พระภรต
พระภรต (สันสกฤต: भरत, อักษรโรมัน: bharata, แปลตรงตัว 'The Cherished')[1][2] เป็นบรรพบุรุษของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ เรื่องราวของพระองค์ถูกเล่าอยู่ใน อาทิบรรพ ซึ่งเป็นบรรพแรกในคัมภีร์มหาภารตะ โดยเล่าถึงการกำเนิดของพระองค์ และเรื่องของ ท้าวทุษยันต์ และนางศกุนตลา.[3][4] ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพบุรุษของราชวงศ์กุรุนั้นเริ่มต้นจากพระองค์เป็นปฐม ในการครองราชย์ของพระองค์ และอาณาจักรของพระองค์ ทุกคนจึงเรียกว่า ภารตะ[5][6] ประวัติของพระองค์ในโลกวรรณกรรมจากบันทึกใน มหาภารตะ (จับความจากตอน อาทิบรรพ) เล่าว่า พระองค์เป็นพระโอรสของ ท้าวทุษยันต์ กับนางศกุนตลา พระองค์เป็นรัชทายาทแห่ง จันทรวงศ์ แห่งวรรณะกษัตริย์[7] พระองค์มีพระนามเดิมว่า สรรวทมน์ สรรวทน์เติบโตขึ้นเป็นเด็กที่แข็งแรง อยู่ท่ามกลางเหล่าสัตว์ร้าย มักเล่นสนุกโดยการเปิดปากเสือหรือสิงโต แล้วนับจำนวนฟัน ต่อมาฤๅษีทุรวาสได้สาปให้ท้าวทุษยันต์ลืมนางศกุนตลา จนกว่าจะได้ทอดพระเนตรแหวนที่พระองค์ประทานให้นางศกุนตลา เมื่อท้าวทุษยันต์ทรงจำนางศกุนตลาได้แล้ว พระองค์ทรงยกราชบัลลังก์ให้แก่สรรวทมน์ และทรงตั้งชื่อให้ใหม่ว่าภรต พระภรตได้ครองบัลลังก์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ก็ทรงแผ่พระราชอำนาจไปทั่วชมพูทวีปในสมัยนั้น ชมพูทวีปจึงมีนามว่าภารตวรรษ แปลว่าดินแดนของภรต ในวิษณุปุราณะได้ระบุขอบเขตของดินแดนภารตวรรษว่า"วรรษที่ตั้งอยู่เหนือมหาสมุทรและทางใต้ของภูเขาหิมาลัยเรียกว่าภารตวรรษ" พระภรตเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม พระฤๅษีกัณวะเป็นราชปุโรหิตของพระองค์ พระองค์ได้ทรงประกอบพิธีอัศวเมธที่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา 100 ครั้ง ริมแม่น้ำสรัสวตี 300 ครั้ง ริมแม่น้ำคงคา 400 ครั้ง ทรงประกอบพิธีอัศวเมธอีกพันครั้ง อีกทั้งยังทรงประกอบพิธีราชสูยะ100ครั้ง และทรงทำพิธีอื่นๆอีกเช่นอัคนิโสม วิศวาชิต เป็นต้น พระภรตมีบุตรชื่อเภามันยุ[8] โดยกำเนิดของเภามันยุมี2ตำนานคือ 1)เป็นบุตรของพระภรตกับพระนางสุนันทา ธิดาของท้าวสรรวเสนา พระราชาแคว้นกาสี 2)ประสูติจากพิธีกรรมของพระภรต อ้างอิง
|