Share to:

 

เสรีภาพ

เสรีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเดินทาง การท่องเที่ยว การเลือกคู่ครอง การใช้ชีวิต และการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพเสรีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเดินทาง การท่องเที่ยว การเลือกคู่ครอง การใช้ชีวิต และการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพเสรีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเดินทาง การท่องเที่ยว การเลือกคู่ครอง การใช้ชีวิต และการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพ[1]

เสรีภาพ
แนวความคิดสำคัญ

อิสรภาพ (เชิงบวก · เชิงลบ)
สิทธิ และ สิทธิมนุษยชน
เจตจำนงเสรี · ความรับผิดชอบทางศีลธรรม

จำแนกตามประเภท

พลเมือง · วิชาการ
การเมือง · เศรษฐกิจ
ความคิด · ศาสนา

จำแนกตามรูปแบบ

แสดงออก · ชุมนุม
สมาคม · เคลื่อนไหว · สื่อ

ประเด็นทางสังคม

การปิดกั้นเสรีภาพ (ในไทย)
การเซ็นเซอร์ · การบีบบังคับ · ความโปร่งใสของสื่อ

ในอารยธรรมตะวันตก

นักคิดในยุคเรืองปัญญาได้ให้เหตุผลว่ากฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่มีอำนาจทั้งในเรื่องมนุษย์ และเรื่องที่เหนือขึ้นไป เช่นเรื่องสรวงสวรรค์ และกฎหมายนั้นเองที่ให้อำนาจกับกษัตริย์ แทนที่จะมองว่าอำนาจของกษัตริย์ทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายได้ มโนทัศน์ที่ว่ากฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แทนที่จะเป็นตระกูล เริ่มเด่นชัดขึ้น และด้วยแนวคิดนี้ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องของเสรีภาพส่วนบุคคล ว่าควรจะเป็นความจริงมูลฐาน ที่ถูกมอบให้โดย "ธรรมชาติ และ พระเจ้า" ซึ่งในรัฐในอุดมคติ เสรีภาพส่วนบุคคลนี้ ควรจะขยายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า ยุคแสงสว่างได้ให้กำเนิดแนวคิด "เสรีภาพ" กล่าวคือ แนวคิดเกี่ยวกับปัจเจกชนอิสระ จะมีความอิสระมากที่สุดภายในสภาพแวดล้อมของรัฐที่ให้ความมั่นคงทางกฎหมาย ถัดจากนั้นแล้ว แนวคิดทางปรัชญาที่ถอนรากถอนโคนยิ่งขึ้นก็ได้แสดงตัวเด่นชัดขึ้นในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศสและในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับอารยธรรมตะวันตกแล้ว เป็นช่วงของความปั่นป่วนเนื่องจากสงครามและการปฏิวัติ ซึ่งค่อยๆ หล่อหลอมให้เกิดแนวคิดและความเชื่อที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "เสรีภาพของปัจเจกชน" ฐานคิดทางปรัชญาของ "เสรีภาพ" คือแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมนุษย์ และมนุษย์นั้นมีคุณค่ามากกว่าที่จะอยู่ในสภาพของความเป็นทาส รวมไปถึงแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมชะตาชีวิตของตนเอง แนวคิดทางปรัชญาเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากมุมมองทางศาสนา แม้ว่าทั้งชาวคริสต์ ชาวยิว และมุสลิม ล้วนแล้วแต่เคยมีการใช้ทาสมาก่อนทั้งสิ้น

ในอารยธรรมตะวันออก

ขงจื้อได้เตือนเกี่ยวกับการมีบทบาทที่มากเกินไปของรัฐบาล ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับพัฒนาการของแนวความคิดยุคหลังล็อกของเสรีภาพเชิงลบ เขากล่าวว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยการทำเป็นตัวอย่างและ "การไม่ทำ" นั้น ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยกฎหมายและระเบียบวินัย

ในอารยธรรมตะวันออกกลาง

ในประวัติศาสตร์ของศาสนายูดายได้มีการกล่าวถึงปัจเจกชนที่ยืนขึ้นเพื่อต่อต้านกับอำนาจของรัฐในเวลาที่สำคัญ เช่น โมเสสที่เรียกร้องกับฟาโรห์ของอียิปต์ว่า "ให้คนของเราไป" หรือชาวแมคคาบีที่กบฏต่อการยึดครองของชาวกรีก และชาวซีลอตที่ต่อต้านอาณาจักรโรมัน

นักกฎหมายมุสลิมได้ยืนยันมาเป็นเวลานานว่าแนวทางของกฎหมายที่กำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานมีหลักการที่เรียกว่า "การอนุญาต" หรือ อิบาฮา (Ibahah) โดยเฉพาะที่ใช้กับธุรกรรมทางการค้า อิบ ทายมิจจาห์ (Ibn Taymiyyah) กล่าวว่า "ไม่มีการห้าม [การซื้อขายโดยสมัครใจ] นอกเสียจากจะเป็นสิ่งที่ถูกห้ามไว้โดยพระเจ้าและผู้ส่งพระสารของท่าน" แนวคิดนี้ปรากฏในข้อความสองตอนในอัลกุรอาน (ตอนที่ 4:29 และ 5:1)

แนวคิดทางการเมือง

เสรีนิยม คือแนวคิดทางการเมืองที่ครอบคลุมถึงอุดมการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่กล่าวว่าหน้าที่ของรัฐบาลคือการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคล โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดนี้จะกล่าวถึงสิทธิในการจะปลีกตัวออกจากแนวคิดดั้งเดิม หรืออำนาจที่ถูกสถาปนาเอาไว้ ในทางการเมืองและทางศาสนา

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับแนวคิดเสรีนิยม ความขัดแย้งที่สำคัญที่เริ่มปรากฏขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20เกี่ยวข้องกับ เสรีภาพในการแสดงออก กับ เสรีภาพในทางธุรกิจ (สิทธิในการซือ ขาย และมีทรัพย์สินไว้ในครอบครอง) กระแสคิดหนึ่งเสนอว่าแม้ว่าเสรีภาพทั้งสองแบบจะเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แต่ก็มีความแตกต่างกันในระดับของความสำคัญ เช่น เสรีภาพในการศรัทธาของแทมมี เฟย์ แบคเคอร์นั้น ในแนวคิดนี้จะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิทธิในการขายเครื่องสำอางค์ของเธอ

นักคิดอีกกลุ่มหนึ่งยืนยันว่าเสรีภาพในการแสดงออกกับเสรีภาพในทางธุรกิจนั้นแตกต่างกันมาก ถึงขั้นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และเสรีภาพอย่างหลังต้องถูกลดลงถึงจะทำให้เสรีภาพข้างต้นเพิ่มขึ้นได้ ผู้คนที่เชื่อในมุมมองเช่นนี้ จะไม่จัดให้เสรีภาพที่เขาต่อต้านเป็นเสรีภาพเสียด้วยซ้ำ

แนวคิดกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นที่นิยมในเหล่านักเสรีนิยม เชื่อว่าไม่มีข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างเสรีภาพทั้งสองแบบ กล่าวคือ ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกัน และจะต้องได้รับการคุ้มครอง (หรือจะถูกกดขี่) ไปพร้อมๆ กัน พวกเขาชี้ว่า ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึง "ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน" สองครั้ง โดยไม่ได้ระบุถึงข้อแตกต่างใดๆ

นักปัจเจกนิยม เช่น มักซ์ สเตอร์เนอร์ เรียกร้องการเคารพอย่างสูงสุดต่อเสรีภาพของปัจเจกชน ในมุมมองที่คล้ายๆ กัน จอห์น เซอร์ซาน กล่าวว่าอารยธรรมทั้งหมด ไม่ใช่แค่รัฐเท่านั้น ที่จะต้องถูกทำลายลงไป เพื่อให้เสรีภาพงอกงาม ในหนังสือ "ความเรียงเกี่ยวกับศีลธรรมและการเมือง" เดวิด ฮูม ยังได้เขียนถึง "เสรีภาพของพลเมือง"

บางคนมองว่าการปกป้องอุดมคติเกี่ยวกับเสรีภาพว่าเป็นนโยบายแนวอนุรักษนิยม ทั้งนี้เนื่องจากการปกป้องนี้จะตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล ที่พวกเขามองว่าเป็นรากฐานของแนวคิดอเมริกัน โดยนักคิดแนววิพากษ์บางพวกมองว่าเสรีภาพเป็นแค่เครื่องมือทางอุดมการ


ในทางปรัชญาและประวัติศาสตร์

ชอง-ชาก รุสโซ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้ยืนยันว่าสภาพที่เป็นอิสระนั้น เป็นสิ่งที่ติดมากับความเป็นมนุษย์ เป็นหน้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการมีวิญญาณและร่างกาย ผลสืบเนื่องก็คือการปฏิสัมพันธ์ต่อมาหลังจากการเกิด ล้วนแต่เป็นการสูญเสียความเป็นอิสรภาพไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งโดยความสมัครใจและไม่สมัครใจ

การโหยหาอิสรภาพมักถูกใช้เพื่อปลุกระดมการปฏิวัติ ตัวอย่างเช่น ในบันทึกในไบเบิลที่กล่าวถึงการที่โมเสสได้นำผู้คนอพยพหนีจากความเป็นทาสไปสู่ความเป็นอิสระ ในสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เขากล่าวว่า

My country 'tis of thee, sweet land of liberty, of thee I sing. Land where my fathers died, land of the Pilgrim's pride, From every mountainside, let freedom ring!

คำว่า อามา-กิ ตัวอักษรเขียนของชาวสุเมเรียน เป็นสัญลักษณ์เขียนเก่าแก่ที่สุดที่ทราบกัน ที่มีความหมายถึงอิสรภาพ

รูปแบบ

  • เสรีภาพภายนอก, เสรีภาพทางการเมือง, หรือเสรีภาพส่วนบุคคล คือสภาวะที่ปราศจากการถูกบังคับ, การควบคุม, การห้าม, การข่มขู่, การกดขี่, และอาจรวมถึงความกดดัน ตัวอย่างเสรีภาพภายนอกเช่นการเคารพซึ่งเสรีภาพในทางความคิด เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนา, เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการปรับแต่งลักษณะหรือสภาพภายนอกของตนเอง
  • เสรีภาพภายใน คือสภาวะที่สามารถใช้ความคิดตัดสินใจได้ด้วยตัวเองหรือปกครองตนเอง และความสามารถในการมีเจตจำนงเสรีหรือเสรีภาพในการเลือกสิ่งภายนอกต่าง ๆ โดยไม่เกิดความขัดแย้งกับเจตจำนงที่อยู่ภายใน

การใช้คำว่าอิสรภาพ

  • อิสรภาพของบุคคล มักใช้เพื่อหมายถึงการไม่ถูกจองจำ (ซึ่งรวมถึงการไม่เป็นเหยื่อของการจองจำที่ผิดพลาด) และยังอาจใช้เพื่อหมายถึงการใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของสถานที่หรือสมาคมด้วย
  • อิสรภาพทางเศรษฐกิจ บางครั้งมีความหมายเทียบเท่ากับอำนาจทางเศรษฐกิจ คำนี้เมื่อใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์มักหมายถึงระดับที่รัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ ผู้กระทำการทางเศรษฐกิจ เช่นในดัชนีด้านอิสรภาพทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์บางคน เช่นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับดัชนีของวารสารวอลล์สตรีต ได้อธิบายประเด็กด้านอิสรภาพทางเศรษฐกิจว่าเป็น "ระดับที่ภาคสาธารณะเข้ามาแทรกแซงกิจการของภาคเอกชน" และได้ให้เหตุผลว่ายิ่งรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับอิสรภาพทางเศรษฐกิจของธุรกิจน้อยลงเท่าใด ระบบเศรษฐกิจก็ยิ่งจะมีแนวโน้มดีขึ้นเท่านั้น     บางแนวคิดได้ให้ความเห็นกลับกันว่า ภาคสาธารณะอาจไม่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการของระบบเศรษฐกิจเสมอไป และกิจกรรมของรัฐบาลนั้นไม่จำเป็นจะต้องถูกมองว่าเป็นการแทรกแซงหรือการลดทอนเสรีภาพ (ดูเพิ่มเติมที่ [1] เก็บถาวร 2006-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ การค้าเสรี)
  • อิสรภาพในการแสดงออก (หรือการพูด) มีลักษณะที่คล้ายกับอิสรภาพทางสารสนเทศ แต่มักใช้เพื่อหมายถึงภาวะในสังคมที่รัฐบาลหรือองค์กรที่คุมอำนาจอยู่ ไม่จำกัดหรือกีดกันการสร้างสรรค์ การใช้ การแก้ไข และการเผยแพร่ความคิด

แนวโน้มนานาชาติ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. ดเ
Kembali kehalaman sebelumnya