษัท ได อิ ชิ พลาสติค จำกัด ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกสินค้าพลาสติก - ทุ่นจิ๊กซอว์ลอยน้ำ ทุ่นแสดงแนวเขต แผงกั้นแบ่งแนวจราจร ถังปูนพลาสติก ของเด็กเล่น สินค้าอุปโภค และแผ่นพื้นสนามเอนกประสงค์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-10-04. สืบค้นเมื่อ 2023-10-05 .
↑ "Emergency Wreck Buoys | Navigation Buoys | Trinity House" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26 .
↑ "Large Navigational Buoys (LNB)" . United States Coast Guard. สืบค้นเมื่อ Jul 6, 2015 .
↑ 6.0 6.1 National Oceanic and Atmospheric Administration (2013). US Chart No. 1 . Silver Spring: NOAA. p. 89.
↑ สัญลักษณ์, อักษรย่อ, คำศัพท์ ที่ใช้ในแผนที่เดินเรือไทย (PDF) . โรงพิมพ์กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรุงเทพฯ. 2553. p. 68.[ลิงก์เสีย ]
↑ Cobb, John N., "The Lobster Fishery of Maine" , Bulletin of the United States Fish Commission, Vol. 19, Pages 241–265, 1899; from Project Gutenberg
↑ Taft, Hank; Taft, Jan, A Cruising Guide to the Maine Coast and the Maine Coast Guides for Small Boats , Peaks Island, Maine : Diamond Pass Publishing, 5th Edition, 2009. Cf. Chapter: "BUOY, OH BUOY" เก็บถาวร 2008-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , and Chapter: "Fisherman, Lobsterboats, and Working Harbors" เก็บถาวร 2012-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ "ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งบนผิวน้ำไร้สารตะกั่วแบบดีเลย์รุ่น SCD (สีส้ม)" . dkt-ecommerce-th-prod.ig1.chopper-prod.apac-chopper-core-prod-90ju.decathlon.io (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย ]
↑ Davies, D (1998). "Diver location devices" . Journal of the South Pacific Underwater Medicine Society . 28 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16 .
↑ [METOCEAN. (2008). METOCEAN SLDMB: Operating & Maintenance Manual (Version 3.0 ed.) Retrieved from http://www.metocean.com .
↑ [Bang, I., Mooers, C. N. K., Haus, B., Turner, C., Lewandowski, M. (2007). Technical Report: Surface Drifter Advection and Dispersion in the Florida Current Between Key West and Jacksonville, Florida. Technical Report.].
↑ Kery, SM (1989). "Diving in support of buoy engineering: The RTEAM project" . In: Lang, MA; Jaap, WC (Ed). Diving for Science…1989. Proceedings of the American Academy of Underwater Sciences Annual Scientific Diving Symposium 28 September – 1 October 1989 Wood Hole Oceanographic Institution, Woods Hole, Massachusetts, USA . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16 .
↑ IALA (2008). "International Dictionary of Marine Aids to Navigation – ODAS buoy" . สืบค้นเมื่อ 10 December 2016 .
↑ บทที่ 1 การกวาดทุ่นระเบิด (PDF) . กองการฝึก กองเรือยุทธการ. p. 19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-05 .
↑ RCC Pilotage Foundation: Baltic Sea and Approaches . Imray, Laurie, Norie and Wilson Ltd, 2019, p. 241 , ISBN 9781846238925 .
↑ Die Postboje , www.steinhude-am-meer.de.
↑ "Pranks: Some old, some new" . USS RICH . USS RICH Association.
↑ "buoy". Oxford English Dictionary . Vol. II (2nd ed.). Oxford University Press . 1989. p. 661. verb, sense 3.
↑ "Buoy System Harnesses Wave Energy" . ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-25 .
↑ George Stephen, Company Founder and Inventor of the Weber Kettle Grill เก็บถาวร มิถุนายน 23, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูล
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า
ทุ่น