ภาพเหมือนของทอมัส เจฟเฟอร์สัน โดยแรมบรันด์ท พีล ค.ศ. 1800
ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน (อังกฤษ : Jeffersonian democracy ) เป็นประเด็นของจุดประสงค์ทางการเมืองต่างๆ ที่ตั้งตามชื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสัน ที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน บุคคลสำคัญๆ ที่สนับสนุนรายละเอียดของประชาธิปไตยแนวนี้คือตัวเจฟเฟอร์สันเอง, แอลเบิร์ต กาลลาติน , จอห์น แรนดอล์ฟ โรอันโนค และ แนธาเนีย เมคอน
หัวใจของประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีลักษณะที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ข้างล่างที่กลุ่มเจฟเฟอร์สันได้ทำการเสนอในรูปของสุนทรพจน์และกฎหมายต่างๆ:
คุณค่าทางการเมืองหลักของอเมริกาคือระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ; พลเมืองมีหน้าที่ที่จะช่วยเหลือรัฐและต่อต้านการฉ้อโกงโดยเฉพาะจากระบบกษัตริย์นิยม และ อภิชนาธิปไตย [ 1]
มนุษย์มีความสำนึกในสิทธิของเขาที่จะมีรัฐบาลของตนเอง เจฟเฟอร์สัน มีความเชื่อมั่นในความสามารถของประชาชนในการกำหนดและตัดสินท่าทีของรัฐบาลด้วยตนเอง[ 2]
เกษตรกรเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีที่เป็นอิสระจากอิทธิพลของการฉ้อโกงจากรัฐบาลเมือง นโยบายของรัฐบาลก็ควรจะเป็นนโยบายที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร นักลงทุน, นายธนาคาร และอุตสาหกรรมทำให้เมืองเป็นสลัมแห่งการฉ้อโกง และเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง[ 3]
พลเมืองอเมริกันมีหน้าที่เผยแพร่สิ่งที่เจฟเฟอร์สันเรียกว่า “จักรวรรดิแห่งเสรีภาพ” ให้โลกรู้ แต่ขณะเดียวกันก็ควรจะหลีกเลี่ยง “การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรกับต่างประเทศ” (Non-interventionism)[ 4]
รัฐบาลแห่งชาติเป็นสถาบันที่จำเป็นจะต้องมีเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นองค์กรในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน, พิทักษ์ และ รักษาความปลอดภัยให้แก่พลเมือง, ชาติ และ ประชาคม แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการเฝ้าดูและควบคุม และ จำกัดสิทธิรัฐบาลแห่งชาติอย่างใกล้ชิด ประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบสหพันธรัฐ (Anti-Federalism) ระหว่าง ค.ศ. 1787 ถึง ค.ศ. 1788 ต่างก็หันมาถือปรัชญาเจฟเฟอร์สัน[ 5]
กำแพงแห่งการแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักร เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแยกสถาบันศาสนาจากการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองโดยสหพันธรัฐ, รัฐบาลเองก็เป็นอิสระจากความขัดแย้งของสถาบันศาสนา และ สถาบันศาสนาเองก็เป็นอิสระจากการฉ้อโกงหรือการเข้ายุ่งเกี่ยวจากสถาบันทางการปกครอง[ 6]
รัฐบาลของสหพันธรัฐต้องไม่ละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่ง รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) เป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาดังกล่าว[ 7]
รัฐบาลของสหพันธรัฐต้องไม่ละเมิดสิทธิของรัฐ ในเครือสหพันธรัฐ เจฟเฟอร์สันวางรากฐานปรัชญาดังกล่าวในการเขียน “ปณิธานเคนทักกีและเวอร์จิเนีย ” (Kentucky and Virginia Resolutions) อย่างลับๆ ในปี ค.ศ. 1798[ 8]
เสรีภาพในการแสดงออก และ เสรีภาพของสื่อ เป็นมาตรการอันที่ดีที่สุดในการป้องกันการกดขี่ข่มเหงพลเมืองโดยรัฐบาลของตนเอง การละเมิดปรัชญานี้ของนักสมาพันธ์นิยมโดยการบังคับใช้ “รัฐบัญญัติต่างด้าวและปลุกระดม ” ที่ประกอบด้วยรัฐบัญญัติสี่ฉบับที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาสมัยที่ห้าในปี ค.ศ. 1798 กลายเป็นตัวปัญหาสำคัญ[ 9] รัฐบัญญัติสี่ฉบับตามความเห็นของผู้ต่อต้านเห็นว่าเป็นการก่อให้เกิดความอยุติธรรมโดยรัฐบาลต่อพลเมืองที่เป็นต่างด้าวและลิดรอนสิทธิพลเมืองที่ทำการตีพิมพ์เอกสารที่รัฐบาลถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของรัฐบาล
กองทหารประจำ และรัฐนาวีเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ และเป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง การแก้ปัญญหาโดยการใช้การบีบบังคับทางเศรษฐกิจ (economic coercion) เช่นการห้ามสินค้าเข้าออก [ 10] (Embargo)[ 11] อาจจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
วัตถุประสงค์ของการเขียนรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ขึ้นก็เพื่อรับรองเสรีภาพของพลเมือง การเขียนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นไปตามหลักและกฎเกณฑ์ แต่ขณะเดียวกันก็ “ไม่มีสังคมใดที่สามารถเขียนรัฐธรรมนูญที่คงอยู่อย่างถาวรหรือแม้แต่กฎหมายที่คงอยู่อย่างถาวรได้ โลกนี้จะเป็นของชนรุ่นต่อไปที่ยังมีชีวิตอยู่เสมอ”[ 12]
อ้างอิง
↑ Banning (1978) pp 79-90
↑ ผศ.สมพิศา ณ นคร (2000) "ปรัชญาอเมริกัน" หน้า 33 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ISBN 974-593-152-7 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
↑ Elkins and McKitrick. (1995) ch 5; Wallace Hettle, The Peculiar Democracy: Southern Democrats in Peace and Civil War (2001) p. 15
↑ Hendrickson and Tucker. (1990)
↑ Banning (1978) pp 105-15
↑ Philip Hamburger, Separation of church and state Harvard University Press, 2002. ISBN 0674007344 OCLC: 48958015
↑ Robert Allen Rutland; The Birth of the Bill of Rights, 1776-1791 University of North Carolina Press, (1955)
↑ Banning (1978) pp 264-66
↑ Banning (1978) pp 255-66-3
↑ "ขยายความจากนิยามของศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25 .
↑ Banning (1978) pp 292-3
↑ Letter to James Madison, September 6, 1789 | http://odur.let.rug.nl/~usa/P/tj3/writings/brf/jefl81.htm เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
Banning, Lance. The Jeffersonian Persuasion: Evolution of a Party Ideology (1978)
Brown; Stuart Gerry. The First Republicans: Political Philosophy and Public Policy in the Party of Jefferson and Madison (1954) online เก็บถาวร 2011-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Stanley M. Elkins and Eric L. McKitrick. The Age of Federalism: The Early American Republic, 1788-1800 (1995)
David C. Hendrickson and Robert W. Tucker. Empire of Liberty: the statecraft of Thomas Jefferson (1990)
Vernon Parrington, Main Currents in American Thought (1927) v 2 online เก็บถาวร 2012-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Onuf, Peter S., ed. Jeffersonian Legacies. (1993).
Merrill D. Peterson. The Jefferson Image in the American Mind (1960)
Taylor, Jeff. Where Did the Party Go?: William Jennings Bryan, Hubert Humphrey, and the Jeffersonian Legacy (2006)
Wilentz, Sean. The Rise of American Democracy: Jefferson to Lincoln (2005)
Wiltse, Charles Maurice. The Jeffersonian Tradition in American Democracy (1935)
Letter to James Madison, September 6, 1789
ดูเพิ่ม