พัดยศ
พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก่
ประวัติพัดยศ เป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทานสมณศักดิ์ โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการพระราชพิธีเท่านั้น วิวัฒนาการของพัดยศก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน พัดยศพัฒนามาจากรูปแบบเดิมคือตาลปัตร คำว่าตาลปัตรมาจากภาษาบาลีว่า ตาลปตฺต ซึ่งแปลว่า ใบตาล ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบตาล ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น พัดยศ หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า พัดรอง หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง เรื่องตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ตาลปัตร วาลวิชนี และ จิตรวิชนี ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง วาลวิชนี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค ส่วน จิตรวิชนี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน การที่ตาลปัตรรูปหน้านางเป็นที่แพร่หลาย และรู้จักกันทั่วไปนั้นเกิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางแทนตาลปัตรที่เรียกว่า "พัชนี" กล่าวคือพระสงฆ์ในช่วงระยะเวลานั้นนิยมนำพัชนีที่มีรูปทรงเป็นพัดงองุ้มด้ามยาว ตัวพัดทำขึ้นจากโครงโลหะหรือไม้แล้วหุ้มด้วยผ้าที่มีลวดลายมาใช้แทนตาลปัตรใบตาล ด้วยถือกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นเครื่องยศสำหรับพระสงฆ์ผู้มีบรรดาศักดิ์ที่เอาไว้ใช้แทนตาลปัตรหรือให้ลูกศิษย์พัดถวายปรนนิบัติ และยิ่งกว่านั้นยังได้ปรากฏการทำตาลปัตรพัชนีเลียนแบบพัชนีที่เป็นเครื่องยศของเจ้านายและขุนนางออกจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในงานพิธีกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้พระสงฆ์ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางไว้ดังนี้ "....พัชนีนั้นท่านคิดไปดูรูปร่างเห็นบัดสี ใครคิดอ่านทำขึ้นเมื่อไรให้เปนรูปอย่างนี้ ผู้นั้นจะไม่ได้พิจารณาให้ลเอียดเลย...ใช้ไปไม่มีสตินึกได้บ้างเลยว่า รูปร่างไม่ดีไม่เปนมงคลเลย เอามาถือบังหน้าตาครอบหัวครอบหูอย่างไรมิรู้อยู่ น่ารำคาญใจ...เครื่องมือไทยอีกอย่าง 1 รูปร่างก็คล้ายพัชนี คือจวัก ที่เรียกว่าจ่าหวักก็ดี.....เอามาใช้ตักเข้ากวนแกงซึ่งจะขึ้นถ้วยขึ้นชามขึ้นสำรับ....ในเครื่องต้นแล เครื่องเจ้านายที่มีบันดาลศักดิ์สูง เขาไม่ใช้มานานแล้ว เขามีทัพพีทองเหลืองทำรูปเหมือนช้อนต้นใหญ่ปลายย่อม......ครั้งนี้ทรงพระราชดำริที่จะใคร่ให้พระสงฆ์เลิกใช้พัชนีเสีย จะกลับไปทำพัดโครงไม้ไผ่ขึง ๆ ปิดแพรปิดโหมดถวายให้ใช้เป็นอย่างพระสงฆ์จะยอมฤๅ ไม่ยอมไม่ทราบเลย การก็เคยมานานแล้ว ถ้าพระสงฆ์ยังชอบใจจะคงใช้อยู่ก็ตาม..." ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์ธรรมบท ว่า "ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง..." และ "พระสารีบุตร ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..." และความตอนหนึ่งในพุทธประวัติว่า "พระเจ้าปัสเสนทิโกศลโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..." ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาวลังกาในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่าง ๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะทำให้ศาสนพิธีนั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น รูปแบบของพัดยศรูปลักษณะและการเรียกชื่อพัดยศของไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบดังได้กล่าวมาแล้ว ได้แก่
นอกจากนี้ยังมี พัดยศเปรียญ อันเป็นเครื่องหมายสำหรับพระภิกษุผู้สอบได้บาลีเปรียญ 3 ประโยคขึ้นไป และมีคำเป็นเครื่องสมณศักดิ์ว่า "พระมหา" เวลาทรงตั้งเรียกว่า "ทรงตั้งเปรียญ" ไม่ใช้คำว่า "พระราชทานสมณศักดิ์ - พัดยศ" สำหรับผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.3. พระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้ง โดยประทานประกาศนียบัตร พัดยศ ชื่อว่า ทรงตั้งแล้ว ส่วนผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.6 ถึงประโยค ป.ธ.9 จะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานประกาศนียบัตรพัดยศ และไตรจีวรด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะพัดยศเปรียญเป็นพัดหน้านาง ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.5 พื้นแพรแดง ปักดิ้นเลื่อม มีเลขบอกประโยค ด้ามไม้ ประโยค ป.ธ.6 - ป.ธ.8 พื้นแพรเหลือง ปักดิ้นเลื่อม มีเลขบอกประโยค ด้ามไม้ ประโยค ป.ธ.9 พื้นตาดเหลืองล้วน ปักดิ้นเลื่อม ไม่มีเลขบอกประโยค ด้ามงา (ปัจจุบันเป็นเรซิ่นผสมไฟเบอร์กลาส) อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พัดยศ |