นกกะปูดใหญ่ หรือ นกกดเพลิง [ 3] (อังกฤษ : Greater coucal, Crow pheasant ) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) แต่ไม่ใช่นกปรสิต เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอเชีย จากประเทศอินเดีย ไปทางตะวันออกถึงจีน และลงไปทางใต้ถึงอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย
นกกะปูดใหญ่มีขนาดใหญ่คล้ายอีกา มีหางยาว และมีปีกสีน้ำตาลทองแดง พบในแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายจากป่าถึงพื้นเพาะปลูก และสวนในเมืองใหญ่ เป็นนกมักมีพฤติกรรมปีนป่ายตามพุ่มไม้หรือเดินอยู่ตามพื้นดินเพื่อหาแมลง ไข่ หรือลูกนกชนิดอื่นกินเป็นอาหาร
ลักษณะ
นกกะปูดใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัดคู ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 48-52 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว ปากหนาและสันปากบนโค้งลงตอนปลาย ตอนปลายสุดงุ้มลงคลุมปลายปากล่าง ขนบริเวณหัว ลำคอ และอกค่อนข้างน้อยและเส้นขนค่อนข้างแข็ง ปีกค่อนข้างสั้นและมนกลม ขนปลายปีกมี 9 เส้น หางค่อนข้างยาวและปลายหางมน ขนหางมี 8 เส้น ขนหางแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไปและสามารถแผ่ออกได้เหมือนพัด ขาค่อนข้างยาว หนาและแข็งแรง นิ้วเท้ามีข้างละ 4 นิ้ว นิ้วหลังมีเล็บยาวค่อนข้างตรง[ 3]
สองเพศมีสีสันเหมือนกัน แต่นกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่านกตัวผู้เล็กน้อย[ 4] ปากสีดำ ม่านตาสีแดง หัว คอ และหลังตอนบนสีดำเหลือบเขียวเล็กน้อย แต่หลังตอนบนเหลือบสีน้ำตาลและม่วงด้วย ก้านขนบริเวณหัว คอ และอกสีดำเป็นมัน หลังตอนล่างและปีกสีน้ำตาลแกมแดง แต่ขนปลายปีกสีดำคล้ำๆ หางสีดำเหลือบเขียวหม่น ขนคลุมใต้ปีกสีดำ ขาและนิ้วเท้าสีดำ
นกวัยอ่อนมีชุดขนสีดำคล้ำมีจุดบนกระหม่อมและมีแถบสีขาวบนส่วนล่างและหาง
ชนิดย่อยและการกระจายพันธุ์
เล็บหลังที่ตรงยาวอันเป็นลักษณะของสกุล
ชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดพบในหุบเขาอินดัส (Indus Valley) ผ่านเขตย่อยหิมาลายัน (sub-Himalayan) และที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (Gangetic plains) ไปจนถึงประเทศเนปาล รัฐอัสสัม และตีนเขาในประเทศภูฏาน และตอนใต้ของจีน (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง , มณฑลเจ้อเจียง , มณฑลฝูเจี้ยน )[ 5]
Centropus sinensis + Centropus toulou
ชนิดย่อย parroti Stresemann , 1913 พบในคาบสมุทรอินเดีย (รัฐมหาราษฏระ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐโอริศา และทางใต้) มีหลังสีดำ นกวัยอ่อนไม่มีขีดที่ปีก[ 5]
ชนิดย่อย intermedius Hume , 1873 มีขนาดเล็กที่สุดพบในประเทศบังคลาเทศ ทางตะวันตกของคาชาร์ (Cachar) ในพม่า และหุบเขาชิน (Chin Hills) ในจีน (มณฑลยูนนาน, มณฑลไหหลำ), ไทย, อินโดจีน และตอนเหนือบางส่วนของคาบสมุทรมลายู[ 5]
ชนิดย่อย bubutus Horsfield , 1821 พบในตอนใต้บางส่วนของคาบสมุทรมลายู, หมู่เกาะสุมาตรา, ไนแอส, หมู่เกาะเมนตาวี, ชวา, บาหลี, บอร์เนียว, ภาคตะวันตกฟิลิปปินส์ (บาลาแบก (Balabac), คากายัน (Cagayan), ซูลู และปาลาวัน) ชนิดย่อยนี้มีปีกสีแดงซีด[ 5]
ชนิดย่อย anonymus Stresemann, 1913 พบในตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ (บาซิลัน, เกาะซูลู) และปีกสั้นและสีเข้มกว่า bubutus [ 5]
ชนิดย่อย kangeangensis Vorderman, 1893 พบในเกาะแกงจีน (Kangean Islands) มีชุดขนซีดสลับเข้ม[ 5]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1977) Steroid synthesizing cellular sites in the testis of Crow Pheasant Centropus sinensis (Stephens). Pavo 14(1&2), 61–64.
Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1980) Histological and histochemical observations on the adrenal gland of four species of birds, Dicrurus macrocercus (Viellot), Centropus sinensis (Stephens), Sturnus pagodarum (Gmelin) and Columba livia (Gmelin). Zool. Beitrage 26(2):287–295.
Khajuria, H (1975) The Crow-pheasant, Centropus sinensis (Stevens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. All-India Congr. Zool. 3:42.
Khajuria, H (1984) The Crow-Pheasant, Centropus sinensis (Stephens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. Rec. Z.S.I. 81(1–2):89–93.
Natarajan, V (1993). "Awakening, roosting and vocalisation behavioiur of the Southern Crow-Pheasant (Centropus sinensis ) at Point Calimere, Tamil Nadu" . ใน Verghese, A; Sridhar, S; Chakravarthy, AK (บ.ก.). Bird Conservation: Strategies for the Nineties and Beyond . Ornithological Society of India, Bangalore. pp. 158–160.
Natarajan, V (1990) The ecology of the Southern Crow-Pheasant Centropus sinensis parroti Stresemann (Aves: Cuculidae) at Point Calimere, Tamil Nadu. Ph.D. Dissertation, University of Bombay, Bombay.