Share to:

 

จันทรวงศ์

จันทรวงศ์

สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงประยาคราช, มถุรา, หัสตินปุระ
ภาษาทั่วไปภาษาสันสกฤต
ศาสนา
ศาสนาฮินดู
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอนุทวีปอินเดีย

จันทรวงศ์, ไอละ, หรือ อิลละ (บ้างสะกด อิล) เป็นราชวงศ์ใหญ่ในวรรณะกษัตริย์ที่เอ่ยถึงในเอกสารโบราณของอินเดียคู่กับ สุริยวงศ์ และถือกันว่า สืบเชื้อสายมาจากเทวดาที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ เช่น พระโสม หรือพระจันทร์[1] พระกฤษณะก็เป็นผู้หนึ่งที่เชื่อกันว่า ประสูติในสายตระกูลยาฑุของราชวงศ์นี้

เอกสาร ศตปถพราหมณะ ระบุว่า พระเจ้าปุรูรวัส พระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์นี้ มีพระบิดา คือ พระพุธ พระโอรสของพระโสม มีพระมารดา คือ ท้าวอิลราช พระโอรสของพระมนูศรัทธาเทวะ ซึ่งสลับเพศไปมาระหว่างชายกับหญิง[2] และมีพระปนัดดา (เหลน) คือ พระเจ้ายยาติ[3] ส่วน มหาภารตะ ระบุว่า ต้นราชวงศ์นี้ คือ ท้าวอิลราช ซึ่งครองเมืองประยาคราช และมีพระโอรส คือ พระเจ้าศศพินทุ[4]

ใน มหาภารตะ

ผังตระกูล

ในเอกสารฮินดู สงครามทุ่งกุรุเกษตรซึ่งเป็นแก่นเรื่องของมหากาพย์ มหาภารตะ นั้น หลัก ๆ แล้วเกิดขึ้นระหว่างสายตระกูลที่เข่นเคี่ยวกันของราชวงศ์นี้ ซึ่งเป็นเหตุให้อรชุนลังเลที่จะเข้าร่วมจนถูกพระกฤษณะ ผู้เป็นอาจารย์ ติเตียนโดยกล่าวว่า ธรรมะอยู่เหนือทุกสิ่ง และข้อความตอนนี้กลายเป็นเสาหลักทางวัฒนธรรมของตระกูลทั้งสี่แห่งวรรณะกษัตริย์

เมื่อสิ้นสงครามดังกล่าว สายตระกูลยาฑุแทบจะไม่รอด และเมื่อเมืองทวารกาจมบาดาล ก็นำไปสู่การสิ้นสุดลงของสายยาฑุทั้งหมด เว้นแต่พระเจ้าวัชรนภที่อรชุนช่วยไว้ได้ และภายหลังได้ครองเมืองมถุรา เนื่องจากพระเจ้าวัชรนภเป็นพระนัดดาพระองค์เดียวที่รอดชีวิตของพระกฤษณะ สายตระกูลทั้งหลายจึงมักอ้างว่าตนสืบเชื้อชายจากพระกฤษณะผ่านทางพระเจ้าวัชรนภ

อ้างอิง

  1. Paliwal, B. B. (2005). Message of the Purans. Diamond Pocket Books Ltd. p. 21. ISBN 978-8-12881-174-6.
  2. Thapar 2013, p. 308.
  3. A. K. Warder (1972). An Introduction to Indian Historiography. Popular Prakashan. pp. 21–22.
  4. Doniger, Wendy (1999). Splitting the difference: gender and myth in ancient Greece and India. University of Chicago Press. p. 273. ISBN 978-0-226-15641-5. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya