Share to:

 

นกโมอา

นกโมอา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนสมัยโฮโลซีน, 17–0.0006Ma
โครงกระดูกโมอายักษ์เกาะเหนือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
ชั้นฐาน: Palaeognathae
เคลด: Notopalaeognathae
อันดับ: Dinornithiformes

Bonaparte, 1853[1]
ชนิดต้นแบบ
Dinornis novaezealandiae
Owen, 1843
กลุ่มย่อย

ดูข้อความ

ความหลากหลาย[2]
6 สกุล, 9 ชนิด
ชื่อพ้อง[3]
  • Dinornithes Gadow, 1893
  • Immanes Newton, 1884

นกโมอา (อังกฤษ: moa) เป็นกลุ่มนกที่บินไม่ได้สูญพันธุ์แล้วที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์[4]ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย-สมัยโฮโลซีน มี 9 ชนิด (ใน 6 สกุล) โดย Dinornis robustus และ Dinornis novaezelandiae 2 ชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีความสูงถึงประมาณ 3.6 เมตร (12 ฟุต) (ยืดคอแล้ว) และหนักประมาณ 230 กิโลกรัม (510 ปอนด์)[5] ส่วนนกโมอาพุ่มไม้ (Anomalopteryx didiformis) ชนิดที่เล็กที่สุด มีขนาดประมาณเท่ากับไก่งวง[6] ประชากรนกโมอาทั้งหมดในช่วงที่ชาวพอลินีเชียเข้าตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ประมาณ ค.ศ. 1300 มีหลากหลาย ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 58,000[7] ถึงประมาณ 2.5 ล้านตัว[8]

นกโมอาเดิมจัดอยู่ในกลุ่ม ratite[4] อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่าญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของนกโมอาคือ tinamou จากทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มพี่น้องกับ ratites.[9] นกโมอา 9 ชนิดบินไม่ได้ โดยเป็นสัตว์บนพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสัตว์กินพืชชั้นสูงสุดในระบบนิเวศป่า ไม้พุ่ม และใต้เทือกเขาของนิวซีแลนด์ จนกระทั่งการเข้ามาของชาวมาวรี และพวกมันถูกล่าเฉพาะจากอินทรีฮาสท์ นกโมอาสูญพันธุ์หลังการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในนิวซีแลนด์ภายใน 100 ปี โดยหลักเนื่องจากการล่าสัตว์มากเกินไป[7]

รายละเอียด

เปรียบเทียบขนาดระหว่างนหโมอา 4 ชนิดกับมนุษย์
1. Dinornis novaezealandiae
2. Emeus crassus
3. Anomalopteryx didiformis
4. Dinornis robustus

เดิมทีมีการจัดโครงกระดูกโมอาในแบบตั้งตรง เพื่อสร้างความสูงที่น่าประทับใจ แต่การวิเคราะห์ข้อต่อกระดูกสันหลังแสดงให้เห็นว่าพวกมันอาจยกศีรษะไปข้างหน้า[10] คล้ายกับนกกีวี กระดูกสันหลังติดอยู่ที่หลังศีรษะมากกว่าฐาน แสดงถึงการจัดตำแหน่งในแนวนอน สิ่งนี้จะทำให้พวกมันกินหญ้าบนพืชเตี้ย แล้วสามารถเงยหน้าขึ้น และเดินดูต้นไม้ได้เมื่อจำเป็น ส่งผลให้มีการพิจารณาความสูงของโมอาที่ใหญ่กว่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ศิลปะบนหินของชาวมาวรีแสดงภาพโมอาหรือนกคล้ายโมอา (น่าจะเป็นห่านหรือadzebill) ที่มีคอตั้งตรง แสดงว่าโมอาสามารถยกคอเกินกว่าทั้งสองแบบได้[11][12]

การจัดอันดับ

อนุกรมวิธาน

โครงกระดูกของ Anomalopteryx didiformis
ฟอสซิลโครงกระดูกนกโมอาตีนหนัก (Pachyornis elephantopus)

สกุลและชนิดที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน มีดังนี้:[5]

มีนกโมอาชนิดที่ไม่ได้รับการตั้งชื่อ 2 ชนิดจาก Saint Bathans Fauna.[13]

ลักษณะ

นกโมอาเป็นนกที่มีขนาดใหญ่กว่านกปกติทั่วไป บินไม่ได้และมีรูปร่างคล้ายกับนกกระจอกเทศในปัจจุบันแต่ตัวใหญ่กว่า มีส่วนหัวที่ยาวกว่าเอาไว้กินพืชเตี้ย ๆ และตามต้นไม้สูง ๆ ขนาดและรูปร่างนกโมอานั้นเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากนกโมอาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพมาโดยตลอดซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม

การเปล่งเสียง

ถึงแม้ว่าจะไม่มีการอัดเสียงของนกโมอาไว้ แต่จากการศึกษาดูกระดูกส่วนหัวและลำคอของนกโมอา ได้ทำให้พอจะรู้ว่าเสียงของนกโมอาเป็นยังไง กล่องเสียงของนกโมอานั้นมีวงแหวนอยู่หลายวง ซึ่งมีชื่อว่า Tracheal rings วงแหวนหนึ่งอันนั้น พอคลี่ออกมาแล้วจะมีความยาวถึงประมาณ 1 เมตร เพราะวงแหวนตัวนี้ทำให้เสียงของนกโมอานั้นมีความใกล้เคียงกับหงส์, นกกระเรียน และ ไก่ขนดำจุดขาวในวงศ์ Numididae และนกกระทานิวกินี เสียงนกโมอาสามารถไปได้ไกลมาก

อาหาร

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเคยเห็นนกโมอาอย่างแท้จริง แต่โดยการวิเคราะห์จากซากฟอสซิลของนกโมอา ได้ทำให้รู้ว่ามันกินพืชส่วนใหญ่และกิ่งไม้เล็ก ๆ จากต้นไม้ที่ไม่สูงมาก ตรงปากของนกโมอานั้นแข็งแรงมากและถูกใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวจากสัตว์อื่นได้

การขยายและสืบพันธุ์

จากการศึกษากระดูกของนกโมอา ทำให้รู้ได้ว่านกโมอามีการเจริญเติบโตที่ยาวนานมาก มันใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อที่จะพัฒนาจากเป็นเด็กสู่ตัวผู้ใหญ่เต็มตัว

ไข่

ชิ้นส่วนของไข่ ของนกโมอาถูกค้นพบอยู่เป็นประจำในแหล่งต่างๆที่ฟอสซิลถูกค้นพบและตามบริเวณทรายรอบๆชายฝั่งนิวซีแลนด์ในปัจจุบันมีไข่ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ รอบ ๆ นิวซีแลนด์เป็นจำนวน 36 ใบ แต่ละอันมีขนาดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 120 – 124 มิลลิเมตร ไปจนถึง 91 – 178 มิลลิเมตร เปลือกนอกของไข่จะมีเอกลักษณ์อยู่ที่มีรูเล็ก ๆ ไข่ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่ยกเว้นชนิด Megalapteryx didinus จะมีไข่เป็นสีน้ำเงินรึเขียว

รัง

ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าโมอาเป็นนกที่อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ส่วนใหญ่จะถูกพบเป็นย่อม ๆ ตามถ้ำต่าง ๆ การสำรวจถ้ำต่าง ๆ ในเกาะเหนือ รังของนกโมอานั้นส่วนใหญ่จะถูกกดลงไปในดิน ส่วนที่แห้งและนิ่มในเขตพื้นที่ตอนกลางโอตาโก ของเกาะใต้ อากาศค่อนข้างแห้งจึงทำให้ใบไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่นกโมอาใช้ในการทำรัง ยังคงอยู่ในสภาพใกล้เคียงเดิม เมล็ดของต้นไม้ต่าง ๆ ที่ถูกพบตามแหล่งเหล่านี้เป็นหลักฐานได้ว่าส่วนใหญ่นกโมอาจะทำรังในช่วงฤดูร้อน

การสูญพันธุ์

ภาพจำลองการล่านกโมอาของชาวมาวรี

ศัตรูหลักของนกโมอาคือนกอินทรีฮาสท์จนกระทั่งมนุษย์ได้เข้ามาบนเกาะนิวซีแลนด์ ชาวมาวรีได้เริ่มเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1300 และได้เริ่มการล่านกโมอาจนเริ่มสูญพันธุ์ ประมาณ ค.ศ. 1400 นกโมอาได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วรวมไปถึงนกอินทรีฮาสท์ซึ่งสูญพันธุ์ไปด้วยเนื่องจากไม่มีนกโมอาให้กิน

การสูญพันธุ์ของนกโมอานั้นเกิดขึ้นภายในไม่ถึง 100 ปี ซึ่งผิดไปจากการสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงแรกที่บอกว่านกโมอาใช้เวลาหลายร้อยปีในการค่อย ๆ สูญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1800 มีการอ้างว่าพบเห็นนกโมอาในหลาย ๆ แถบของประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชัดเจนที่บ่งบอกว่านกโมอายังมีชีวิตอยู่จริง ในยุคปัจจุบันมีรายงานการพบเห็นนกโมอาในแถบฟยอร์ดแลนด์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะใต้ รวมถึงทางตอนเหนือของฟยอร์ดแลนด์ โดยบอกเล่ากันว่านกโมอาเป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว มีความสูง 12 ฟุต มีขนสีสดใส ในปากเต็มไปด้วยฟันแหลมคม แต่ไม่มีปีก มีผู้อ้างว่าพบเห็นนกโมอาขณะที่กำลังปีนเขาอยู่ และได้ถ่ายรูปได้ แต่ทว่าเป็นรูปมัว ๆ และได้มีรายการโทรทัศน์ลงพื้นที่ไปตามหา พบรอยเท้าที่มีนิ้วเท้าสามนิ้วขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่รอยเท้าของนกแก้วคาคาโป นกแก้วขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้และหากินในเวลากลางคืน เพราะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ทว่าก็ไม่น่าจะใช่ของนกโมอา เพราะนิ้วเท้ากลางนั้นใหญ่ยาวกว่านิ้วอื่น[14]

อ้างอิง

  1. Brands, S. (2008)
  2. 2.0 2.1 Stephenson, Brent (2009)
  3. Brodkob, Pierce (1963). "Catalogue of fossil birds 1. Archaeopterygiformes through Ardeiformes". Biological Sciences, Bulletin of the Florida State Museum. 7 (4): 180–293. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  4. 4.0 4.1 OSNZ (2009)
  5. 5.0 5.1 Davies, S.J.J.F. (2003)
  6. "Little bush moa | New Zealand Birds Online". nzbirdsonline.org.nz. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
  7. 7.0 7.1 Perry, George L.W.; Wheeler, Andrew B.; Wood, Jamie R.; Wilmshurst, Janet M. (1 December 2014). "A high-precision chronology for the rapid extinction of New Zealand moa (Aves, Dinornithiformes)". Quaternary Science Reviews. 105: 126–135. Bibcode:2014QSRv..105..126P. doi:10.1016/j.quascirev.2014.09.025. สืบค้นเมื่อ 22 December 2014.
  8. Latham, A. David M.; Latham, M. Cecilia; Wilmshurst, Janet M.; Forsyth, David M.; Gormley, Andrew M.; Pech, Roger P.; Perry, George L. W.; Wood, Jamie R. (March 2020). "A refined model of body mass and population density in flightless birds reconciles extreme bimodal population estimates for extinct moa". Ecography (ภาษาอังกฤษ). 43 (3): 353–364. doi:10.1111/ecog.04917. ISSN 0906-7590.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Phillips
  10. Worthy & Holdaway (2002)
  11. Schoon, Theo. "Cave drawing of a moa". Te Ara Encyclopedia of New Zealand. Te Ara.
  12. "Te Manunui Rock Art Site". Heritage New Zealand.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ReferenceA
  14. ChannelHub (2016-05-01). "Destination Truth S03E15 Spirits of Easter Island & The Moa". Destination Truth. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya