Share to:

 

พรรคเสมอภาค

พรรคเสมอภาค
หัวหน้ารฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์
รองหัวหน้าพณิชพงศ์ แสงทอง
สถิตย์พันธุ์ ธรรมสถิตย์
ธำรง แผนสมบูรณ์
ถิรเดช ทรัพย์เขื่อนขันธ์
บุญจันทร์ เช้าวันดี
บรรจง ภูขันสูง
จิรทีปต์ เรืองสมบูรณ์
พนิดา เกษมมงคล
เลขาธิการฐิติพร ญาณวังศะ
รองเลขาธิการณัทชลัช ผดุงสรรพ
เหรัญญิกสันติ พันธโคตร
นายทะเบียนสมาชิกนลินภัสร์ องค์คุณารักษ์
โฆษกชีวิตชีวา สิทธิพงษ์
กรรมการบริหารชวนดี ศิลรักษ์ดี
ศุภเชษฐ์ เจิมจันทึก
กัญญารัตน์ ชวนขุนทด
ภูเชษฐ์ เผดิมปราชญ์
ไพรัตน์ แสงสีดำ
ก่อตั้ง24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ถูกยุบ13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (3 ปี)[1]
แยกจากพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการ
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)5,803 คน[2]
อุดมการณ์มุ่งเน้นการสร้างความเสมอภาคด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเสมอภาค เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเป็นลำดับที่ 12/2564 เมื่อวันอังคารที่ 24 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 พร้อมกับ พรรคไทยภักดี และพรรคแนวทางใหม่ โดยมีนาง รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรองหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และนาย นิติธร สีเขียว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 586 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร[3]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทางพรรคเสมอภาคได้จัดการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคเสมอภาคสาขาภาคกลางที่ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และจัดการประชุมใหญ่สามัญพรรคเสมอภาคครั้งที่ 1/2565 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 21 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นางรฎาวัญ เป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 2 และนางสาวฐิติพร ฌาณวังศะ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[4]

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 พรรคได้จัดประชุมตั้งสาขาย่อยที่จังหวัดพังงานำโดยคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาพรรค ชัยเดช บุญรอด นางพรหมพนิช บุญรอด นางสาวฐิติพร ฌานวังศะ นลินภัสร องค์คุณารักษ์ นายอุดมศักดิ์ ธนบดีภูรินทร์ และนายพณิชพงศ์ แสงทอง ลงพื้นที่ภาคใต้ในพื้นที่อาคารเอนกประสงค์ หมู่ 3 ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา[5]

ต่อมาในวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ทางพรรคเสมอภาคได้จัดงานทำบุญเปิดที่ทำการพรรคแห่งใหม่ที่ ซอยศรีนครินทร์ 65 แขวงหนองบอน เขตประเวศ พร้อมชูนโยบาย "โบนัสประชาชน"[6]

พรรคเสมอภาค ส่งผู้สมัครในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง คือ นายภิญโญศิลป์ สังวาลวงศ์[7][8] เป็นครั้งแรกของพรรค จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ วัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นางรฎาวัญ ได้ลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุมทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนางรฎาวัญเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 3 โดยมีนายประสพ บุษราคัม เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[9]

ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเสมอภาค ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกกิจการพรรคเสมอภาคพร้อมกับทำหนังสือส่งถึงเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งเรื่องดังกล่าว[10]

จากนั้นในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ออกประกาศให้พรรคเสมอภาคสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง

อ้างอิง

  1. [1]
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเสมอภาค
  4. ต๊าช!! พรรคเสมอภาค ประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง
  5. "'พรรคเสมอภาค' บุกภาคใต้ ตั้งสาขาพรรคที่พังงา ชูนโยบาย 'พรรคการเมืองของ ปชช.'". มติชนออนไลน์. 30 January 2022.
  6. ‘พรรคเสมอภาค’ เปิดตัวเตรียมพร้อมเลือกตั้งชูนโยบาย ‘โบนัสประชาชน’
  7. "ปิดรับสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ราชบุรี เขต 3 มีผู้สมัครพรรคเสมอภาคมาอีก1". www.thairath.co.th. 2022-04-25.
  8. “รฎาวัญ” ช่วยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมราชบุรี
  9. "พรรคเสมอภาค" ปรับ กก.บห.และ กก.สรรหาฯ ใหม่ "รฎาวัญ" ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่สาม "ประสพ บุษราคัม" ประธานที่ปรึกษาพรรค ชูนโยบาย "แก้จนหมดหนี้ "ช่วยเกษตรกร สู้ "กระแส-กระสุน" ตั้งเป้าอย่างน้อย 25 ส.ส.ปาร์ตี้ลิส
  10. 'รฎาวัญ' จ่อยื่นกกต.ยุติกิจการพรรคเสมอภาค ตามมติกก.บห.ตัดปัญหาข้อกฎหมาย

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya