Share to:

 

ทะเลลึก

ระดับชั้นทะเล

ทะเลลึก (อังกฤษ: Deep sea) [1]เป็นระดับน้ำที่มีความลึกตั้งแต่ 200 เมตรลงไป นับเป็น 70% ของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ทะเลลึกเป็นเขตที่มีแสงน้อยจนถึงไม่มีแสงเลย สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะกินสารอินทรีย์หรือซากศพจากทะเลด้านบน ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เคยสันนิษฐานว่ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนน้อยมากในเขตทะเลลึก แต่จากการสำรวจพบว่ามันเป็นอะไรตรงกันข้ามกับการสันนิฐาน เพราะมันมีสิ่งมีชีวิตมากมายในทะเลลึก อีกทั้งยังมีห่วงโซ่อาหารที่มาจากขยะ ซากสัตว์และแบคทีเรียต่าง ๆ

ตั้งแต่สมัยของพลินีผู้อาวุโสจนถึงประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มนุษย์เชื่อว่าใต้ทะเลลึกนั้นไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งช่วง ค.ศ. 1872-1876 เรือขุดเจาะและเรือลากได้นำสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกมากมายขึ้มมาให้ได้เห็นกัน แต่ถึงอย่างนั้นนักวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 ก็ยังคิดว่าสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกนั้นเป็นเรื่องเหลวไหลและงมงาย เหตุที่ทำให้พวกเขาคิดเช่นนั้นเป็นเพราะทะเลลึกเป็นสถานที่ ๆ มืดมิด แรงดันน้ำมหาศาลและมีอุณหภูมิที่หนาวเย็น แต่ความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะแหล่งที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ทะเลส่วนมากในมหาสมุทรอยู่ที่ระดับความลึกต่ำกว่า 200 เมตรลงไป[2]

ใน ค.ศ. 1960 ยานสำรวจน้ำลึกตรีเอสเตลงไปสำรวจร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาทางใต้ของหมู่เกาะมาเรียนาใกล้กับเกาะกวม ที่ระดับความลึก 10,911 เมตร ซึ่งเป็นจุดลึกที่สุดในโลก ถ้านำมาวัดกับยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดของมันจะจมอยู่ใต้น้ำถึง 1.61 กม. เมือยานสำรวจน้ำลึกตรีเอสเตถูกปลดระวาง ก็เหลือเพียงยานสำรวจน้ำลึกไคโกะเท่านั้นที่สามารถดำลงมาที่ระดับความลึกนี้ได้ (สูญหายไปในทะเลใน ค.ศ. 2003) ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 2009 ยานสำรวจน้ำลึกนีรีอัสกลับไปสำรวจที่แชลเลนเจอร์ดีปอีกครั้งเพื่อทำการดำน้ำสามครั้งให้มีระดับความลึกมากกว่า 10,900 เมตร

ขณะนี้มีเพียงประมาณ 1% ของท้องทะเลลึกทั้งหมดที่มนุษย์เคยสำรวจเมื่อเทียบกับการศึกษาจักรวาลแล้วเรายังรู้จักจักรวาลและดวงจันทร์ดีกว่าทะเลลึกเสียอีก[2] เคยมีการสันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกจำเป็นต้องพึ่งอินทรียวัตถุที่ตกลงจากทะเลด้านบนเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งมีการการค้นพบโคโลนี[3]ของกุ้งและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รอบปล่องแบบน้ำร้อนในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ก่อนจะมีการค้นพบปล่องแบบน้ำร้อน นักวิทยาศาสตร์ได้มีการยอมรับว่าทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ การค้นพบปล่องแบบน้ำร้อนนี้ทำให้พบว่าสิ่งมีชีวิตทะเลลึกได้รับสารอาหารและพลังงานโดยตรงจากแหล่งความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของแร่ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีแสงและใช้ออกซิเจนในน้ำเกลือที่มีอุณหภูมิ 150 ° ซ. พวกมันยังชีพโดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก การค้นพบสิ่งมีชีวิตที่ทรหดและอยู่ในสถานที่ ๆ เลวร้ายเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องเปลี่ยนความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการกำเนิดสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในที่อื่น ๆ ของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าดวงจันทร์ยูโรปา ดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดีอาจจะสามารถรองรับชีวิตใต้พื้นผิวน้ำแข็งได้[4]โดยอาจมีสภาพเหมือนกันกับใต้ทะเลลึกของโลก

ลักษณะสิ่งแวดล้อม

แบลคสโมกเกอร์ ปล่องไฮโดรเทอร์มอลที่สามารถพบได้ในใต้ทะเลลึก

ทะเลลึกคือเขตของน้ำทะเลที่แสงไม่สามารถส่องถึงได้และจะมีสิ่งมีชีวิตและปลาทะเลลึกที่ปรับตัวแล้วเท่านั้นที่จะสามารถอาศัยอยู่ได้[5]

ในทะเลลึกหิมะทะเลเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะมันเป็นแหล่งอาหารอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในทะเลลึก ซึ่งหิมะทะเลจะมาจากทะเลด้านบน โดยหิมะทะเลนั้นจะมาจากแพลงก์ตอนที่ตายแล้ว, ไดอะตอม, อุจจาระ, ทราย, เขม่าและฝุ่นอนินทรีอื่น ๆ เกล็ดของหิมะทะเลอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตรและมันใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะตกลงถึงก้นสมุทรอย่างไรก็ตามส่วนประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ของหิมะทะเลจะถูกกินโดยจุลินทรีย์แพลงค์ตอนและสัตว์อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้หิมะทะเลจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นรากฐานของระบบนิเวศในทะเลและสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกเนื่องจากแสงแดดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้สิ่งมีชีวิตในทะเลลึกส่วนใหญ่จึงอาศัยน้ำหิมะเป็นแหล่งพลังงาน

ความดันไฮโดรสแตติกจะเพิ่มขึ้น 1 บรรยากาศทุก ๆ 10 เมตร[6]ซึ่งสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกนั้นมีการปรับตัวให้ความกดดันภายในร่างกายเหมือนกันกับสภาพภายนอกดังนั้นพวกมันจึงไม่ถูกบดขยี้ด้วยแรงกดดันอันมหาศาลของทะเลลึก ความดันภายในที่สูงทำให้มีการไหลของเยื่อลดลงเนื่องจากโมเลกุลถูกบีบเข้าด้วยกันและการการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางชีวภาพให้อาศัยอยู่ในทะเลลึกได้ดีและสำคัญที่สุดคือการผลิตโปรตีนเพื่อให้สิ่งมีชีวิตได้ปรับตัวเข้ากับสถานที่ที่มีแรงดันอันมหาศาลนี้โดยการเพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์[7]และนอกเหลือจากการปรับตัวเรืองความดันแล้วยังมีก่รพัฒนาปฏิกิริยาการเผาผลาญของพวกมันอีกด้วยเนื่องจากปฏิกิริยาทางชีวเคมีจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรซึ่งถ้าผลของปฏิกิริยาส่งผลให้ปริมาณเพิ่มขึ้นก็จะถูกยับยั้งด้วยแรงกดดันที่มีความสัมพันธุ์กัน[8] ซึ่งหมายความว่ากระบวนการเผาผลาญอาหารของพวกมักก็ต้องลดปริมาณของสิ่งมีชีวิตลงด้วยในระดับหนึ่ง

อุณหภูมิ

กราฟแสดงการเปลียนแปลงอุณหภูมิ

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันนั้นส่วนมากมีอยู่สองพื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งก็คือ:

  1. การเปลี่ยนแปลงระหว่างน้ำผิวดินกับน้ำในทะเลลึกซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความลึกโดยทะเลเขตที่มีแสงส่องถึงอุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส พอลึงลงไป 1,000 เมตร อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 5-6 องศาเซลเซียส และเมื่ออยู่ในระดับน้ำ 3,000-4,000 เมตรอุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 0-3 องศาเซลเซียส น้ำเย็นเหล่านี้เกิดจากพวกมันไม่โดยแสงแดดและการจมของมวลน้ำเย็นที่ละลายมาจากขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว[9]
  2. การเปลี่ยนแปลงระหว่างน้ำมหาสมุทรกับน้ำร้อนของปล่องไฮโดรเทอร์มอล โดยอุณหภูมิของน้ำบริเวณปล่องแบบน้ำร้อนจะอยู่ที่ประมาณ 400องศาเซลเซียส แต่น้ำที่อยู่ห่างจากบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอลประมาณ 2-3 เมตรจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียสเท่านั้น[10]

แสง

แสงจากดวงอาทิตย์จะไม่สมารถทะลุผ่านมหาสมุทรลึกได้ยกเว้นเขตที่แสงส่องถึงจึงทำให้ไม่มีการสังเคราะห์แสงดังนั้นพืชจึงไม่สามารถอาศัยอยู่ในเขตนี้ได้ เนื่องจากพืชเป็นผู้ผลิตหลักของระบบนิเวศของโลกจึงทำให้เกือบทั้งหมดของชีวิตในทะเลลึกนี้ต้องขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานจากที่อื่น ยกเว้นบริเวณที่ใกล้กับปล่องแบบน้ำร้อน โดยจะพึ่งพลังงานจากวัสดุอินทรีย์หรือซากสัตว์ล่องลอยตกลงมาจากทะเลด้านบนซึ่งวัสดุอินทรีย์ที่ฝังอยู่ประกอบด้วยอนุภาคของสาหร่ายเศษซากและรูปแบบอื่น ๆ ของขยะทางชีวภาพซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่าหิมะทะเลก็ได้

ความดัน

ความดันในทะเลลึกนั้นอันตรายต่อมนุษย์มากซึ่งความกดดันในทะเลจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 บรรยากาศทุก ๆ 10 เมตร ยิ่งมีความลึกมากความดันก็ยิ่งมาก แต่ถึงอย่างนั้นหลายปีที่ผ่านมาการศึกษาเรื่องความดันนั้นขาดข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบของแรงกดดันต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกมากที่สุดเนื่องจากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเมื่อนำมาขึ้นฝั่งเพื่อทำการศึกษานั้นพวกมันก็จะตายก่อนที่จะได้ศึกษาเนื่องจากก๊าซที่ถูกบีบอัดภายใต้แรงดันสูงจะขยายตัวภายใต้แรงดันต่ำ ด้วยเหตุนี้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงถูกระเบิดหากพวกมันขึ้นสู่ผิวน้ำ[8]


ความเค็ม

ความเค็มเป็นที่น่าทึ่งของทะเลลึกเหราะมันคงที่ตลอดโดยมีค่าประมาณ 35 ส่วนต่อ 1,000 ซึ่งถือว่ามีความต่างเล็กน้อย[9]

ชีววิทยา

บริเวณด้านล่างของทะเลนั้นจะแบ่งออกเป็นโซนอื่น ๆ โดยเริ่มจากเขตที่มีแสงเข้มซึ่งมีช่วงความลึกตั้งแต่ 200 ถึง 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีแสงน้อยมากที่ทะลุผ่านลงมาในเขตนี้ได้การผลิตและสังเคราะห์แสงของพืชในเขตนี้จึงค่อนข้างยาก ด้านล่างของเขตนี้จะประกอบด้วยบริเวณที่คล้ายบ่อมีน้ำขังอยู่ลึก ๆ และมีความอุดมสมบูรณ์ อาหารประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่ตกค้างซึ่งเรียกว่า 'หิมะทะเล' และซากที่ตกลงมาจากเขตที่แสงส่องถึง

โครงสร้างทางกายภาพ

สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนั้นส่วนใหญ่มีการปรับตัวที่แปลกประหลาด เช่น การเรืองแสง มีปากที่ใหญ่มีฟันที่แหลมคม โครงสร้างที่สามารถกัดกินเหยื่อได้โดยไม่เกี่ยงขนาด อีกทั้งพวกมันยังมีตาที่ไวต่อแสง มีช่องมองภาพที่สามารถเห็นเงาของเหยื่อได้ แต่เหยื่อก็มีการปรับตัวเช่นกันด้วยการทำให้ตัวเองลีบแบนและลดเงาด้วยการเรืองแสงและการที่มีอวัยวะเรืองแสง (photophores) ใต้ท้องเพื่อปรับแสงให้เข้ากับด้านบนตัวปลาเพื่อให้นักล่าจากด้านล่างไม่สามารถมองเห็นมันได้อีกด้วย

การลอยตัว

ปลาทะเลลึกหลายสายพันธุ์มีเนื้อเหมือนวุ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยไกลโคสะมิโนไกลแคนเพื่อมาแทนที่ถุงลมหรือการใช้ก๊าซในการลอยตัวซึ่งการมีเนื้อแบบนี้จะทำให้มีความหนาแน่นต่ำ[11]นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหมึกทะเลลึกที่ใช้เนื้อเยื่อที่มีเจลาตินเข้ากับห้องลอยในตัวตัวที่เต็มไปด้วยของเหลวที่สร้างขึ้นจากของเสียจากการเผาผลาญซึ่งของเหลวนั้นคือแอมโมเนียมคลอไรด์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าน้ำโดยรอบ

การเผาผลาญพลังงาน

พวกมันมีการเผาผลาญอาหารที่ช้าและอาหารที่ล่ามานั้นพวกมันจะล่าแบบไม่เลือกและพวกมันชอบที่จะรออาหารเหยื่อมากกว่าไล่ล่าเพราะมันว่ายน้ำได้ช้าและเพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานมากจนเกินไป

การผสมพันธุ์

เนื่องจากใต้ทะเลลึกนั้นหาคู่ได้ยากพวกมันจึงมีการปรับตัวให้ตัวเองสามารถเปลียนแปลงเพศได้ในกรณีที่เจอเพศเดียวกัน

อาหาร

สิ่งมีชีวิตในทะเลลึกเกือบทั้งหมดพึ่งพาการจมน้ำและสารอินทรีย์ที่ตายแล้วเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในรูปของหิมะทะเลประมาณ 1-3% กับซากสัตว์ 97-99% เช่น ซากปลาหรือวาฬเป็นต้น[12]และนอกจากนี้ยังมี Freyellidae ที่กินอาหารจากอนุภาคอินทรีย์โดยใช้หนวดได้อีกด้วย[13]อีกทั้งไวรัสทะเลยังมีบทบาทสำคัญในการขับสารอาหารในตะกอนในทะเลลึก (ระหว่าง 5x1012 และ 1x1013 เฟสต่อตารางเมตร) ในตะกอนของทั่วโลก[14]

เคมีสังเคราะห์

มีหลายสายพันธุ์ที่ไม่ได้พึ่งพาอินทรียวัตถุโดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะอยู่บริเวณปล่องแบบน้ำร้อนยกตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ทางชีวภาพระหว่างหนอนท่อและแบคทีเรียเคมีบำบัด ซึ่งปล่องแบบน้ำร้อนนี้เป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่ไม่กี่แห่งบนโลกที่ไม่ต้องอาศัยแสงแดดในการจัดหาพลังงาน[15]

การสำรวจ

คลิปการสำรวจสิ่งมีชีวิตและปลาทะเลลึก

ทะเลลึกเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับมนุษย เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสำรวจน้อยมากบนโลกและเนื่องจากแรงดันทำให้เรือดำน้ำบางลำไม่สามารถเข้าไปสำรวจได้ ดั้งนั้นการสำรวจจึงมีวิธีคือ:

  1. ยานพาหนะดำน้ำที่ดำเนินการจากระยะไกล
  2. เรือดำน้ำทนแรงดันสูง

สิ่งมีชีวิต

เป็นเวลานานมากที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไม่มีชีวิตที่จะสามารถอาศัยอยู่ในทะเลลึกได้ แต่ในตอนนี้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นตรงกันข้ามเลย ท้องทะเลลึกเป็นที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในความมืดทั้งหลายของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากแปลกประหลาดและไม่เคยพบเจอที่ไหน ทั้งนี้สัตว์ทะเลลึกมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถต้านทานแรงดันน้ำได้ถึง 1,000 เท่าซึ่งเยอะมากกว่าความดันของอากาศบนบก ปลาบางชนิดในทะเลน้ำลึกมันมักจะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและปลาอื่น ๆ อีกทั้งพวกมันมีขากรรไกรขนาดใหญ่และยาวที่ยืนอยู่ด้านหลังฟันโดยทุกอย่างที่แหวกว่ายอยู่จะถูกพวกมันคว้าและกลืน ปลาบางชนิดมีการขยายท้องเพื่อให้พวกมันสามารถที่จะกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้ ที่ใต้ทะเลลึกนั้นสิ่งชีวิตส่วนมากเป็นดอกไม้ทะเล, เวิร์ม, ปลิงทะเล, ดาวเปราะปู, กุ้งและอื่น ๆ

ส่วนใหญ่ของปลาที่อาศัยอยู่ที่นี่จะมีการเรืองแสงโดยพวกมันสร้างแสงของตัวเองผ่านปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายของพวกมัน บางชนิดที่อาศัยอยู่ที่นี่ ชนิดที่แตกต่างกันของทะเลดอกไม้ทะเล

ใต้ทะเลลึกนั้นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตินั้นจะน้อยลง มีแรงดันน้ำมหาศาลออกซิเจนน้อยสภาพน้ำนั้นเย็นยะเยือกเป็นจุดเยือกแข็งและบางส่วนมีอุณหภูมิสูงถึง 400°C จนทำให้คิดได้ว่ายากที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ แต่กลับกลายเป็นว่าใต้ทะเลลึกแห่งนี้มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ชนิดมากมายโดยมีการค้นพบน้อยมากเพียง 2% จากการค้นพบปลาในทะเลทั้งหมดซึ่งอาจมีสายพันธ์ที่เรายังไม่ค้นพบอีกเป็นจำนวนหนึ่งโดยพวกมันนั้นมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันปรับสภาพเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพที่สุดขั้วในสถานที่แห่งนี้ได้ แหล่งอาหารของพวกมันส่วนใหญ่ก็จะเป็นซากศพที่ตายแล้วตกลงมาเบื้องล่างหรือการล่า ทั้งนี้ก็มีปลาสายพันธ์ต่าง ๆ มากมายเช่นปลาฉลามครุย ปลาไหลกัลเปอร์ และอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Navy Supplement to the DOD Dictionary of Military and Associated Terms (PDF). Department Of The Navy. August 2006. NTRP 1-02.
  2. 2.0 2.1 Tim Flannery, Where Wonders Await Us, New York Review of Books, December 2007
  3. "โคโลนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  4. Magnetic Fields and Water on Europa. SETI Institutes Center for the Study of Life in the Universe. February 2004. MagEuropa.
  5. Moyle and Cech, 2004, page 585
  6. Wharton, David. (2002). Life at the Limits: Organisms in Extreme Environments. Cambridge, UK: Cambridge UP. pp. 198. ISBN 978-0521782128.
  7. Wharton, David (2002). Life at the Limits: Organisms in Extreme Environments. Cambridge, UK: Cambridge UP. pp. 199, 201–202. ISBN 978-0521782128.
  8. 8.0 8.1 Wharton, David. (2002). Life at the Limits: Organisms in Extreme Environments. Cambridge, UK: Cambridge UP. pp. 199. ISBN 978-0521782128.
  9. 9.0 9.1 Claus Ditlefsen. "About the Marianas" (in Danish) Ingeniøren / Geological Survey of Denmark and Greenland, 2 November 2013. Accessed: 2 November 2013.
  10. Nybakken, James W. Marine Biology: An Ecological Approach. Fifth Edition. Benjamin Cummings, 2001. p. 136 - 141.
  11. http://www.astrobio.net/news/print.php?sid=617
  12. R. N. Gibson, Harold (CON) Barnes, R. J. A. Atkinson, Oceanography and Marine Biology, An Annual Review. 2007. Volume 41. Published by CRC Press, 2004 ISBN 0-415-25463-9, ISBN 978-0-415-25463-2
  13. http://www.nhm.ac.uk/nature-online/earth/oceans/deep-ocean/session3/index.html
  14. Danovaro, Roberto; Antonio Dell'Anno; Cinzia Corinaldesi; Mirko Magagnini; Rachel Noble; Christian Tamburini; Markus Weinbauer (2008-08-28). "Major viral impact on the functioning of benthic deep-sea ecosystems". Nature. 454 (7208): 1084–1087. doi:10.1038/nature07268. PMID 18756250. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  15. HW Jannasch. 1985. The Chemosynthetic Support of Life and the Microbial Diversity at Deep-Sea Hydrothermal Vents. Proceedings of the Royal Society of London. Series B, Biological Sciences, Vol. 225, No. 1240 (Sep. 23, 1985), pp. 277-297
Kembali kehalaman sebelumnya