ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะ หรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน[ note 1] ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย และบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[ note 2] ศาสนิกชนและนักวิชาการบางกลุ่มเรียกศาสนาฮินดูว่าเป็น "สนาตนธรรม " หรือหนทางนิรันดร์ชั่วประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ[ 5] นักวิชาการมักมองศาสนาฮินดูว่าเป็นการผสมผสานของ[ note 3] หรือสังเคราะห์มาจาก[ note 4] วัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันหลากหลายในอนุทวีปอินเดีย[ 7] [ note 5] ที่มีรากฐานหลากหลาย[ note 6] และไม่มีศาสดา หรือผู้ริเริ่มตั้งศาสนา แต่ผู้เผยแผ่คัมภีร์พระเวท ยุคแรกเริ่มคือ ฤๅษีวยาส ท่านเปรียบเสมือนเป็นศาสดาคนหนึ่ง[ 10] "การสังเคราะห์ศาสนาฮินดู" (Hindu synthesis) นี้เริ่มมีขึ้นระหว่างราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 300 ภายหลังการสิ้นสุดลงของยุคพระเวท (1500 ถึง 500 ก่อนคริสตกาล), และเจริญรุ่งเรืองในอินเดียสมัยกลาง ไปพร้อมกับการเสื่อมของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย
ถึงแม้ว่าศาสนาฮินดูจะเต็มไปด้วยปรัชญาหลายแขนง แต่ก็สามารถเชื่อมโยงถึงกันผ่านแนวคิดที่มีร่วมกัน, พิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน, จักรวาลวิทยาฮินดู , คัมภีร์ฮินดู และ สถานที่แสวงบุญ ส่วนคัมภีร์ของศาสนาฮินดูนั้นจำแนกออกเป็น ศรุติ (จากการฟัง) และ สมรติ (จากการจำ) คัมภีร์เหล่านี้มีทั้งปรัชญาฮินดู , ประมวลเรื่องปรัมปราฮินดู , พระเวท , โยคะ , พิธีกรรม , อาคม และการสร้างโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น คัมภีร์เล่มสำคัญได้แก่ พระเวท , อุปนิษัท , ภควัทคีตา , รามายณะ และ อาคม [ 15] [ 16] ที่มา ผู้ประพันธ์ และความจริงนิรันดร์ในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญ แต่ศาสนาฮินดูก็มีแนวคิดหลักสำคัญที่สนับสนุนการตั้งคำถามต่อที่มาและเนื้อความของคัมภีร์เพื่อให้เข้าใจสัจธรรมต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และสร้างประเพณีหรือแนวคิดต่อยอดในอนาคต[ 17]
สาระสำคัญในศาสนาฮินดูคือ "ปุรุษารถะ " ทั้งสี่ อันเป็นจุดมุ่งหมายอันสมควรในชีวิตของมุนษย์ ได้แก่ ธรรมะ (หน้าที่/จริยธรรม), อรรถะ (การเจริญเติบโต/หน้าที่การงาน), กามะ (ประสงค์/แรงจูงใจ) และ โมกษะ (การหลุดพ้น/การเป็นอิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด )[ 18] [ 19] นอกจากนี้ แนวคิดสำคัญอื่น ๆ ที่พบในศาสนาฮินดูยังรวมถึง กรรม (การกระทำ/ผลของการกระทำ), สังสารวัฏ (วงจรเวียนว่ายตายเกิด) และ การปฏิบัติโยคะ (หนทางสู่โมกษะ) ที่มีอยู่หลากหลายปรัชญา[ 16] การปฏิบัติในศาสนาฮินดู มีทั้ง ปูชา (การบูชา), การสวดมนต์และร้องเพลงสวด, ชปะ , การปฏิบัติสมาธิ, สังสการ (พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน), เทศกาลประจำปีและการออกเดินทางแสวงบุญตามโอกาส ศาสนิกชนบางส่วนละทิ้งชีวิตทางโลกและการยึดติดกับวัตถุ เพื่ออกสู่สันยาสะ (ถือพรต/ออกบวช) เพื่อเข้าสู่โมกษะ[ 21] ศาสนาฮินดูยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ตลอดกาล เช่น ความกตัญญู ซื่อสัตย์, ไม่ทำร้ายสัตว์และผู้คน (อหิงสา ), การใจเย็น, ความอดทนอดกลั้น, การข่มใจตนเอง และความเมตตา[ web 1] [ 22] นิกายในศาสนาฮินดู หลักมี 4 นิกาย คือ ลัทธิไวษณพ , ลัทธิไศวะ , ลัทธิศักติ และลัทธิสมารตะ [ 23]
ศาสนาฮินดูถือเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 3 มีศาสนิกชนซึ่งเรียกว่า ชาวฮินดู อยู่ราว 1.15 พันล้านคน หรือ 15-16% ของประชากรโลก[ web 2] [ 24] ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือมากที่สุดในอินเดีย , เนปาล และ มอริเชียส นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาหลักในจังหวัดบาหลี อินโดนีเซีย เช่นกัน[ 25] ชุมชนฮินดูขนาดใหญ่ยังพบได้ในแคริบเบียน , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อเมริกาเหนือ , ยุโรป , แอฟริกา และประเทศอื่น ๆ [ 26] [ 27]
ความเชื่อ
พระตรีมูรติ จำหลัก ประกอบด้วย พระวิษณุ , พระศิวะ และ พระพรหม
สาระสำคัญในศาสนาฮินดูมันวนเวียนอยู่กับประเด็นของธรรมะ, สังสาระ, โมกษะ และการปฏิบัติโยคะ
ปุรุษารถะ
ศาสนาฮินดูดั้งเดิมเชื่อว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตของมนุษย์มีอยู่สี่ประการ ได้แก่ ธรรมะ , อรรถะ , กามะ และ โมกษะ เป้าหมายทั้งสี่นี่เรียกรวมว่า "ปุรุษารถะ "[ 18] [ 19]
ธรรมะ (ทางที่ถูกต้อง/จริยะ)
ธรรมะถือเป็นจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนที่สุดในศาสนาฮินดู[ 28] แนวคิดของธรรมะนั้นรวมถึงพฤติกรรมที่ถือว่าสอดคล้องไปกับรตะ หนทางที่ทำให้ทั้งชีวิตและจักรวาลคงอยู่ได้[ 29] และยังรวมถึงหน้าที่, สิทธิ, กฎระเบียบ, สัจธรรม และ "การใช้ชีวิตอย่างถูกทาง"[ 30] ธรรมะฮินดูประกอบด้วยหน้าที่ทางศาสนา, จริยธรรมและคุณธรรม และหน้าที่ของแต่ละบุคคล รวมถึงการปฏิบัติตนและนิสัยที่นำไปสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม[ 30] Van Buitenen ได้เคยกล่าวว่า[ 31] ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีอยู่จะต้องยอมรับและเคารพเพื่อยังผลให้เกิดการรักษาความสามัคคีและความสงบเรียบร้อยในโลก เป็นการแสวงหาและการดำเนินการตามธรรมชาติและการเรียกหาที่แท้จริง อันมีบทบาทในการปรองดองโดยทั่วกัน[ 31] ส่วน Brihadaranyaka Upanishad ได้ระบุว่าธรรมะคือ
ไม่มีสิ่งใดเหนือยิ่งกว่าธรรมะ ผู้ที่อ่อนแอจะเอาชนะผู้ที่แข็งแกร่งกว่าได้ก็ด้วยธรรมะ ธรรมะนั้นคือความจริง (สัตยะ) อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อผู้ใดพูดความจริง เป็นอันเรียกได้ว่าเขาผู้นั้น "ได้เปล่งวาจาของธรรมะ!" เพราะทั้งคู่ (ความจริง และ ธรรมะ) เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน
พระกฤษณะ ในมหาภารตะ ได้ทรงนิยามธรรมว่าเป็น การสนับสนุนความจริงทั้งในโลกนี้และโลกอื่น (Mbh 12.110.11) คำว่า "สนาตนะ" แปลว่า "นิรันดร์" ดังนั้น "สนาตนธรรม" จึงแปลว่า "ความจริงอันเป็นนิรันดร์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีที่สิ้นสุด[ 34]
อรรถ
อรรถะ หรือ อารถะ คือ การแสวงหาความมั่งคั่งอย่างมีเป้าหมายและมีคุณธรรม เพื่อการดำรงชีวิต ภาระผูกพัน และความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน อรรถะยังรวมถึงชีวิตทางการเมือง การทูต และการมีความเป็นอยู่ที่ดี แนวคิดนี้รวมถึง "วิถีชีวิตทุกมุมของชีวิต" กิจกรรมและทรัพยากรทั้งหมดที่ช่วยให้คนหนึ่งสามารถมีความมั่งคงทางอาชีพการงานและทางการเงิน[ 35] การแสวงหาอรรถะอย่างพอเหมาะพอควรถือเป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิตมนุษย์ในศาสนาฮินดู[ 36] [ 37]
กามะ
กาม แปลว่า ความปรารถนา, ความรัก, ชอบ, หลงใหล ทั้งมีและปราศจากความคิดเชิงชู้สาวและอารมณ์ทางเพศ และหมายถึงความสุข ความยินดี อันเกิดจากสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย[ 38] [ 39] ในศาสนาฮินดู กามะถือเป็นส่วนจำเป็นที่ช่วยให้ชีวิตคงอยู่ได้อย่างแข็งแรง ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องอยู่ภายใต้การนำพาของธรรมะ, อรรถะ และโมกษะ[ 40]
โมกษะ
โมกษะ หรือ มุขติ ถือเป็นเป้าหมายสูงที่สุดในศาสนาฮินดู โมกษะอาจหมายถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ และจากสังสาระ (การเวียนว่ายตายเกิด)[ 41] [ 42] ในนิกายอื่น ๆ ของศาสนาฮินดูเช่น Monistic ถือว่าโมกษะเป็นเป้าหมายที่เข้าถึงได้ในชาติปัจจุบัน เป็นสถานะของความสุขผ่านการรับรู้ตนเอง การเข้าใจธรรมชาติของจิตวิญญาณของเสรีภาพและ "ตระหนักว่าจักรวาลทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของตน"[ 43] [ 44]
กรรม
โมกษะ
เป้าหมายสูงสุดของชีวิตเรียกว่า "โมกษะ", "นิรวานะ " หรือ "สมาธิ " เป็นที่เข้าใจกันอยู่หลายแบบ: การเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า, การเข้าสู่ความสัมพันธ์นิรันดร์กับพระเจ้า, การเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล, การละทิ้งความเห็นแก่ตัวจนสิ้น, การหลุดพ้นจากสังสาระ ซึ่งคือการไม่เกิดอีก การไม่ทุกข์อีก[ 45] [ 46]
แนวคิดเรื่องพระเป็นเจ้า
มูรติ ของพระราม , พระลักษมณ์ และ พระสีดา ในขบวนแห่
ศาสนาฮินดูนั้นมีหลายความเชื่อ มีตั้งแต่ เอกเทวนิยม , พหุเทวนิยม , สรรพันตรเทวนิยม , สรรพเทวนิยม , ไปจนถึง อเทวนิยม [ 47] [ 48] [ web 3]
นิกายหลัก
ศาสนาฮินดูไม่มีหลักคำสอนหลักกลาง ในขณะเดียวกันชาวฮินดูเองจำนวนมากก็ไม่ได้อ้างว่าเป็นของนิกายหรือประเพณีใด ๆ[ 49] อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาเชิงวิชาการนิยมแบ่งออกเป็น 4 นิกายหลัก ได้แก่ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และ ลัทธิสมารตะ[ 50] นิกายต่าง ๆ นี้แตกต่างกันหลัก ๆ ที่เทพเจ้าองค์กลางที่บูชา, ธรรมเนียมและมุมมองต่อการหลุดพ้น [ 52] Julius J. Lipner ได้ระบุไว้ว่าการแบ่งนิกายของศาสนาฮินดูนั้นแตกต่างจากในศาสนาหลักอื่น ๆ ของโลก เพราะนิกายของศาสนาฮินดูนั้นคลุมเครือกับการฝึกฝนของบุคคลมากกว่า เป็นที่มาของคำว่า "Hindu polycentrism" (หลากหลายนิยมฮินดู, ฮินดูตามท้องถิ่น)[ 53]
ปัญจเทวะ คือเทพเจ้าทั้ง 5 ที่ได้รับการบูชาพร้อมกันในลัทธิสมารตะ
ลัทธิไวษณพ บูชาพระวิษณุ [ 54] และปางอวตารของพระองค์ โดยเฉพาะ พระกฤษณะ และ พระราม [ 55] ลักษณะของนิกายนี้โดยทั่วไป ไม่ใช่ลักษณะนักพรตติดอาราม แต่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมชุมชนและการปฏิบัติที่นับถือศรัทธา ความรักสนุกนี้มีที่มาจากการสื่อนัย ๆ ถึงลักษณะอัน "ขี้เล่น ร่าเริง และสนุกสนาน" ของพระกฤษณะรวมถึงอวตารองค์อื่น ๆ[ 52] พิธีกรรมและการปฏิบัติจึงมักเต็มไปด้วยการระบำในชุมชน, ขับร้องดนตรี ทั้ง กีรตัน (Kirtan) และ ภชัน (Bhajan) โดยเชื่อกันว่าเสียงและดนตรีเหล่านี้จะมีพลังในการช่วยทำสมาธิและมีพลังอำนาจเชิงความเชื่อ[ 56] การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมในศาสนสถานของไวษณพมักมีความประณีต ละเอียดลออ[ 57] ส่วนรากฐานเชิงศาสนศาสตร์ของไวษณพนั้นมาจากภควัทคีตา, รามายณะ และปุราณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระวิษณุ[ 58]
ลัทธิไศวะ มุ่งเน้นที่พระศิวะ ศาสนิกชนไศวะมีแนวโน้มไปทางปัจเจกพรตนิยม (ascetic individualism) และแตกออกเป็นนิกายแยกย่อยได้อีก[ 52] แนวทางปฏิบัติของไศวะรวมถึงการศรัทธาแบบภักติ แต่ความเชื่อโน้มเอียงมาทางนิกายแบบ nondual, monistic อย่าง Advaita และ ราชโยคะ [ 50] [ 56] ไศวะมีทั้งกลุ่มที่นิยมบูชาในศาสนสถาน บางส่วนก็มุ่งเน้นที่การปฏิบัติโยคะ ทั้งหมดเพื่อพยายามเข้าเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับพระศิวะทั้งสิ้น[ 59] ลักษณะขององค์อวตารนั้นไม่ค่อยพบ และไศวะบางกลุ่มมองพระเป็นเจ้าในลักษณะของครึ่งบุรุษ-ครึ่งสตรี (อรธนารีศวร ) ไศวะนั้นมีความเกี่ยวพันกับศักติ โดยมักมองว่าองค์ศักติเป็น พระชายาของพระศิวะ[ 50] การเฉลิมฉลองประกอบด้วยเทศกาลต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมในศาสนพิธีและเดินทางไปแสวงบุญยังสถานที่แสวงบุญเช่น Kumbh Mela ร่วมกับไวษณพ[ 60] ลัทธิไศวะพบได้ทั่วไปในแถบหิมาลัย ตั้งแต่กัศมีร์จนถึงเนปาล และในอินเดียใต้[ 61]
ลัทธิศักติ บูชาเทวีหรือศักติ เป็นพระมารดาของจักรวาล[ 52] พบมากเปนพิเศษในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกของอินเดีย เช่น รัฐอัสสัม และเบงกอลตะวันตก เทวีที่บูชานั้นมีรูปลักษณ์ตั้งแต่พระแม่ปราวตี ซึ่งทรงอ่อนโยนไปจนถึงองค์ที่มีพระลักษณะดุดันเช่น พระแม่ทุรคา และ พระแม่กาลี ศาสนิกชนเชื่อว่าศักติ เป็นพลังอำนาจที่คอยรองรับความเป็นบุรุษ ระเบียบการปฏิบัติของศักติเกี่ยวข้องกับแนวทางแบบตันตระ [ 62] การเฉลิมฉลองมีทั้งเทศกาล ซึ่งบางส่วนมีพิธีกรรมที่นำเทวรูปดินเหนียวแช่ลงให้ละลายไปในแม่น้ำ[ 63]
ลัทธิสมารตะ บูชาเทพเจ้าฮินดูองค์หลัก ๆ ไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ พระศิวะ, พระวิษณุ, องค์ศักติ, พระคเนศ , พระสุริยะ และ พระการติเกยะ ธรรมเนียมแบบสมารตะนั้นเกิดขึ้นราวหลังยุคคาสสิกของฮินดูตอนต้น ราวเริ่มต้นคริสตกาล หลังศาสนาฮินดูเริ่มรวมเข้ากับการปฏิบัติแบบพราหมณ์และความเชื่อพื้นเมือง[ 65]
ประวัติ
ศาสนาพราหมณ์ มีวิธีวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต่การเริ่มตั้งถิ่นฐานของชาวอารยันเริ่มตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีป ต่อมาในสมัยหลังพุทธกาลศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ใหม่ ซึ่งมีหลักคำสอนที่ผิดแผกแตกต่างจากต้นกำเนิดเดิมของศาสนานี้ จึงนับว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีอายุยาวนานที่สุดของโลกศาสนาหนึ่ง
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่แตกต่างจากศาสนาอื่นในโลกเพราะเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ต่อมาชาวอารยัน ผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า ได้สอนหลักการเรื่องกำเนิดของสรรพสิ่งว่า เทพเจ้าหรือพระพรหม เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในลักษณะต่างๆ ต่อมาสรรพสิ่งที่พระพรหมสร้างก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย ทำให้มีเทพเจ้ามากมายและทำหน้าที่ต่างๆกันในที่สุด ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจึงกลายมาเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม ในปัจจุบัน
เนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาอันยาวนาน ทำให้แนวความคิดทางศาสนาแตกต่างกันออกไปมาก ดังนั้น การศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยแบงออกเป็นยุคต่างๆ ยุคอริยกะหรืออารยัน ยุคพระเวท ยุคพราหมณะ ยุคฮินดูเก่า(ฮินดูแท้) และอุปนิษัท สมัยสูตร สมัยอวตาร สมัยเสื่อม สมัยฟื้นฟู และสมัยภักติ สรุปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นจากลัทธิประจำเผ่าพัฒนามาเป็นศาสนาประจำเผ่าอารยัน ซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือมิลักขะได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปอยู่ทางใต้ของอินเดีย(รัฐทมิฬนาฑู )และบางส่วนหนีข้ามฝากไปยังศรีลังกา เกิดเป็นตำนานมหากาพย์สงครามระหว่าง 2 เผ่าพันธุ์ในเรื่อง รามายณะ ซึ่งแต่งโดยฤๅษีวาลมีกิ พระราม (ชาวอารยัน)หรืออริยกะ ได้ทำสงครามรบกับชนพื้นเมืองเดิม(มิลักขะ)ยักษ์หรือ (ทศกัณฐ์ ) แล้วตั้งถิ่นฐานที่อยู่ครอบครองลุ่มแม่น้ำสินธุ และแม่น้ำคงคา ได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้เข้ากับความเชื่อของตน ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องวรรณะ โดยมีความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ในวรรณะต่างๆ จากอวัยวะแต่ละส่วนของพระองค์ เช่น พราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ กษัตริย์ เกิดจากอก แพศย์ เกิดจากตัก และศูทร เกิดจากเท้า ชาวอินเดียจะยึดถือวรรณะกันมาก ถ้าใครแต่งงานข้ามวรรณะกันลูกก็จะกลายเป็นจัณฑาล ในยุคโบราณ เมื่อพวกอริยะชนะสงคราม จึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะเป็น 4 วรรณะ เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนับถือพระเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุคพราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มีอำนาจสูงสุด เพราะเป็นผู้ผูกขาดการทำพิธีกรรมต่างๆมีการแต่งคัมภีร์พระเวทขึ้นอีกหนึ่งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดทางปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ จนทำให้ศาสนาพราหมณ์ต้องปรับกระบวนการในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู
คัมภีร์
คัมภีร์พระเวท เดิมมี 3 คัมภีร์ เรียกว่า "ไตรเวท" โดยประกอบไปด้วย
ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์
ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ
ศุกลชุรเวท หรือ ยชุรเวทขาว ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์ หรือคำสวดและสูตรที่ต้องสวด
กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย
สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท
ต่อมาได้เพิ่ม อรรถเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่าง ๆ
หลักปฏิบัติ
อาศรม หรือ อาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่าง ๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการไว้ชีวิตไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม (วัย) อาศรมทั้ง 4 ช่วง มีดังนี้
พรหมจรยอาศรม เริ่มตั้งแต่อายุ 8-15 ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้เรียกว่า พรหมจารี
คฤหัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 15-40 ปี
วานปรัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 40-60 ปี
สันยัสตาศรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็น "สันยาสี" เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้
จุดมุ่งหมายสูงสุด
โมกษะ การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาฮินดูสอนว่า "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่าย ตาย เกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีก"
ศาสนสถาน
เชิงอรรถ
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ definition
↑ See:
Fowler: "probably the oldest religion in the world" (Fowler 1997 , p. 1 harvnb error: no target: CITEREFFowler1997 (help ) )
Klostermaier: The "oldest living major religion" in the world (Klostermaier 2007 , p. 1)
Kurien: "There are almost a billion Hindus living on Earth. They practice the world's oldest religion..." [ 1]
Bakker: "it [Hinduism] is the oldest religion".[ 2]
Noble: "Hinduism, the world's oldest surviving religion, continues to provide the framework for daily life in much of South Asia."[ 3]
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lockard
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hiltebeitel-synthesis
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fusion
↑ Among its roots are the Vedic religion of the late Vedic period (Flood 1996 , p. 16 harvnb error: no target: CITEREFFlood1996 (help ) ) and its emphasis on the status of Brahmans (Samuel 2010 , pp. 48–53 harvnb error: no target: CITEREFSamuel2010 (help ) ), but also the religions of the Indus Valley Civilisation (Narayanan 2009 , p. 11 harvnb error: no target: CITEREFNarayanan2009 (help ) ; Lockard 2007 , p. 52 harvnb error: no target: CITEREFLockard2007 (help ) ; Hiltebeitel 2007 , p. 3 harvnb error: no target: CITEREFHiltebeitel2007 (help ) ; Jones & Ryan 2006 , p. xviii harvnb error: no target: CITEREFJonesRyan2006 (help ) ) the Sramana or renouncer traditions of north-east India (Flood 1996 , p. 16 harvnb error: no target: CITEREFFlood1996 (help ) ; Gomez 2013 , p. 42 harvnb error: no target: CITEREFGomez2013 (help ) ), with possible roots in a non-Vedic Indo-European culture (Brokhorst 2007 harvnb error: no target: CITEREFBrokhorst2007 (help ) ), and "popular or local traditions " (Flood 1996 , p. 16 harvnb error: no target: CITEREFFlood1996 (help ) ).
อ้างอิง
↑ Kurien, Prema (2006). "Multiculturalism and American Religion: The Case of Hindu Indian Americans" . Social Forces . 85 (2): 723–741. doi :10.1353/sof.2007.0015 . ISSN 0037-7732 .
↑ Bakker, F.L. (1997). "Balinese Hinduism and the Indonesian State: Recent Developments". Bijdragen Tot de Taal-, Land- en Volkenkunde . Deel 153, 1ste Afl. (1): 15–41. doi :10.1163/22134379-90003943 . JSTOR 27864809 .
↑ Noble, Allen (1998). "South Asian Sacred Places". Journal of Cultural Geography . 17 (2): 1–3. doi :10.1080/08873639809478317 .
↑ Bowker 2000 harvnb error: no target: CITEREFBowker2000 (help ) ; Harvey 2001 , p. xiii harvnb error: no target: CITEREFHarvey2001 (help ) ;
↑ Hiltebeitel 2007 , p. 12 harvnb error: no target: CITEREFHiltebeitel2007 (help ) ; Flood 1996 , p. 16 harvnb error: no target: CITEREFFlood1996 (help ) ; Lockard 2007 , p. 50 harvnb error: no target: CITEREFLockard2007 (help )
↑ พระบูรพมหาพฤฒาจารย์-พระมหาฤษีวยาสะ (กฤษณะ ไทวปายนะ วยาส)
↑ Zaehner, R. C. (1992). Hindu Scriptures . Penguin Random House. pp. 1 –7. ISBN 978-0679410782 .
↑ 16.0 16.1 Klostermaier, Klaus (2007). A Survey of Hinduism (3rd ed.). State University of New York Press. pp. 46 –52, 76–77. ISBN 978-0791470824 .
↑ Frazier, Jessica (2011). The Continuum companion to Hindu studies . London: Continuum. pp. 1 –15. ISBN 978-0-8264-9966-0 .
↑ 18.0 18.1 Bilimoria; และคณะ, บ.ก. (2007). Indian Ethics: Classical Traditions and Contemporary Challenges . p. 103. See also Koller, John (1968). "Puruṣārtha as Human Aims". Philosophy East and West . 18 (4): 315–319. doi :10.2307/1398408 . JSTOR 1398408 .
↑ 19.0 19.1 Flood, Gavin (1997). "The Meaning and Context of the Puruṣārthas". ใน Lipner, Julius J. (บ.ก.). The Bhagavadgītā for Our Times . Oxford University Press. pp. 11–27. ISBN 978-0195650396 .
↑ Herbert Ellinger (1996). Hinduism . Bloomsbury Academic. pp. 69–70. ISBN 978-1-56338-161-4 .
↑ Dharma, Samanya; Kane, P. V. History of Dharmasastra . Vol. 2. pp. 4–5. See also Widgery, Alban (1930). "The Priniciples of Hindu Ethics". International Journal of Ethics . 40 (2): 232–245. doi :10.1086/intejethi.40.2.2377977 .
↑ Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7 , pages 377, 398
↑ "Christianity 2015: Religious Diversity and Personal Contact" (PDF) . gordonconwell.edu . January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015 .
↑ "Peringatan" . sp2010.bps.go.id .
↑ Vertovec, Steven (2013). The Hindu Diaspora: Comparative Patterns . Routledge. pp. 1–4, 7–8, 63–64, 87–88, 141–143. ISBN 978-1-136-36705-2 .
↑ "Hindus" . Pew Research Center's Religion & Public Life Project . 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015 . ;"Table: Religious Composition by Country, in Numbers (2010)" . Pew Research Center's Religion & Public Life Project . 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 1 February 2013. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015 .
↑ Gavin Flood (1996), The meaning and context of the Purusarthas, in Julius Lipner (Editor) – The Fruits of Our Desiring, ISBN 978-1896209302 , pp 16–21
↑ The Oxford Dictionary of World Religions, Dharma , The Oxford Dictionary of World Religions : "In Hinduism, dharma is a fundamental concept, referring to the order and custom which make life and a universe possible, and thus to the behaviours appropriate to the maintenance of that order."
↑ 30.0 30.1 Dharma, The Columbia Encyclopedia, 6th Ed. (2013), Columbia University Press, Gale, ISBN 978-0787650155
↑ 31.0 31.1 J. A. B. Van Buitenen, Dharma and Moksa, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp 33–40
↑ Charles Johnston , The Mukhya Upanishads: Books of Hidden Wisdom, Kshetra, ISBN 978-1495946530 , page 481, for discussion: pages 478–505
↑ Paul Horsch (Translated by Jarrod Whitaker), From Creation Myth to World Law: The early history of Dharma , Journal of Indian Philosophy, Vol 32, pages 423–448, (2004)
↑ Swami Prabhupādā, A. C. Bhaktivedanta (1986), Bhagavad-gītā as it is , The Bhaktivedanta Book Trust, p. 16, ISBN 9780892132683
↑ John Koller, Puruṣārtha as Human Aims, Philosophy East and West, Vol. 18, No. 4 (Oct. 1968), pp. 315–319
↑ James Lochtefeld (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Rosen Publishing, New York, ISBN 0-8239-2287-1 , pp 55–56
↑ Bruce Sullivan (1997), Historical Dictionary of Hinduism, ISBN 978-0810833272 , pp 29–30
↑ Macy, Joanna (1975). "The Dialectics of Desire". Numen . 22 (2): 145–60. doi :10.2307/3269765 . JSTOR 3269765 .
↑ Monier Williams, काम, kāma Monier-Williams Sanskrit English Dictionary, pp 271, see 3rd column
↑ See:
The Hindu Kama Shastra Society (1925), The Kama Sutra of Vatsyayana , University of Toronto Archives, pp. 8;
A. Sharma (1982), The Puruṣārthas: a study in Hindu axiology, Michigan State University, ISBN 9789993624318 , pp 9–12; See review by Frank Whaling in Numen, Vol. 31, 1 (Jul. 1984), pp. 140–142;
A. Sharma (1999), The Puruṣārthas: An Axiological Exploration of Hinduism , The Journal of Religious Ethics, Vol. 27, No. 2 (Summer, 1999), pp. 223–256;
Chris Bartley (2001), Encyclopedia of Asian Philosophy, Editor: Oliver Learman, ISBN 0-415-17281-0 , Routledge, Article on Purushartha, pp 443
↑ R.C. Mishra, Moksha and the Hindu Worldview, Psychology & Developing Societies, Vol. 25, Issue 1, pp 23, 27
↑ J. A. B. Van Buitenen, Dharma and Moksa, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp. 33–40
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ E. Deutsch pp 343-360
↑ see:
Karl Potter, Dharma and Mokṣa from a Conversational Point of View, Philosophy East and West, Vol. 8, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1958), pp. 49–63
Daniel H. H. Ingalls, Dharma and Moksha, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp. 41–48;
Klaus Klostermaier, Mokṣa and Critical Theory, Philosophy East and West, Vol. 35, No. 1 (Jan. 1985), pp. 61–71
↑ Rinehart 2004 , pp. 19–21 harvnb error: no target: CITEREFRinehart2004 (help )
↑ J. Bruce Long (1980), The concepts of human action and rebirth in the Mahabharata, in Wendy D. O'Flaherty, Karma and Rebirth in Classical Indian Traditions, University of California Press, ISBN 978-0520039230 , Chapter 2
↑ Julius J. Lipner (2010), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7 , page 8; Quote: "[...] one need not be religious in the minimal sense described to be accepted as a Hindu by Hindus, or describe oneself perfectly validly as Hindu. One may be polytheistic or monotheistic, monistic or pantheistic, even an agnostic, humanist or atheist, and still be considered a Hindu."
↑ Chakravarti, Sitansu (1991), Hinduism, a way of life , Motilal Banarsidass Publ., p. 71, ISBN 978-81-208-0899-7
↑ Werner 2005 , pp. 13, 45 harvnb error: no target: CITEREFWerner2005 (help )
↑ 50.0 50.1 50.2 Lance Nelson (2007), An Introductory Dictionary of Theology and Religious Studies (Editors: Orlando O. Espín, James B. Nickoloff), Liturgical Press, ISBN 978-0814658567 , pages 562–563
↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 SS Kumar (2010), Bhakti – the Yoga of Love, LIT Verlag Münster, ISBN 978-3643501301 , pages 35–36
↑ Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7 , pages 371–375
↑ sometimes with Lakshmi , the spouse of Vishnu; or, as Narayana and Sri; see: Guy Beck (2006), Alternative Krishnas: Regional and Vernacular Variations on a Hindu Deity, State University of New York Press, ISBN 978-0791464168 , page 65 and Chapter 5
↑ Edwin Francis Bryant; Maria Ekstrand (2013). The Hare Krishna Movement: The Postcharismatic Fate of a Religious Transplant . Columbia University Press. pp. 15–17. ISBN 978-0231508438 .
↑ 56.0 56.1 Edwin Bryant and Maria Ekstrand (2004), The Hare Krishna Movement, Columbia University Press, ISBN 978-0231122566 , pages 38–43
↑ Bruno Nettl; Ruth M. Stone; James Porter; Timothy Rice (1998). The Garland Encyclopedia of World Music: South Asia : the Indian subcontinent . Routledge. pp. 246–247. ISBN 978-0824049461 .
↑ Lance Nelson (2007), An Introductory Dictionary of Theology and Religious Studies (Editors: Orlando O. Espín, James B. Nickoloff), Liturgical Press, ISBN 978-0814658567 , pages 1441, 376
↑ Roshen Dalal (2010). The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths . Penguin Books. p. 209. ISBN 978-0-14-341517-6 .
↑ James Lochtefeld (2010), God's Gateway: Identity and Meaning in a Hindu Pilgrimage Place, Oxford University Press, ISBN 978-0195386141
↑ Natalia Isaeva (1995), From Early Vedanta to Kashmir Shaivism, State University of New York Press, ISBN 978-0791424490 , pages 141–145
↑ Massimo Scaligero (1955), The Tantra and the Spirit of the West , East and West, Vol. 5, No. 4, pages 291–296
↑ History: Hans Koester (1929), The Indian Religion of the Goddess Shakti, Journal of the Siam Society, Vol 23, Part 1, pages 1–18;Modern practices: June McDaniel (2010), Goddesses in World Culture, Volume 1 (Editor: Patricia Monaghan), ISBN 978-0313354656 , Chapter 2
↑ Hiltebeitel, Alf (2013), "Hinduism" , ใน Kitagawa, Joseph (บ.ก.), The Religious Traditions of Asia: Religion, History, and Culture , Routledge
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "web" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="web"/>
ที่สอดคล้องกัน