พระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
พระเจริญราชเดช (กวด ต้นตระกูลภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เจริญศิริ อัตถากร) หรือพระเจริญราชเดชขัตติยะเชษฐ์วรพงษ์พิสุทธิ์[1] หรือพระเจริญราชเดชวรเชษฐขัติยพงศ์[2] ผู้สร้างเมืองมหาสารคาม[3] เดิมเป็นที่ท้าวมหาชัย (ท้าวมหาไชย)[4] กรมการเมืองร้อยเอ็ด นามเดิมว่าท้าวกวดหรือท้าวศรีวงศ์ เป็นเจ้าเมืองมหาสารคามองค์แรกในฐานะพระประเทศราชและเจ้าเมืองชั้นเอก เป็นเชื้อสายเจ้านายราชวงศ์ล้านช้าง พระนามเต็มตามธรรมเนียมท้องถิ่นในเอกสารราชการเรื่องแต่งตั้งเพี้ยจันทะเนตกรมการเมืองมหาสารคามเมื่อวัน ๑ (อาทิตย์) ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรีนิศก ระบุว่า "พระราช...อัคคมหากษัตริย์อัดทีปติเอกษัตตะมหานัครบุรีสีสุริยมาสชาติสุริยวงศ์เทพยาดา เจ้าพระจะเลือนลาสซะเดดองค์เสวยเมืองมหาสาลคามราชธานีสีสาเกตะ" ส่วนเอกสารฝ่ายสยามออกนามยศเต็มว่า พระเจริญราชเดชวีรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติประเทศราชธำรงรักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกรศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์ พิศอนุพงศ์ปรีชาสิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาลชาญพิชัยสงคราม เป็นต้นสกุลภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และสกุลมหาสาขาต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม อาทิ เจริญศิริ เจริญราชเดช อัตถากร ฯลฯ พระประวัติราชตระกูลพระเจริญราชเดช (กวด) บรรดาศักดิ์เดิมที่ท้าวมหาชัย เกิดราว พ.ศ. ๒๓๒๘-๒๓๓๒ เป็นเจ้าเมืองเมื่ออายุราว ๓๑ ปี[5] บ้างว่าเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่เมืองร้อยเอ็ด เป็นบุตรอุปฮาด (สิงหรือสิงห์) คณะอาญาเมืองร้อยเอ็ด[6] เป็นนัดดาของพระยาขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลังหรือศรีรัง ธนสีลังกูร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นปนัดดาของพระขัติยวงษา (ทนหรือสีทนมณี) ผู้สร้างเมืองร้อยเอ็ดและเจ้าเมืองร้อยเอ็ดองค์แรก สืบเชื้อสายจากเจ้าแก้วมงคล (จารย์แก้ว) ผู้สร้างเมืองท่งศรีภูมิต่อมาคือเมืองสุวรรณภูมิ (อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด) ก่อนแยกไปตั้งเมืองร้อยเอ็ด การศึกษาและงานราชการครั้นท้าวกวดเจริญวัยได้ศึกษาในสำนักยาท่านหลักคำเมืองอุบลราชธานีแล้วศึกษาการปกครองที่กรุงเทพฯ[7] หลังจบการศึกษาได้กลับไปรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ดอยู่กับพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมือง ท้าวกวดเป็นผู้มีความสามารถในราชการปราบโจรผู้ร้ายจนสงบราบคาบจีงถูกแต่งตั้งเป็นท้าวมหาชัยกรมการเมืองเมื่ออายุ ๒๑ ปี วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม (องค์แรก) มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยราชการ พ.ศ. ๒๔๑๒ โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเมืองมหาสารคามให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๑๘ พวกฮ่อก่อการจลาจล พระเจริญราชเดช (กวด) จึงเข้าร่วมรบปราบฮ่อด้วยความสามารถจนมีชัย รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามยศให้สูงขึ้นเป็นที่พระเจริญราชเดชวรเชษฐมหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติประเทศราชธำรงค์รักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกรศรีพิชัยเทพวราฤทธิ์ พิษณุพงศ์ปรีชาสิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาลชาญพิชัยสงคราม ผู้สร้างเมืองมหาสารคามการตั้งเมืองมหาสารคามพระขัติยวงษา (จันหรือจันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดได้ปรึกษากับอุปฮาด (ภู) เห็นว่าท้าวมหาชัย (กวด) สมควรเป็นเจ้าเมืองจึงมอบไพร่พลให้ปกครองเป็นชายฉกรรจ์ ๒,๐๐๐[8] รวมทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชราราว ๕,๐๐๐ ให้ท้าวบัวทองบุตรอุปฮาด (ภู) เป็นผู้ช่วยแล้วพากันแยกไปหาที่ตั้งเมืองใหม่[9] รวมผู้คนแบ่งจากเมืองร้อยเอ็ดราว ๙,๐๐๐[10] คน ต่อมาท้าวมหาชัย (กวด) เห็นว่าทิศตะวันตกของกุดยางใหญ่ (กุดนางใย บ้านนางใย) ซึ่งเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้วเหมาะแก่การตั้งบ้านเมืองเพราะน้ำท่วมไม่ถึง หน้าแล้งสามารถใช้น้ำจากกุดยางใหญ่และหนองท่ม (หนองกระทุ่ม) ได้ แต่ท้าวบัวทองเห็นว่าด้านตะวันตกของบ้านลาด (บ้านลาดพัฒนา) ริมฝั่งลำน้ำชีเป็นทำเลเหมาะสมกว่าเพราะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปีและสามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำได้ จึงพาผู้คนจำนวนหนึ่งไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านลาด การตั้งเมืองเป็นเหตุให้ราษฏรเมืองสุวรรณภูมิโอนสังกัดและอพยพมาอยู่เมืองมหาสารคามมากขึ้นจนต้องออกกฎห้ามว่า "...ถ้าท้าวเพียตัวเลขเมืองสุวรรณภูมิสมักไปอยู่เมืองอื่นให้จับเอาตัวเลขจำคาส่งไปยังเมืองสุวรรณภูมิจะเอาเงินคนละ ๙ ตำลึง ให้ท้าวเพียจับเอาตัวเลขชายหญิงที่สมักอยู่เมืองมหาษาลคามไปษาบาลแล้วเรียกเอาทานบลไว้..." ต่อมาพระขัติยวงษา (จัน) มีใบบอกไปยังกรุงเทพฯ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๔ ขอพระราชทานบ้านลาดกุดยางใหญ่ให้เป็นเมืองความว่า "...ลุจุลศักราช ๑๒๒๗ ปีฉลูสัปตศก พระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ดมีบอกขอตั้งบ้านลาดกุดยางใหญ่ (ฤๅนางใหญ่ ฤๅใย) เปนเมือง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลาดกุดยางใหญ่ฤๅนางใยเปนเมืองมหาสารคาม[11] ให้ท้าวมหาไชยบุตรอุปฮาด (สิง) เมืองร้อยเอ็ดเปนพระเจริญราชเดชเจ้าเมือง ให้ท้าวบัวทองบุตรอุปฮาด (ภู) เป็นอัคฮาด ให้ท้าวไชยวงษา (ฮึง) บุตรพระยาขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ดเปนอัควงษ์ ให้ท้าวเถื่อนบุตรพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเปนอัครบุตร รักษาเมืองมหาสารคามขึ้นเมืองร้อยเอ็ด เมืองร้อยเอ็ดได้แบ่งเลขให้ ๔๐๐๐ คน ทั้งสัมโนครัวประมาณ ๙๐๐๐ คน..."[12] สอดคล้องกับสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) โปรดฯ ให้ตามที่ขอ ลงวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ (๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘) ซึ่งระบุว่า "...จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่งเจ้าพระยาภูธรราภัยพร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้องแก่บ้านแก่เมืองใดแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ขนานนามบ้านลาดกุดนางใยเป็นเมืองมหาสารคาม พระราชทานนามสัญญาบัตรประทับพระราชลัญจกรตั้งท้าวมหาชัยเป็นพระเจริญราชเดชเจ้าเมืองทำราชการขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาชัยผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม..." ครั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองแล้วได้สร้างวัดมหาชัยขึ้นประจำเมือง[13] และสร้างโฮงหลวงขึ้นในบริเวณหนองกระทุ่มทางทิศเหนือกุดนางใยเนื่องจากเป็นที่ราบตั้งอยู่ระหว่างห้วยคะคางกับกุดนางใย มีข้อสังเกตว่าพระขัติยวงษา (จัน) ขอพระราชทานทั้งบ้านลาดและกุดยางใหญ่เป็นเมืองมหาสารคามแต่ที่ตั้งเมืองจริงอยู่ที่กุดยางใหญ่ ยุคแรกของการตั้งเมืองนั้นท้าวมหาชัย (กวด) และท้าวบัวทองสองพี่น้องตั้งกองบัญชาการชั่วคราวอยู่บริเวณเนินสูงแห่งหนึ่งแล้วสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขึ้นในบริเวณใกล้เคียงและสร้างศาลพระมเหศักดิ์ขึ้นที่ริมกุดนางใย เนินสูงนั้นต่อมาได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่าวัดดอนเมืองแล้วเปลี่ยนนามเป็นวัดข้าวฮ้าวและวัดธัญญาวาสตามลำดับ ต่อมากองบัญชาการสร้างเมืองได้ย้ายไปริมกุดนางใยแล้วย้ายไปหนองกระทุ่ม (บ้านจาน) ทิศเหนือวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน[14] ครั้น พ.ศ. ๒๔๑๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเมืองมหาสารคามและเจ้าเมืองให้สูงขึ้นแล้วให้แยกจากเมืองร้อยเอ็ดไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ตำแหน่งอัคฮาด (อรรคฮาช) จึงเลื่อนเป็นอุปฮาชและอัควงษ์ (อรรควงศ์) จึงเลื่อนเป็นราชวงษ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๙-๑๒ ในระยะ ๓-๔ ปีมีราษฎรจากเมืองร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่นอพยพเข้าสู่เขตเมืองมหาสารคามเป็นจำนวนมากจนได้รับการยกฐานะเป็นเมืองชั้นเอก[15] ภาระหน้าที่การเป็นเจ้าเมืองการตั้งเมืองมหาสารคามนั้นพระเจริญราชเดช (กวด) และคณะปกครองมีภาระหน้าที่ดังนี้ ๑) ให้พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคามอยู่ในบังคับบัญชาพระขัติยวงษา อุปฮาช ราชวงษ์ ราชบุตร เมืองร้อยเอ็ด ให้อรรคฮาช อรรควงษ์ วรบุตร และท้าวเพียเมืองมหาสารคามอยู่ใต้บังคับบัญชาเจ้าเมืองในสิ่งที่ชอบด้วยราชการ เมื่อยกฐานะเป็นเมืองใหญ่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยตรงจึงไม่ต้องฟังบังคับบัญชาเมืองร้อยเอ็ด ๒) ให้เจ้าเมือง อรรคฮาช อรรควงษ์ วรบุตร ปรึกษาหารือหาทางทำนุบำรุงท้าวเพียไพร่พลเมืองให้ได้ทำไร่นาให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนหาวิธีการเพิ่มจำนวนผู้คนให้มาอยู่ในเมืองมหาสารคาม ๓) ชำระคดีความของราษฎรโดยยุติธรรม ถ้าเป็นคดีใหญ่ให้ส่งไปเมืองร้อยเอ็ดตามธรรมเนียมเมืองเล็กขึ้นกับเมืองใหญ่ อย่าให้คดีความค้างช้าจนราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๔) ให้กำชับกำชาห้ามปรามท้าวเพียราษฎรอย่าคบหาพากันกินสูบขายซื้อฝิ่น อนุญาตเฉพาะในหมู่คนจีนและเจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ๕) ให้กำชับกำชาดูแลตักเตือนไม่ให้ราษฎรประพฤติตัวเป็นโจรผู้ร้ายลักทรัพย์สิ่งของกดขี่ข่มเหงราษฎร ๖) ให้กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากระทำสัตยานุสัจต่อกรุงเทพฯ ปีละ ๒ ครั้งในวันตรุษและวันสารท ระยะแรกให้กระทำพิธีร่วมกับเมืองร้อยเอ็ด ๗) ร่วมกับเมืองใกล้เคียงปักปันเขตแดนเมืองให้เห็นชอบทุกฝ่ายจะได้ไม่เป็นที่ทะเลาะวิวาทกันในภายหน้า แล้วใช้เสาไม้แก่นปักไว้เป็นเขตแดน ๘) ให้มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาสร้างวัดวาอารามทำนุบำรุงพระภิกษุสามเณรให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถาวรสืบไป โดยพระเจริญราชเดช (กวด) ได้สร้างวัดขึ้นหลายวัด เช่น วัดเหนือ (ตั้งอยู่เหนือทางต้นน้ำ ปัจจุบันคือวัดมหาชัย) วัดกลาง (วัดอภิสิทธิ์) วัดใต้ (วัดอุทัยทิศ) เป็นต้น ๙) ส่งส่วยผลเร่วโดยแบ่งชายฉกรรจ์ของเมืองมหาสารคามเป็น ๓ ส่วน เรียกเก็บส่วย ๒ ส่วนส่งไปกรุงเทพฯ อีกส่วนเก็บไว้ใช้ราชการในเมือง เมืองมหาสารคามต้องเรียกเก็บเงินจากชายฉกรรจ์คนละ ๒ บาทหรือเป็นผลเร่วคนละ ๖ กิโลกรัมต่อปีและต้องทำบัญชีชายฉกรรจ์แจ้งลงไปกรุงเทพฯ ให้ชัดแจ้ง แยกจากร้อยเอ็ดไปขึ้นต่อกรุงเทพฯหลังตั้งเมืองมหาสารคามใน พ.ศ. ๒๔๐๘ ฝ่ายเมืองร้อยเอ็ดเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างพระขัติยวงษา (จัน) กับราชวงษ์ (สาร) บุตรพระพิไสยสุริยวงษ์ (ตาดี) ในที่สุดพระขัติยวงษา (จัน) ต้องลาออกจากตำแหน่งเจ้าเมือง ราชวงษ์ (สาร) จึงขึ้นเป็นพระขัติยวงษาเจ้าเมืองร้อยเอ็ดแทน ฝ่ายพระเจริญราชเดช (กวด) ขัดแย้งกับพระขัติยวงษา (สาร) ด้วยเรื่องบิดาของทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันเป็นทุนเดิม ทั้งพระขัติยวงษา (สาร) นั้นมีนิสัยดุร้ายเมืองมหาสารคามกับเมืองร้อยเอ็ดจึงมีเรื่องราวกล่าวโทษฟ้องร้องกันอยู่เสมอ ในที่สุด พ.ศ. ๒๔๑๒ จึงยกฐานะเมืองมหาสารคามและเจ้าเมืองให้สูงขึ้นแล้วให้เมืองมหาสารคามแยกออกจากเมืองขึ้นร้อยเอ็ดมาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ซึ่งนโยบายนี้ทำให้อำนาจของเมืองร้อยเอ็ดอ่อนแอลง[16] ปราบกบฏฮ่อพ.ศ. ๒๔๑๗-๑๙ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจริญราชเดช (กวด) เป็นแม่ทัพยกกำลังพล ๓ หัวเมืองไปสมทบทัพหลวงเพื่อปราบทัพจีนฮ่อที่นครเวียงจันทน์และนครหลวงพระบาง ได้แสดงความกล้าหาญจนชนะฮ่อหลายจุดจึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนฐานะขึ้นเสมอเจ้าผู้ครองนคร มีการใช้ราชาศัพท์อย่างเจ้าประเทศราชในหอโฮงและคุ้มเจ้าเมืองโดยสังเกตจากสร้อยราชทินนามว่า ประเทศราชธำรงค์รักษ์[17]หมายถึงผู้รักษาเมืองประเทศราชคือเมืองมหาสารคาม ต่อมาปีที่ ๓ ของสงครามได้นำพลเข้าต่อสู้ปราบปรามฮ่ออย่างเข้มแข็ง ขณะตะลุมบอนนั้นพระเจริญราชเดช (กวด) ต้องปืนและหอกข้าศึกตกจากหลังม้าอาการสาหัสแต่คงฝืนสั่งนายทหารให้แบกร่างตนเข้าบัญชาการทัพจนมีชัย หลังสงครามสิ้นสุดพระเจริญราชเดช (กวด) ได้ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๔๐[18] (๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑) ด้วยเหตุบอบช้ำจากการศึกสิริชนมายุ ๔๓ ปี ชาวมหาสารคามรู้จักในนามท้าวมหาชัยและมอบสมญานามให้ว่าอาชญาพ่อหลวงมหาชัย ใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ทางราชการพร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้เปลี่ยนชื่อวัดเหนือมาเป็นวัดมหาชัยเพื่อระลึกถึงนามท้าวมหาชัย (กวด) ผู้สร้างวัด[19] พระนามและเครื่องประกอบยศความตอนท้ายในรายงานกิจการจังหวัดมหาสารคาม ประจำปี ๒๕๐๖-๒๕๐๙ เรื่องประวัติอาชญาพ่อหลวงมหาชัย ผู้สร้างเมืองมหาสารคาม ระบุว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนชั้นท้าวมหาชัยขึ้นเทียบเท่าเจ้าผู้ครองนคร (พุทธศักราช ๒๔๑๘-๒๔๑๙) พระเจริญราชเดช วีรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงรักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์ พิศอนุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล ชาญพิชัยสงคราม และพระราชทานเครื่องยศคือ สร้อยคอประคำทองคำ ๑๐๘ เม็ด ๑ สาย สร้อย เสื้อทรงประพาส หมวกทรงประพาส ๑ สำรับ หมวกตุ้มปี่ ๑ สำรับ กระบี่บั้งทอง ๕ บั้ง ๑ กระบี่ ปืนชนวนต้นทองแดงเลี่ยมเงิน ๑ สัปทนปัสตู ๑ อัน เสลี่ยงประดับลายกนกถมตะทองทั้งตัว ๑ เสลี่ยง พานหมากกลมถมตะทองเครื่องในทองคำล้วน ได้แก่ จอกหมากทองคำ ๒ จอก ผอบทองคำ ๒ ผอบ ตลับขี้ผึ้งทองคำ ๒ ตลับ ซองพลูทองคำ ๒ ชอง กรรไกรหนีบหมากขาหุ้มทองคำ ๑ อัน คนโททองคำ ๑ กระโถนเงินถมตะทอง ๑ เสื้อเข้มขาบริ้วดี ๑ เสื้อแพรจินเจา ๑ แพร ๔ ติดขลิบ ๑ ส่านไทยไหมปักทองทั้งผืน ๑ ผ้าปูมเขมร ๑ ผ้าลายเกี้ยว ๑ แพรขาวหงอนไก่ลาย ๑ แพรขาวโล้ ๑ การทำงานทายาทพระเจริญราชเดช(กวด) สมรสกับ ญาแม่โซนแดง มีบุตร ๑๐ คน ได้แก่ ๑.ท้าวสุพรรณ ๒.ญาแม่จันทร์ ๓.หลวงไชยเยศสตานุรักษ์ ๔.ท้าวมณี ๕.ท้าวหนูพร ๖.ญาแม่ศรี(ศรีสุมาลย์) ๗.ญาแม่ทา ๘.ญาแม่เข็ม ๙.ราชวงศ์บุญมา ๑๐.ราชวงศ์คง สกุล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคามภวภูตานนท์ เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖ ลำดับที่ ๑๒๑๘ พระราชทานแก่พระเจริญราชเดช (อุ่น) กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม กระทรวงมหาดไท มณฑลร้อยเอ็จ (อดีตเจ้าเมืองวาปีปทุมคนสุดท้าย) ทวดชื่อราชวงษ์ (หล้า) ปู่ชื่ออุปฮาด (ภู) เมื่อ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Bhavabhutananda" ตามประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๑๕ ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๑ หน้า ๖๘ ต่อมา ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้เติมสร้อย "ณ มหาสารคาม" (na Mahasaragama) เป็น "ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม" (Bhavabhutananda na Mahasaragama) พระเจริญราชเดช (อุ่น) เป็นบุตรของท้าวบัวทองและเป็นหลานปู่ของอุปฮาด (ภู)[20] ท้าวบัวทองตั้งเมืองร่วมกับพระเจริญราชเดช (กวด) พระเจริญราชเดช (กวด) เป็นพ่อตาและลุงของพระเจริญราชเดช (อุ่น) เนื่องจากยาแม่ศรีสุมาลย์ (ศรี) ภริยา เป็นธิดาของพระเจริญราชเดช (กวด) อนุสาวรีย์อนุสาวรีย์พระเจริญราชเดช (กวด) ประดิษฐาน ณ สวนสาธารณะหนองข่า อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ทำพิธีเปิดเมื่อ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ มีพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นเป็นประธาน ในคำกล่าวรายงานพิธีเปิดอนุสาวรีย์ของนายสมบูรณ์ พรหมเมศร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามขณะนั้นระบุว่ารูปหล่อได้ประกอบพิธีเททองที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ มีสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรนิเวศวิหารเป็นประธาน แท่นรองรับวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อ ๙ กันยายน ปีเดียวกัน ต่อมา ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ จึงอัญเชิญรูปหล่อขึ้นประดิษฐาน[21]
อ้างอิง
Error in Webarchive template: Empty url.Error in Webarchive template: Empty url.
|