นาคหลวง
นาคหลวง หมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท นาคหลวงที่มีชื่อเสียงในฐานะนาคหลวงรูปสุดท้ายของรัชกาลที่ 9 ได้แก่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร[1] นาคหลวง มี 2 ประเภท1 คือ
ประวัติการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อภาวะบ้านเมืองสงบเรียบร้อยขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ผนวช ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2331 นับว่าเป็น "นาคหลวงองค์แรก" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "การโสกันต์แต่ก่อน" ว่า
ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นราชประเพณีที่พระบรมราชวงศ์หากจะผนวชจะต้องผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "นาคหลวง" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชพิธี 12 เดือน ว่า
นาคหลวงสายเปรียญธรรมนาคหลวงสายเปรียญธรรมถือเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษาภาษาบาลีของสามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร วัดทั่วราชอาณาจักรถือเป็นเกียรติอย่างสูงของวัดที่สามารถผลิตศาสนทายาทให้ศึกษาจนสำเร็จเปรียญ 9 ได้ขณะยังเป็นสามเณร หลายวัด จัดฉลองเพื่อแสดงมุทิตาอย่างเอิกเกริกให้แก่สามเณรเพื่อให้สังคมรู้จักกันอย่างกว้างขวาง อันจะเป็นเกียรติแก่สามเณรและครอบครัวซึ่งสนับสนุนศาสนทายาทที่มีคุณภาพได้สำเร็จ สามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรที่ศึกษาภาษาบาลีแต่อายุยังน้อยจำนวนมากหวังว่าจะได้เป็นนาคหลวง เพราะเป็นเกียรติยศสูงสุดในด้านการศึกษาที่ผู้เป็นสามเณรจะพึงได้รับ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ปัจจุบัน คณะสงฆ์ไทยมีนาคหลวงสายเปรียญธรรมซึ่งผู้สอบได้เปรียญ 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จำนวน 301 รูป (ข้อมูลปี พ.ศ.2566) ดังนี้ : พ.ศ. 2374
พ.ศ. 2451
พ.ศ. 2503
พ.ศ. 2504
พ.ศ. 2506
พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2523
พ.ศ. 2524
พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2530
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2532
พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2541
พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2566
เชิงอรรถหมายเหตุ 1: หนังสือที่อธิบายความเป็นมาของนาคหลวงทั้งสองประเภท โปรดดู ""การผนวชในรัชกาลที่ 7 พุทธมามกะและนาคหลวง"". วัดบวรนิเวศวิหารและมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์โดย พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2528 หน้า 123-212. อ้างอิง
|