ธรณีวิทยาทางทะเลธรณีวิทยาทางทะเล คือการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโครงสร้างของพื้นมหาสมุทรและศึกษาเกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์, ธรณีเคมี, ตะกอนวิทยาและบรรพชีวินวิทยาที่ค้นคว้าวิจัยและหาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นมหาสมุทรและชายฝั่ง ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของธรณีฟิสิกส์และสมุทรศาสตร์กายภาพ การศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยาทางทะเลมีความสำคัญมากในการหาข้อมูลและหลักฐานสำคัญเกี่ยวการขยายตัวของพื้นทะเลและเปลือกโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากทะเลลึกเป็นพื้นที่สุดท้ายที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่โดยละเอียดจึงต้องเริ่มมีการสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร (เรือดำน้ำ) วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ (ปิโตรเลียมและเหมืองแร่โลหะ) และวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย ภาพรวมวงแหวนแห่งไฟรอบมหาสมุทรแปซิฟิกกับการปะทุของภูเขาไฟและกิจกรรมเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่หลวง การที่จะสามารถเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้จะต้องมีข้อมูล, รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับธรณีวิทยาทางทะเลและสภาพแวดล้อมของชายฝั่งและหมู่เกาะรูปโค้ง การศึกษาชายฝั่ง การผุพัง การตกตะกอนของทะเลลึกและการละลายของแคลเซียมคาร์บอเนตในสภาพแวดล้อมทางทะเลต่าง ๆ มีผลกระทบที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การศึกษาและการค้นพบเทือกเขากลางสมุทรและปล่องแบบน้ำร้อนครั้งแรกในทะเลแดงและต้อมาที่เทือกเขากลางสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้กลายเป็นพื้นที่สำคัญในการวิจัยธรณีวิทยาทางทะเล อิกซ์ตรีโมไฟล์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในภาวะสุดขั้วในปล่องแบบน้ำร้อนทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจเริ่มต้นจากสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ร่องลึกก้นสมุทรเป็นภูมิประเทศที่มีลักษณะยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่ลึกที่สุดในโลก เป็นร่องลึกที่เกิดจากแผ่นแปซิฟิกมุดตัวลงไปใต้แผ่นทะเลฟิลิปปิน อ้างอิง
ข้อมูลเพิ่มเติม |