ธงไชยเฉลิมพล
ธงไชยเฉลิมพล หรือ ธงชัยเฉลิมพล (เขียนได้ทั้งสองอย่าง แต่ปัจจุบันประกาศต่าง ๆ ในราชกิจจานุเบกษานิยมสะกดอย่างหลัง) เป็นธงประจำหน่วยทหารทั้งสามเหล่าทัพ ทั้งทหารบก ทหารเรือ และ ทหารอากาศ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธงชัยเฉลิมพลถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของทหาร เป็นเกียรติยศของหน่วยทหารนั้น ๆ เมื่อเวลาเข้าสู่สงคราม ทหารทั้งปวงต้องพิทักษ์รักษาธงชัยเฉลิมพลของหน่วยตนไว้ด้วยชีวิต ธงชัยเฉลิมพลจึงเป็นเครื่องนำความองอาจ กล้าหาญ แห่งหมู่ทหารทั้งปวง ให้เข้าต่อสู้ข้าศึกศัตรูให้ได้ชัยชนะกลับมา ด้วยความที่ธงชัยเฉลิมพลเป็นธงที่มีระเบียบปฏิบัติโดยเฉพาะ ทั้งการเก็บรักษา การเชิญธงในวาระต่าง ๆ ดังนั้น โอกาสในการเชิญธงชัยเฉลิมพลนั้นโดยมากจึงเป็นพระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีการสำคัญ ได้แก่ เชิญเข้าประจำกองเกียรติยศสำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างถิ่น เชิญเข้าประจำกองเกียรติยศสำหรับพระประมุข ประมุขต่างประเทศ ที่เสด็จพระราชดำเนินและมาเยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ เข้าประจำกองเกียรติยศสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระราชานุสาวรีย์ หรือ พระอนุสาวรีย์ในพิธีเปิด เชิญไปในพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร หรือ พิธีการสำคัญของทหารเช่น พิธีอำลาธงชัยเฉลิมพลของทหารที่ปลดประจำการ การเคลื่อนย้ายหน่วยที่ตั้ง เชิญไปในการปฏิบัติการรบ ปฏิบัติการอื่น ๆ ของกองทัพที่ยกกองทหารออกไปปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมิ ธงชัยเฉลิมพลนั้น ไม่เพียงแต่เป็นเกียรติยศของหน่วยทหารเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นจอมทัพ ที่เสมือนหนึ่งเสด็จพระราชดำเนินมาประทับเป็นหลักชัยอยู่ท่ามกลางเหล่าทหารทั้งปวง ทั้งยังเป็นเครื่องหมายของสามสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ อันเป็นหลักใจอันสำคัญของบ้านเมือง ที่ทหารจักต้องรักษาไว้เพื่อประโยชน์สุขแห่งประเทศชาติและประชาชน สมดังคำประกาศของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ที่ว่า
พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารต่าง ๆ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2434 ความว่า
ประเภทตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 ได้กำหนดประเภทของธงชัยเฉลิมพลไว้ 3 ชนิด คือ ธงชัยเฉลิมพลของทหารบก ธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือ และธงชัยเฉลิมพลของทหารอากาศ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ ธงชัยเฉลิมพลของทหารบกธงชัยเฉลิมพลของทหารบก มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีอุณาโลมทหารบกและมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลือง เป็นแถวโค้งโอบใต้อุณาโลมทหารบก ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้า ขอบธงด้านที่ติดกับคันธงมีเกลียวเชือกสีแดงสลับดำ ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง กว้าง 2 เซนติเมตร[1] คันธงตอนที่ตรงกับธง มีสักหลาดสีแดงต่อกับริมธงหุ้มรอบคันธง มีหมุดทำด้วยโลหะสีทอง 15 หมุด หมุดที่ 1 เป็นรูปประเทศไทย หมุดที่ 2 เป็นรูปเสมาธรรมจักร หมุดที่ 3 เป็นรูปพระปรมาภิไธยย่อ หมุดที่ 4 เป็นรูปรัฐธรรมนูญ หมุดต่อไปเป็นรูปเครื่องหมายกองทัพบก หมุดที่ 1 อยู่บนสุด หมุดต่อไปเรียงลงมาตามลำดับ อนึ่ง สำหรับธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารในกองบัญชาการกองทัพไทย ใช้ธงลักษณะอย่างเดียวกับธงชัยเฉลิมพลของทหารบก[2] ธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือ มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักรแปดแฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักร ภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง ขอบธงด้านที่ติดกับคันธง มีเกลียวเชือกสีแดง[3] ซึ่งก็คือเหมือนกับธงฉานนั่นเอง ธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือ นั้น ยอดคันธงเป็นรูปช้างสามเศียรภายใต้พระมหามงกุฎ ทำด้วยโลหะสีทอง มีแถบธงชาติเป็นโบหูกระต่ายห้อยชายทั้งสองข้าง มีส่วนยาวเลยมุมธงด้านล่าง ชายแถบทั้งสองเป็นครุยมีสักหลาดสีแดงต่อกับริมธงหุ้มรอบคันธง มีหมุดทำด้วยโลหะสีทอง 15 หมุด หมุดที่ 1 เป็นรูปประเทศไทย หมุดที่ 2 เป็นรูปเสมาธรรมจักร หมุดที่ 3 เป็นรูปพระปรมาภิไธยย่อ หมุดที่ 4 เป็นรูปรัฐธรรมนูญ หมุดต่อไปเป็นรูปเครื่องหมายกองทัพเรือ หมุดที่ 1 อยู่บนสุด หมุดต่อไปเรียงลงมาตามลำดับ ธงชัยเฉลิมพลของทหารอากาศธงชัยเฉลิมพลของทหารอากาศ มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีฟ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในดวงกลมมีอุณาโลมทหารอากาศ และมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้ดวงกลมสีฟ้า ผืนธงมุมด้านบนที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้าขอบธงด้านที่ติดกับคันธงมีเกลียวเชือกสีแดงสลับดำ ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร[4] ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนธงชัยเฉลิมพลของทหารบก แต่หมุดที่ห้าเป็นต้นไปเป็นเครื่องหมายกองทัพอากาศ ลักษณะของธงชัยเฉลิมพลทั้งสามเหล่าทัพนี้ ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 14 พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 วรรค 2 ได้กำหนดให้หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ซึ่งมีธงชัยเฉลิมพลของทหารบกแล้ว จะมีธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งธงก็ได้ ธงนี้มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่กว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 105 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 52.5 เซนติเมตร ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาคันธง ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีเหลือง และมีชื่อหน่วยทหารสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้พระปรมาภิไธยย่อ ขอบธงด้านที่ติดกับคันธงมีเกลียวเชือกสีแดงสลับดำ ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร[5] ธงนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เริ่มพระราชทานให้หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2496 โดยหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานคือ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และหน่วยขึ้นตรง[6]
พระราชพิธีตรึงหมุด และพระราชทานธงชัยเฉลิมพลในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อจะพระราชทานธงชัยเฉลิมพลจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในโอกาสนั้น ภายหลังทรงศีลแล้ว จะทรงบรรจุเส้นพระเจ้า ซึ่งบรรจุในพระกรัณฑ์ไว้ที่ยอดธง จากนั้นทรงไขปิดด้วยยอดซุ้มเรือนแก้วประดิษฐานพระพุทธรูป ทรงตรึงหมุด ได้แก่ หมุดรูปแผนที่ประเทศไทย หมุดรูปธรรมจักร หมุดอักษรพระบรมนามาภิไธย หมุดรูปรัฐธรรมนูญ เป็นอาทิ แล้วจึงทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิม ขณะนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา จากนั้นเชิญธงออกไปรอพระราชทานที่สนามหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ณ ที่นั้น เจ้าพนักงานทอดพระที่นั่งชุมสายเป็นที่ประทับ กองทหารที่จะเข้ารับพระราชทานธงเคลื่อนจากการที่รวมพลมาตั้งแถวรออยู่ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บัญชาการเหล่าทัพ กราบบังคมทูลพระกรุณาเบิกหน่วยทหารเข้ารับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล เมื่อรับพระราชทานธงครบแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนำทหารกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล เป็นอันเสร็จการพระราชพิธีตรึงหมุดและพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ความหมายของธงความหมายสำคัญของธงชัยเฉลิมพล มี 3 ประการ คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
ต่างประเทศ
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Unit colours of the Royal Thai Armed Forces
|