ปอนด์สเตอร์ลิง
สเตอร์ลิง (อังกฤษ: sterling; อักษรย่อ: stg;[3] รหัส ISO: GBP) เป็นสกุลเงินตราอย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและ 9 ดินแดนอาณานิคมของสหราชอาณาจักร[4] ส่วน ปอนด์ (pound; สัญลักษณ์: £) เป็นหน่วยหลักของสเตอร์ลิง[5] และคำว่า ปอนด์ ใช้เรียกสกุลเงินอังกฤษโดยทั่วไป[6] โดยมักเรียกในต่างประเทศว่า ปอนด์อังกฤษ หรือ ปอนด์สเตอร์ลิง[5][6] สเตอร์ลิงเป็นสกุลเงินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงใช้งานอยู่ และมีการใข้งานตั้งแต่เริ่มการผลิตเหรียญ[7] ปัจจุบันเป็นสกุลเงินที่มีการแลกเปลี่ยนมากเป็นอันดับ 4 ในตลาดเงินตราต่างประเทศ เป็นรองเพียงดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และเยน[8] ดินแดนภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักรสกุลเงินในดินแดนภายใต้อธิปไตยทั้งหมดและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนส่วนใหญ่ใช้สเตอร์ลิงหรือยึดราคาตามมูลค่าของสเตอร์ลิง ดินแดนเหล่านี้ ได้แก่ เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ ไอล์ออฟแมน หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ยิบรอลตาร์ เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช เซนต์เฮเลนา และบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี[9][10] กับตริสตันดากูนยา[11] ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนบางส่วนมีสกุลเงินที่ยึดกับดอลลาร์สหรัฐหรือดอลลาร์นิวซีแลนด์ ส่วนแอโครเทียรีและดิเคเลีย (ในไซปรัส) ใช้สกุลเงินยูโร ประวัติเงินปอนด์เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1320 ราชอาณาจักรแซกซัน (อาจเรียกว่าพวกอังกฤษสมัยโบราณก็ได้ แต่ความจริงแล้ว แซกซันไม่ได้เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของอังกฤษปัจจุบัน) ได้ทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นจากโลหะเงินแท้ น้ำหนัก 1 ปอนด์ ซึ่งได้เหรียญเงินเป็นจำนวน 240 อัน เรียกว่าเหรียญสเตอร์ลิง และด้วยน้ำหนักเท่ากับ 1 ปอนด์นี้เอง เมื่อต้องใช้จ่ายเงิน ก็จะบอกค่าเป็นจำนวนปอนด์ของเหรียญสเตอร์ลิง (pounds of sterlings) และภายหลังเรียกสั้นลงว่า ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling) ครั้นเมื่อพวกนอร์มัน (Norman) เข้ามาครองอำนาจแทนพวกแซกซัน พวกนี้ได้แบ่งหน่วยเงินตราปอนด์ออกเป็นหน่วยย่อย คือ 1 ปอนด์ แบ่งได้ 20 ชิลลิง (shilling) และ 1 ชิลลิง ยังแบ่งได้อีกเป็น 12 เพนนี (เอกพจน์ penny, พหูพจน์ pennies หรือ pence) เรื่องค่าของปอนด์นั้นยังไม่จบ เพราะตัวย่อของปอนด์นั้นมีปัญหา เมื่ออักษรย่อของปอนด์นั้น ใช้ lb หรือ £ ซึ่งทำให้สับสน และอักษรย่อ หรือเครื่องหมายดังกล่าว มีที่มาจากคำว่า libra ในภาษาละตินสมัยกลาง ความจริงแล้ว คำว่า ลิบรา ก็คือ ตาชั่ง (คำเดียวกับที่เรียกกลุ่มดาวราศีตุล) สำหรับอักษร £. นั้น ก็คือตัว L นั่นเอง (ใช้ได้ทั้งสองแบบ) ในตำราเก่า ๆ บางครั้งเขียน l. เฉยๆ ก็มี ส่วนชิลลิงนั้น ใช้อักษรย่อว่า s เฉย ๆ ตัวอักษรนี้ไม่ได้ย่อจาก shilling แต่มาจาก solidus ในภาษาละติน สำหรับหน่วยเล็กสุด คือ เพนนีนั้น ย่อเป็น d เพราะในภาษาละตินนั้น หน่วยเล็กสุดของค่าเงินคือ denarius เราจึงอาจพบการเขียนบอกจำนวนเงินเป็น 2l. 8s. 5d. นั่นคือ 2 ปอนด์ 8 ชิลลิง กับอีก 5 เพนนี สำหรับเหรียญชิลลิงนั้น มีค่าเท่ากับ 12 เพนนี เดิมเรียกว่าเทสทัน หรือเทสทูน (teston, testoon) เริ่มมีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2047 มีการแกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ครั้นในสมัยรัชกาลพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ยังคงใช้เหรียญค่านี้ แต่เรียกใหม่ว่า ชิลลิง ส่วนที่มาของชื่อนั้น จริง ๆ แล้วยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเรียกตามเหรียญของพวกอังโกล-แซกซัน คือสคีลลิง (scilling, scylling) และบางรัฐของเยอรมนีก็มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เรียกว่า ชิลลิง (schilling) เหมือนกัน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ค่าของชิลลิงเป็นแต่ชื่อเรียกเท่านั้น ไม่ได้มีการผลิตเหรียญเงินค่าชิลลิงออกมา และอีก 26 ปีต่อมา มีการผลิตเหรียญชิลลิง โดยใช้โลหะผสมระหว่างทองแดง และนิกเกิล เรียกว่าโลหะคิวโพรนิเกิล เมื่อถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 อังกฤษได้เปลี่ยนมาตราเงินแบบเทียบร้อยตามหลักสากล คือ 100 เพนนี เป็น 1 ปอนด์ โดยไม่ใช้หน่วยชิลลิงอีก ทำให้อักษรย่อชิลลิงจึงหมดไป อักษรย่อเพนนี เปลี่ยนจาก d เป็น p ซึ่งย่อมาจากคำว่าเพนนี (penny) โดยตรง ธนบัตรธนบัตรประกอบด้วย 5,10, 20 และ 50 ปอนด์ เหรียญเหรียญประกอบด้วย 1, 2, 5, 10, 20, 50 เพนนี และ 1, 2 ปอนด์
หมายเหตุอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปอนด์สเตอร์ลิง |