ปลาเวียน
ปลาเวียน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากแม่น้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ปลาเวียนเคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อมาก แต่ปัจจุบันพบได้น้อยจนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมถูกทำลาย[2] ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี กรมประมง สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน[3] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|