Share to:

 

ปลาเผาะ

ปลาเผาะ
ส่วนหัวของปลาเผาะ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาหนัง
Siluriformes
วงศ์: ปลาสวาย
Pangasiidae
สกุล: ปลาสังกะวาด

Sauvage, 1880
สปีชีส์: Pangasius bocourti
ชื่อทวินาม
Pangasius bocourti
Sauvage, 1880

ปลาเผาะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius bocourti) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) โดยเป็นปลาท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่[2] มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร

ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง บริโภคโดยการปรุงสดและรมควัน และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ในขณะนี้กรมประมงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ ขณะที่ต่างประเทศเช่นเวียดนามก็ได้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นกัน[3]

ปลาเผาะในตลาดสดของเวียดนาม

ปลาเผาะยังมีชื่อเรียกต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น "ปลาโมง", "ปลาโมงยาง", "ปลายาง" หรือ "ปลาอ้ายด้อง" ชื่อในวงการปลาสวยงามเรียกว่า "ปลาบึกโขง" ในภาษาเวียดนามเรียกว่า "ก๊าบาซา" (cá ba sa) เป็นต้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Vidthayanon, C. (2012). "Pangasius bocourti". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2012: e.T180848A1669669. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180848A1669669.en.
  2. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Pangasius bocourti" in FishBase. February 2012 version.
  3. "ปลาเผาะไทยล็อตแรกช่วงชิงตลาดเวียดนาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya