พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2531)
พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2531) เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองครั้งแรกตามความในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ภายใต้ชื่อ พรรคประชาชาติ หรือ NATIONAL PARTY ในทะเบียนเลขที่ 22/2531 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยสำนักงานใหญ่ของพรรคมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 44 ถนนพหลโยธิน ซอย 11 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร[1] เครื่องหมายพรรคเครื่องหมายประจำพรรคประชาชาติ มีลักษณะเป็นรูปวงกลม มีเครื่องหมายตราชูประดับอยู่ด้านบน มีแถบสีธงชาติไทยบรรจุอยู่ภายในวงกลม และมีตัวอักษร “พรรคประชาชาติ” และ “NATIONAL PARTY” ปรากฏอยู่ด้วย[1] นโยบายพรรคพรรคประชาชาติได้กำหนดแผนนโยบาย แนวความคิดในการที่จะร่วมพัฒนาประเทศ “แนวสร้างสรรค์” ในอีกรูปแบบหนึ่งที่ยังประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง เพื่อให้การปฏิบัติในภารกิจที่จะดำเนินไปด้วยดี ต้องเกิดจาก “การรวมพลังความรักชาติบ้านเมืองของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า” พรรคประชาชาติจึงได้ประกาศนโยบายของพรรคดังนี้[1] นโยบายด้านการเมืองพรรคประชาชาติมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะขอปกป้องรักษาชาติไทยอันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ให้คงอยู่ด้วยความเป็นไทยอย่างมั่นคง ช่วยให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีความเป็นอยู่ และดำรงชีวิตอย่างอิสรเสรี มีความสามัคคีปรองดองกัน รวมทั้งมีความรัก ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้ช่วยกันเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งพรรคประชาชาติมีเจตนาแน่วแน่พร้อมที่จะพัฒนา สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว พรรคประชาชาติจึงได้กำหนดนโยบายและโครงสร้างด้านการเมืองไว้ ดังนี้ 1.พรรคประชาชาติ จะรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติไว้อย่างมั่นคง 2.พรรคประชาชาติจะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นฐานที่สำคัญของการที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบต่อไป 3.พรรคประชาชาติจะส่งเสริมความสามัคคีในชาติให้เป็นผลสำเร็จ 4.พรรคประชาชาติ จะปราบปรามขบวนการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นศัตรูบ่อนทำลายเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศให้ได้ผลอย่างจริงจัง 5.พรรคประชาชาติ จะประสานกลไกพรรคให้เข้ากับกลไกรัฐเพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องและดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ 6.พรรคประชาชาติ จะส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นพื้นฐานการปกครองระบบประชาธิปไตย 7.พรรคประชาชาติจะรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 8.พรรคประชาชาติ จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ 9.พรรคประชาชาติ จะส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของตนให้ดียิ่งขึ้น 10.พรรคประชาชาติ จะส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมพรรคประชาชาติมีนโยบายที่จะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตามระบบเสรีนิยม โดยมีแผนและโครงการที่แน่นอน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมที่พัฒนาและประชาชนไทยได้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น รวมทั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะวางรากฐานเศรษฐกิจ ที่มีความสำคัญต่อการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป “พรรคประชาชาติ” จะได้สรรหาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถและประสบการณ์ เพื่อที่จะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายให้สำเร็จ ดังนั้นพรรคประชาชาติจึงได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมไว้ ดังนี้ 1.พรรคประชาชาติจะพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบเสรีนิยม โดยเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ รวมทั้งการพาณิชย์กรรมและการขนส่งให้ได้สัดส่วนและสอดคล้องกัน 2.พรรคประชาชาติ จะเพิ่มผลผลิตของประเทศและรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพและรายได้ของประชาชนกับส่งเสริมให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาโดยเสมอภาคและทั่วถึงยิ่งขึ้น โดยเร่งรัดกำลังการผลิตและผลผลิตของประเทศตลอดจนปรับปรุงระบบเศรษฐกิจให้มีสมรรถภาพทุกวิถีทาง และจะดำเนินการป้องกันมิให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้นเกินความจำเป็น 3.พรรคประชาชาติ จะส่งเสริมอุตสาหกรรมเอกชนทุกประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาการเกษตร โดยจะสนับสนุนการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ส่วนในการพาณิชย์จะส่งเสริมให้มีการขยายตลาดและบริการทุกประเภทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 4.พรรคประชาชาติ จะสนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการด้านประยุกต์โดยจะส่งเสริมและนำผลของประดิษฐ์ การวิจัย รวมทั้งการปรับปรุงต่าง ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับภาวะและความต้องการภายในประเทศ ตลอดจนขยายบริการของรัฐให้เอกชนในด้านการประยุกต์วิทยาการสมัยใหม่ที่เห็นว่าเหมาะสมมาดำเนินการสำหรับโครงการของรัฐเอง 5. พรรคประชาชาติ จะรักษาเสถียรภาพการเงิน การคลัง เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ ส่งเสริมการออมทรัพย์และการลงทุนของเอกชน กับหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐให้สูงขึ้นโดยยึดถือหลักความเป็นธรรมแก่สังคม โดยป้องกันมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนกำลังในการพัฒนา และเป็นการกระทบกระเทือนต่อการครองชีพของประชาชนส่วนใหญ่ จะหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐให้มากขึ้น โดยจะยึดหลักความเป็นธรรมของสังคมให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงรายได้ 6.พรรคประชาชาติ จะช่วยเหลือเกษตรกรในด้านวิชาการทันสมัย เพิ่มผลผลิต ช่วยให้มีตลาดกลางช่วยประกันราคาข้าว ตลอดทั้งผลิตผลเกษตรกรรมทุกชนิด ช่วยประนอมหนี้และช่วยให้มีที่ดินเป็นของตนเอง 7.พรรคประชาชาติ จะพัฒนาการศึกษาอย่างมีแผนและให้ประสานกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งจะให้การศึกษาอบรมแก่ชาวไทยอย่างทั่วถึง โดยกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายด้านการต่างประเทศพรรคประชาชาติ ยึดหลักนโยบายการต่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญเพราะเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศนั้น หลักสำคัญมีอยู่ว่าจะต้องปฏิบัติตนโดยสร้างความเชื่อถือและความเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประเทศซึ่งประกอบเป็นสหประชาชาติและนานาประเทศอื่น ๆ เพราะการปฏิบัติเช่นนั้นได้นำมาซึ่งผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ ฉะนั้นพรรคประชาชาติจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมพันธไมตรี ตลอดทั้งความเข้าใจอันดี ซึ่งมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับสหประชาชาติและนานาประเทศอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไป และร่วมมืออย่างเต็มที่กับสหประชาชาติตลอดทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งมีอยู่อย่างเคร่งครัด และโดยสุจริตใจในการนี้ พรรคประชาชาติหวังว่าจะได้ความร่วมมืออย่างเต็มที่จากประชาชนพลเมืองของชาติไทย ด้วยเหตุนี้พรรคประชาชาติจึงได้กำหนดนโยบายต่างประเทศไว้ดังต่อไปนี้ 1.พรรคประชาชาติ จะรักษาศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิประเทศไทยในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นให้สูงยิ่งขึ้น 2.พรรคประชาชาติ จะสนับสนุนให้ประเทศไทยร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติอย่างเต็มที่ เพื่อให้องค์การนี้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศได้อย่างแท้จริง 3.พรรคประชาชาติ สนับสนุนร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างองค์การภูมิภาคขึ้นทำหน้าที่ช่วยองค์การสหประชาชาติในการรักษาความสงบเรียบร้อยและสร้างความเจริญมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น 4.พรรคประชาชาติ สนับสนุนนโยบายผูกมิตรกับทุกประเทศในโลกที่ไม่มีเจตนามุ่งร้ายต่อประเทศไทย 5.พรรคประชาชาติ สนับสนุนวิธีการระงับความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี 6.พรรคประชาชาติ เน้นปัญหาการเสริมสร้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินในประเทศพรรคประชาชาติมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยให้สามารถตอบสนองความต้องการรีบด่วนของประเทศชาติและของประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งโดยยึดถือหลักเอกภาพในระดับนโยบายอันจะเป็นผลทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันภายในชาติ และเป็นหลักผลักดันให้สังคมไทยได้พัฒนาเป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้น เพื่อที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว พรรคประชาชาติ จึงกำหนดนโยบายและโครงการด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้ดังนี้ 1.พรรคประชาชาติ จะจัดระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นจักรกลในการรวบรวม และระดมทรัพยากรทั้งมวลภายในชาติ ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ให้พุ่งไปในการดำเนินบริการสาธารณะอย่างสมบูรณ์ 2.พรรคประชาชาติ จะจัดระบบวิธีการประสานงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยยึดหลักเอกภาพในระดับนโยบายเป็นหลัก 3.พรรคประชาชาติ จะจัดระบบการบริหารระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และส่วนกลางให้สอดคล้องและประสานกันยิ่งขึ้น เพื่อขจัดความล่าช้า ซ้ำซ้อนและสูญเปล่าในการดำเนินบริการสาธารณะ 4.พรรคประชาชาติ จะจัดการบริหารให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนชาวไทยทุกหมู่ทุกเหล่าและทุกท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมแก่สภาพความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละหมู่เหล่าและท้องถิ่นนั้น ๆ 5.พรรคประชาชาติ จะยึดหลักจิตวิทยา และมนุษยสัมพันธ์ในการดำเนินบริการสาธารณะเพื่อให้เกิดความสามัคคีสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวในหมู่ข้าราชการด้วยกัน และข้าราชการกับประชาชนยิ่งขึ้น คณะกรรมการบริหารพรรคพรรคประชาชาติมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนจัดตั้ง ทั้งสิ้น 14 คน โดยตำแหน่งสำคัญ ๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้[1]
ยุบพรรคในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่ออาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรคประชาชาติได้ส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามของพรรคจำนวน 3 คน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 เป็นเหตุให้พรรคประชาชาติถูกศาลฎีกาสั่งให้ยุบเลิกพรรค ตามคำสั่งที่ 1774/2532 เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532[2] จัดตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2ต่อมาได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งพรรคประชาชาติอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยมีกรรมการบริหารพรรคชุดเดิมมาบริหารพรรค[3] ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคประชาชาติได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 91 คนซึ่งไม่ถึงขั้นต่ำของจำนวนผู้สมัครลงรับเลือกตั้งคือ 120 คนทำให้ศาลฎีกาได้มีคำสั่ง ที่ 3671/2535 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ยุบเลิกพรรคประชาชาติพร้อมกับพรรคการเมืองอีก 5 พรรค[4] อ้างอิง
|