Share to:

 

พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก)

พระศาสนโศภน

(ภา ภาณโก)
ส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 (65 ปี 325 วัน ปี)
มรณภาพ9 ตุลาคม พ.ศ. 2489
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 3 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง‎ ประธานกรรมการคณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และดำรงตำแหน่งสำคัญอีกหลายตำแหน่งในคณะสงฆ์ไทย

ประวัติ

ชาติกำเนิด

พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) มีนามเดิมว่า ใช้ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ภา ท่านเป็นบุตรคนเดียวของเถ้าแก่ชุนกับนางฟักทอง แซ่แต้ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ที่ตำบลวัดทองนพคุณ อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี บิดาท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านอายุยังน้อย มารดาจึงแต่งงานใหม่มีบุตรชายอีกหนึ่งคนชื่อเทียนเป๊า ซึ่งภายหลังได้รับราชการทหารมียศและบรรดาศักดิ์เป็น พันโท พระสุวรรณชิต (วร กังสวร) (ชื่อและนามสกุลใหม่ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ประทานให้)[1]

อุปสมบท

พระศาสนโศภนบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่วัดบุรณศิริมาตยาราม มีพระปัญญาพิศาลเถระ (สิงห์ อคฺคธมฺโม) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายมาอยู่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้เข้าอุปสมบทที่วัดราชบพิธฯ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรศีลสังวร (เทด) วัดราชผาติการามวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ภาณโก"

การศึกษา

ก่อนบวชท่านได้ศึกษาภาษาไทยกับนายรองราชบรรหาร (แย้ม) อุปสมบทแล้วได้ศึกษาภาษาบาลีกับอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าและพระองค์เจ้า พระยาธรรมปรีชา (ทิม) นายชู เปรียญ และนายนวลบ้าง ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้ไปเรียนกับพระองค์ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จนปี พ.ศ. 2441 ท่านสอบได้บาเรียนตรี (หลักสูตรเฉพาะของมหามกุฏราชวิทยาลัย) และปี พ.ศ. 2446 สอบบาลีสนามหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นแพรเหลืองปักดิ้นเลื่อม[2] ในการทรงตั้งเปรียญเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2447[3]

สมณศักดิ์

ศาสนกิจ

พระศาสนโสภณ ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระธรรมวินัยให้แก่พระเณรที่บวชใหม่ในวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 ต่อมายังได้เป็นกรรมการสนามหลวงทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยชำระพระไตรปิฎกบาลีและอรรถกถา

ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ ท่านดำรงตำแหน่งสำคัญดังนี้

  • กรรมการมหาเถรสมาคม
  • ประธานอนุกรรมการมหาเถรสมาคม
  • กรรมการคณะธรรมยุต
  • เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
  • สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรีช่วยว่าองค์การการปกครอง และเจ้าคณะจังหวัดพระนคร

มรณภาพ

พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) อาพาธด้วยไข้กาฬ แต่แพทย์ปัจจุบันสันนิษฐานว่าเป็นฝีดาษ แม้อาการอาพาธจะรุนแรงแต่ท่านยังดำรงสติสัมปชัญญะดีอยู่ตลอด ในวาระสุดท้ายท่านกล่าวว่า "ไปละ อยู่กันเป็นสุข ๆ เถิด"[1] แล้วลมหายใจท่านก็ค่อย ๆ แผ่วลง จนถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 23:25 น. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2489[10] สิริอายุได้ 65 ปี 325 วัน พรรษา 47

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สุเชาวน์ พลอยชุม, ตำนานพระธรรมปาโมกข์, อังกุรปัญญานุสรณ์, กรุงเทพฯ : วัดธาตุทอง, 2545, หน้า 93-8
  2. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่รับตำแหน่งปเรียญ, เล่ม 21, ตอนที่ 27, 2 ตุลาคม 2447, หน้า 451-2
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ทรงตั้งปเรียญ, เล่ม 21, ตอนที่ 27, 2 ตุลาคม 2447, หน้า 450-1
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระนาม พระวรวงษ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๖๒๓
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 50, วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473, หน้า 2908
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานสมณศักดิ์, เล่ม 50, วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476, หน้า 2398
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานสมณศักดิ์, เล่ม 52, วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2478, หน้า 1892
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 72 เล่ม 62, วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2488, หน้า 720
  10. กรมศิลปากรม, ประวัติวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2531, หน้า 159
Kembali kehalaman sebelumnya