เอกสารตัวเขียนภาษาสันสกฤต ของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (ศาสนาพุทธ) จากเตอร์กิสถาน ตอนใต้ในอักษรพราหมี
เอกสารตัวเขียนจากกัลป์สูตร (ศาสนาเชน)
พระสูตร (สันสกฤต : सूत्र , อักษรโรมัน: sūtra , แปลตรงตัว 'สาย, เชือก[ 1] ') ในวรรณกรรมอินเดีย สื่อถึงคติพจน์ หรือชุดคติพจน์ในรูปของคู่มือ หรือในความหมายโดยกว้างคือคู่มือหรือข้อความแบบย่อ พระสูตรเป็นหนึงในประเภทของเนื้อหาในอินเดียยุคโบราณถึงยุคกลาง ซึ่งพบในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน [ 2] [ 1]
ในศาสนาฮินดู พระสูตรเป็นหนึ่งในประเภทองค์ประกอบทางวรรณกรรม ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อความคติพจน์ สั้น[ 2] [ 3] แต่ละสูตรมีความยาวไม่มากเหมือนทฤษฎีที่ถูกกรองเป็นคำหรือพยางค์เพียงไม่กี่คำ ซึ่งมีวิธีการในพิธีกรรม ปรัชญา ไวยากรณ์ หรือศาสตร์ความรู้ใด ๆ ที่สามารถรวมกันได้[ 1] [ 2] พระสูตรที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาฮินดูถูกพบที่ชั้นพราหมณะ (Brahmana) และอารันยก (Aranyaka) ของพระเวท [ 4] [ 5] ปรัชญาฮินดู ทุกสำนักถือให้พระเวทเป็นทางนำของพิธีกรรม ศิลปะสาขาต่าง ๆ กฎหมาย และจริยธรรมทางสังคม[ 3] [ 6] [ 7]
ในศาสนาพุทธ พระสูตรเป็นสารบบตามคัมภีร์ ซึ่งหลายอันถือว่าเป็นบันทึกปากเปล่าจากพระโคตมพุทธเจ้า แม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นคติพจน์ แต่ยังมีรายละเอียดที่บางครั้งกล่าวถึงซ้ำ นี่อาจสะท้อนถึงรากทางปรัชญาของ สุกตะ (sukta; พูดดี) มากกว่า สูตร (sutra; เชือก)[ 8]
ในศาสนาเชน พระสูตรเป็นพระธรรมเทศนาของพระมหาวีระ ซึ่งรวบรวมในเชนอาคม เช่นเดียวกันกับตำรากฎเกณฑ์ (บัญญัติในภายหลัง) ในภายหลัง[ 9] [ 10]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Monier Williams, Sanskrit English Dictionary , Oxford University Press , Entry for sutra , page 1241
↑ 2.0 2.1 2.2 M Winternitz (2010 Reprint), A History of Indian Literature, Volume 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0264-3 , pages 249
↑ 3.0 3.1 Gavin Flood (1996), An Introduction to Hinduism , Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-43878-0 , pages 54–55
↑ Max Muller, History of Ancient Sanskrit Literature , Oxford University Press, pages 108–113
↑ M Winternitz (2010 Reprint), A History of Indian Literature, Volume 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0264-3 , pages 251–253
↑ Max Muller, History of Ancient Sanskrit Literature , Oxford University Press, page 74
↑ White, David Gordon (2014). The Yoga Sutra of Patanjali: A Biography . Princeton University Press. pp. 194 –195. ISBN 978-0-691-14377-4 .
↑ K. R. Norman (1997), A philological approach to Buddhism: the Bukkyo Dendo Kyokai Lectures 1994 . (Buddhist Forum, Vol. v.)London: School of Oriental and African Studies,p. 104
↑ M. Whitney Kelting (2001). Singing to the Jinas: Jain Laywomen, Mandal Singing, and the Negotiations of Jain Devotion . Oxford University Press. pp. 111–112. ISBN 978-0-19-803211-3 .
↑ Padmanabh S. Jaini (1991). Gender and Salvation: Jaina Debates on the Spiritual Liberation of Women . University of California Press. p. 32 . ISBN 978-0-520-06820-9 .
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น