Share to:

 

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง

浙江省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนเจ้อเจียงเฉิ่ง (浙江省 Zhèjiāng Shěng)
 • อักษรย่อZJ / เจ้อ ( Zhè)
 • ภาษาอู๋Tsehkaon San
ทิวทัศน์ภูเขายั่นตั้ง
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจ้อเจียง
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจ้อเจียง
พิกัด: 29°12′N 120°30′E / 29.2°N 120.5°E / 29.2; 120.5
ก่อตั้งมณฑลเจ้อเจียงค.ศ. 1368
ตั้งชื่อจากชื่อเดิมของแม่น้ำเฉียงถาง
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
หางโจว
จำนวนเขตการปกครอง11 จังหวัด, 90 อำเภอ, 1,570 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเชอ จฺวิ้น (车俊)
 • ผู้ว่าราชการยฺเหวียน เจียจฺวิน (袁家军)
พื้นที่
 • ทั้งหมด101,800 ตร.กม. (39,300 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 26
ความสูงจุดสูงสุด1,929 เมตร (6,329 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2018)[1]
 • ทั้งหมด57,370,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 10
 • ความหนาแน่น560 คน/ตร.กม. (1,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 8
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น: 99.2%
เชอ: 0.4%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาอู๋, Huizhou, Jianghuai Mandarin, ภาษาหมิ่นใต้
รหัส ISO 3166CN-ZJ
GDP (ค.ศ. 2018)[2]5.62 ล้านล้านเหรินหมินปี้
849.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 4)
 • ต่อหัว98,643 เหรินหมินปี้
14,907 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 5)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.789[3]
สูง · อันดับที่ 6
เว็บไซต์www.zj.gov.cn

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省; พินอิน: Zhèjiāng shěng เจ้อเจียงเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’(浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว

ที่ตั้งและอาณาเขต

มณฑลเจ้อเจียงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าและลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นขั้นบันได ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเขตภูเขามีความสูงเหนือระดับ น้ำทะเลเฉลี่ย 800 เมตร ยอดเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,500 เมตรรวมอยู่หนาแน่นบริเวณนี้ด้วย ยอดเขาที่สูงที่สุดคือยอด หวงเหมาเจียน(黄茅尖) ในอำเภอหลงเฉวียน สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,929 เมตร

ทรัพยากร

เจ้อเจียงเป็นแหล่งทรัพยากรสินแร่สำคัญประเภทแร่อโลหะ มีถึง 12 ชนิดที่มีปริมาณสำรองมากเป็นอันดับต้นของประเทศ เช่น ถ่านหิน สารส้ม เถ้าภูเขาไฟใช้ในงานก่อสร้างและงานปูน แร่ฟลูโอไร ดินสาหร่ายเปลือกแข็ง เป็นต้น

ภูมิอากาศ

การปลูกชาในเมืองหางโจว

เจ้อเจียงทอดตัวพาดเขตโซนร้อน มีสภาพอากาศแบบมรสุม มีช่วงแดดสดใสที่ยาวนาน และ 4 ฤดูกาลที่ชัดเจน

กลุ่มเชื้อชาติ เจ้อเจียงเป็นดินแดนหลากหลายเชื้อชาติ มีชนกลุ่มน้อยทั้งหมด 49 กลุ่ม รวมประชากรเกือบ 400,000 คน นับเป็นสัดส่วนประมาณ 0.7% ของประชากรทั้งหมดในมณฑล ในจำนวนนี้ เป็นเซอ 200,000 คน และมุสลิม (หุย) 20,000 คน ในเจ้อเจียงมีเขตปกครองตนเองของชนชาติเซอ (ในระดับอำเภอ) แห่งเดียวในประเทศจีนด้วย

เศรษฐกิจ

ตึกระฟ้าของเมืองหางโจว

ปี พ.ศ. 2547 มูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมทั้งสามภาค เป็นดังนี้

  • ภาคการเกษตรมีมูลค่าเพิ่ม 81,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3.7%
  • ภาคอุตสาหกรรม 604,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 16.2%
  • การบริการและอื่น ๆ 438,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 13.9%

เกษตรกรรม

เรือทางน้ำของ Shaoxing หนึ่งในเรือศูนย์กลางของเมืองหางโจว

ธัญพืชจำพวกข้าวเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ และน้ำมันที่กินได้ เป็นสินค้าหลักของมณฑล

อุตสาหกรรม

เจ้อเจียงเป็นแดนอุตสาหกรรมชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วยภาคธุรกิจหลาก หลายประเภทได้แก่ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรคมนาคม ยาสมุนไพร

การค้าระหว่างประเทศ

มูลค่ารวมการส่งออกและนำเข้าปี 2004 เท่ากับ 85,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 38.8% เป็นมูลค่าส่งออกรวม 58,160 ล้านเหรียญฯ นำเข้ารวม 27,070 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 39.8% และ 36.6% ตามลำดับ

การคมนาคม

ทางรถไฟ

เจ้อเจียงมีชุมทางคมนาคมอยู่ที่เมืองหางโจว เมืองหลวงของมณฑล โดยมีเส้นทางรถไฟสายสำคัญ 3 สาย เชื่อมต่อหังโจวกับ 3 เขตใหญ่ เซี่ยงไฮ้ เจียงซี และหนิงปอ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางย่อยอีก 2 สาย คือ หังโจว - เซวียนเฉิง และจินหัว - เวินโจว รวมระยะทาง 1,185 กิโลเมตร

ทางหลวง

เส้นทางหลวงในเจ้อเจียง ประกอบด้วยทางหลวง 6 สาย และทางหลวงของมณฑล 66 สาย รวมระยะทาง 42,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นทางด่วน 770 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมต่อเมืองสำคัญในเขตเศรษฐกิจแยงซี อาทิ เซี่ยงไฮ้ หังโจว หนิงปอ ไถโจว เวินโจว จินหัว หนันจิง (นานกิง) เป็นต้น

ทางทะเล

เนื่องจากเป็นมณฑลติดชายฝั่งทะเล ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า 300 กิโลเมตร จึงประกอบด้วยท่าเรือเล็กใหญ่ถึง 34 แห่ง ที่สำคัญเป็นท่าเรือใน 5 เมือง คือ ท่าเรือหนิงปอ โจวซัน จ้าพู่ ไห่เหมิน และเวินโจว มีท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าน้ำหนัก 1 หมื่นตันขึ้นไปถึง 44 จุด สามารถขนถ่ายสินค้าได้ถึง 270 ล้านตัน / ปี

อ้างอิง

  1. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  2. 2013年浙江省国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาChinese (China)). Zhejiang Provincial Statistic Bureau. 2014-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
  3. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya