Share to:

 

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (พ.ศ. 2556)

ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ก่อตัว 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สลายตัว 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
235 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
315 กม./ชม. (195 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิต 6,195 ราย, 1,785 รายสูญหาย
ความเสียหาย อย่างน้อย 1.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2013)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ไมโครนีเชีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีนตอนใต้
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (อักษรโรมัน: Haiyan, จีน: 白鹿)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโยลันดา (ตากาล็อก: Yolanda)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา เมื่อพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนขึ้นฝั่งพายุก็ได้สร้างความเสียหายบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์[1] และนี่เป็นหนึ่งในพายุที่มีการบันทึกไว้ในประเทศฟิลิปปินส์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่พายุได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 6,300 ราย ในประเทศนั้นเพียงประเทศเดียว[2][3] ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (195 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตามรายงานของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนมีความเร็วลมเท่ากับพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559 เนื่องจากเป็นพายุที่เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งที่มีกำลังแรงที่สุดเป็นอันดับสองเป็นประวัติการณ์ และตามหลังพายุไต้ฝุ่นโคนีในปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ยังคงพบผู้เสียชีวิตอยู่[4] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกในโลกในปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย

ประวัติ

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดหลายร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะโปนเปของสหพันธรัฐไมโครนีเชียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน และมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก สภาพแวดล้อมทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อนและได้รับการตั้งชื่อว่า ไห่เยี่ยน ในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 4 พฤศจิกายนตามเวลาสากล และได้พัฒนาเป็นพายุที่ที่มีความรุนแรงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเวลา 18:00 น. ของวันที่ 5 พฤศจิกายนตามเวลาสากล โดยในวันที่ 6 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ปรับระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 เทียบเท่าซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุได้ผ่านเกาะกายาเงลของปาเลาไม่นานหลังจากที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น หลังจากนั้นพายุยังคงพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 7 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้บันทึกความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 10 นาที ที่ 235 กม./ชม. ในเวลา 18.00 น. ตามเวลาสากล JTWC ได้ประมาณระดับความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 1 นาที ที่ 315 กม./ชม. ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่ได้สังเกตการณ์มา หลายชั่วโมงต่อมา ตาของพายุได้เคลื่อนเข้าสู่ฟิลิปปินส์ ที่เมืองกีวาน จังหวัดซีลางังซามาร์ โดยไม่ได้มีการลดระดับความรุนแรงใด ๆ ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้พัดขึ้นฝั่ง สุงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 305 กม./ชม.ทำไว้โดยเฮอริเคนคามิลล์ ในปี พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้อ่อนกำลังลงทีละน้อย และได้ขึ้นฝั่งเพิ่มเติมอีก 5 ครั้งตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และมีทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในที่สุดก็ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามในระดับพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันต่อมา

ความเสียหาย

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากทางตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเกาะซามาร์และเลย์เต ทางการได้คาดการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตในเมืองตักโลบันอย่างเดียวประมาณอย่างน้อย 10,000 คน ตามที่สหประชาชาติรายงานว่าราว 11 ล้านคนได้รับผลกระทบและอีกจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย[5]

การถอนชื่อ

เนื่องจากความเสียหายที่กว้างขวางและจำนวนผู้เสียชีวิตสูง PAGASA จึงประกาศถอนชื่อ โยลันดา PAGASA เลือกชื่อ Yasmin เพื่อแทนที่ โยลันดาสำหรับฤดูกาล 2560 ในระหว่างการประชุมประจำปี 2557 คณะกรรมการ ESCAP/WMO Typhoon ได้ประกาศว่าชื่อ ไห่เยี่ยน จะถูกปลดออกจากรายชื่อในวันที่ 1 มกราคม 2015 และถูกแทนที่ด้วยชื่อ ไป๋ลู่ชื่อนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฤดูกาล 2562

อ้างอิง

  1. Why Typhoon Haiyan Caused So Much Damage (Report). NPR. 2013-11-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  2. Typhoon Haiyan death toll rises over 5,000 (Report). BBC. 2013-11-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2013. สืบค้นเมื่อ 22 November 2013.
  3. "FINAL REPORT re EFFECTS of Typhoon "YOLANDA" (HAIYAN)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). NDRRMC. 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 November 2020.
  4. Gabieta, Joey (2014-11-09). "More bodies turning up in Tacloban". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). Asia News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014. สืบค้นเมื่อ 21 January 2014.
  5. "Tacloban: City at the centre of the storm". BBC. November 12, 2013. สืบค้นเมื่อ November 13, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน

Kembali kehalaman sebelumnya