พิจิกา จิตตะปุตตะ |
---|
เกิด | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (44 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|
อาชีพ |
- นักร้อง
- นักแสดง
- ดีเจ
- นักพากย์
|
---|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน |
---|
ผลงานเด่น | เพลง โอ้ใจเอ๋ย เพลง ไม่ใช่ผู้ชาย เพลง นิดนึง เพลง อยู่ ๆ ก็มาปรากฏตัวในหัวใจ เพลง กลัวเข้าใจผิด เพลง แสงสุดท้าย เพลง หนึ่งคำที่ล้นใจ |
---|
พิจิกา จิตตะปุตตะ (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ลูกหว้า เป็นนักร้อง นักแสดง นักพากย์ชาวไทย นักจัดรายการวิทยุ โดยเป็นที่รู้จักจากการเป็นนักร้องหญิงของวงดูบาดู (Doobadoo) ที่มีเพลงดังอย่าง "ไม่ใช่ผู้ชาย", "โอ้ใจเอ๋ย" อัลบั้มดูบาดูได้รับรางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมจาก คมชัดลึกอวอร์ด (2548) และแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ด อีกด้วย ได้รับรางวัลทางการแสดงมิวสิคัลจาก ชมรมวิจารณ์ศิลปการแสดงนานาชาติในประเทศไทย ยังเคยเป็นดีเจคลื่นเพลง Jazz 98.5, Breeze F.M., 98.5 Good fm, 98 EDS Weekend Special และ Smooth FM 105.5 อดีตเคยเป็นนักร้องของชมรมดนตรีของมหาวิทยาลัย (CU Band) หลังเรียนจบ ได้เข้าทำงานประจำฝ่ายโปรโมชั่นและเลขาฝ่ายสื่อสารการตลาดที่ MTV Thailand [1]
ประวัติ
เริ่มต้นเป็นนักร้องรับเชิญให้กับศิลปินต่าง ๆ เช่น ซีเปีย, กลุ่มเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา, บัวหิมะ, เทมโปคลินิค ฯลฯ ในปี 2548 ได้ออกอัลบั้มเพลง DoobaDoo ตำแหน่งนักร้องนำร่วมกับโปรดิวเซอร์ เจษฎา สุขทรามร มือกีตาร์สมาชิกอีกคน ต่อมาในปี 2552 ได้ออกอัลบั้มเพลง ที่มีชื่อว่า Feel by Lookwa ซึ่งมีเพลงสากลทั้งหมดจำนวน 12 เพลง และมีอัลบั้มเดี่ยวในปี 2554 ที่ใช้ชื่อว่า Pijika มีเพลงเป็นที่รู้จักมากมายหลายเพลง เช่น "นิดนึง", "อยู่ ๆ ก็มาปรากฏตัวในตัวใจ", "แสงสุดท้าย", "กลัวเข้าใจผิด", "หนึ่งคำที่ล้นใจ" เป็นต้น [2] นอกจากนี้ยังเป็นคอรัสในการแสดงสด และสตูดิโออัลบั้มให้หลายศิลปิน เช่น ลุลา, อีทีซี, โจอี้ บอย, รัดเกล้า อามระดิษ, เบิร์ด ธงไชย เป็นต้น
ด้านละครเวที เธอเริ่มเล่นละครเวทีตั้งแต่ยังเป็นนิสิต เรื่องแรกคือ กาลคืนหนึ่ง เป็นละครเวทีประจำปี 2543 ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาในปี 2545−2546 ได้เล่นให้กับค่ายดรีมบอกซ์ในละครเพลงเรื่อง คู่กรรม เดอะมิวสิคัล ถือเป็นการเริ่มต้นบทบาทการเป็นนักแสดงละครเวทีอย่างอย่างเต็มตัว และหลังจากนั้นลูกหว้ามีผลงานละครเวทีอย่างต่อเนื่องไปพร้อม ๆ กับการเป็นนักร้อง เธอมีโอกาสเล่นละครเวทีหลากหลายบทบาทให้กับหลายค่าย ทั้งละครสารนิพนธ์ ละครพูด หรือละครเพลง เช่น วิวาห์ คาบาเร่ต์ (2549), Pippin The Musical (2551), Chicago (2552), Dreamgirls (2556) รับบท Deena Jones, ไกลกังวล Musical on the Beach (2556, 2558), มนต์รักเพลงสวรรค์ (2558), ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล (2560) รับบท เนียม, Little Shop of Horrors (2561) รับบท ออเดรย์ และ ชายกลาง เดอะมิวสิคัล (2562) เป็นต้น เธอยังเคยได้รับรางวัล นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงนานาชาติในประเทศไทย จากบทของ สุดา ในละครเพลงเรื่อง แผ่นดินของเรา (2558) อีกด้วย[3]
การศึกษา
ผลงาน
เพลง
2542
2543
- ศิลปินรับเชิญอัลบั้มของ ชวิณี เกษบุญชู สังกัด อินดี้คาเฟ่
2544
- ศิลปินรับเชิญเพลง เป็นไปได้ไหม อัลบั้ม อินเลิฟ สังกัด อินดี้คาเฟ่
2546
- กอด (เวอร์ชันผู้หญิง) โดย นิตยสาร Mars Magazine
- เธอใช่ไหม ประกอบละครเมืองมายา เดอะซีรีส์ อัลบั้ม เมืองมายา เดอะซีรีส์
2547
- ศิลปินรับเชิญ เพลง ฝน โดย tempo clinic อัลบั้ม tribute to Kidnappers สังกัด black sheep
2548
2550
- ศิลปินรับเชิญ เพลง อย่าทำให้ฟ้าผิดหวัง อัลบั้ม bossa blossom 1 สังกัด สนามหลวง
- ศิลปินรับเชิญ เพลง รักเธอจริงๆ อัลบั้ม Remind สังกัด ลักษ์มิวสิก
2551
- โอ้ใจเอ๋ย โดย ดูบาดู ประกอบละคร เรื่อง บาดาลใจ
2552
2554
2555
2556
2557
- อยากให้รู้ว่าคิดถึง ประกอบละคร ครีบนี้หัวใจมีเธอ
- การเดินทางที่แสนพิเศษ ประกอบละคร จุดนัดภพ
- อัลบั้มรวมเพลง Love Scene Love Songs Lula & Pijika (ร่วมกับ ลุลา กันยารัตน์)
2559
- ทฤษฎีที่จอดรถ (Parking Theory) [8]
2560
- ยินดี PijikaxThe Parkinson
- ใต้ฟ้า (Tomorrow) JETSET'ER feat.Pijika
- แค่มีเธอ ประกอบละคร ชีวิตเพื่อฆ่าหัวใจเพื่อเธอ remake
2562
- ด้วยรักและผูกพัน ประกอบซีรีส์ THE DEADLINE
- เธอทำให้รัก ประกอบละคร ลับลวงใจ [9]
- เป็นไปได้ไหม ประกอบละคร แก้วกลางดง ต้าร์ มิสเตอร์ทีม & ลูกหว้า พิจิกา
2563
- คนที่ใช่ ประกอบละคร ฟากฟ้าคีรีดาว
- ขอให้ผม (Give It to Me) "Soulmate Version 20 Years Later" YOKEE PLAYBOY feat.Pijika
- ซ่อน ประกอบภาพยนตร์ คน ทรง ผี
- โรคกลัวความรัก One Week One Song feat.Pijika
2564
- ขอมีเธออยู่ (I Want You Stay) PIJIKA x THE PARKINSON
- เสียใจได้ยินไหม เพลงประกอบละคร ลวงฆ่าล่ารัก
- Time Machine เพลงประกอบละคร กะรัตรัก
2566
- กว่าดอกไม้จะบาน เพลงประกอบละคร บุษบาลุยไฟ
2567
- เว้าวอน เพลงประกอบละคร เว้าวอนรัก
- ทำของใส่ เพลงประกอบละคร แผนลวงบ่วงมารยา
- ลับแล เพลงประกอบละคร เมืองลับแล
- รักคงยังไม่พอ, ทิ้ง, ฟ้ายังฟ้าอยู่ รวบรวมบทเพลงอันเป็นความทรงจำของ SEE FAH แบบ Exclusive
ละครเวที/ละครเพลง
- กาลคืนหนึ่ง (2543) ละครประจำปี ผลงานนิสิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [10]
- คู่กรรม เดอะมิวสิคัล (2545, 2546) รับบท Ensemble โดย ดรีมบอกซ์[11]
- ละครเพลงสารนิพนธ์แอนนี่ (ฉบับภาษาไทย) (2547) โดย น้ำฝน ภักดี ภาควิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ละครเพลงวิวาห์ คาบาเร่ต์ (2549) โดย ดรีมบอกซ์
- มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนก (2550) รับบท นางมณีเมขลา โดย บริษัท เจ เอส แอล จำกัด
- Pippin The Musical (ฉบับภาษาไทย) (2551) รับบท Catheline โดยภาควิชาศิลปการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อคณะละครเป็น BU Theatre)
- นาฏกรรม เฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก (2551) รับบท นางมณีเมขลา ในโครงการพศ.พอเพียง สัญจร โดย บริษัท เจ เอส แอล จำกัด
- Chicago (ฉบับภาษาไทย) (2552) รับบท Mary Sunshine ละครเพลงสารนิพนธ์เรื่อง โดยภาควิชาศิลปการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อคณะละครเป็น BU Theatre)
- ข้าวนอกนา The Musical (2553) รับบท เขมวรรณ โดยภาควิชาศิลปการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อคณะละครเป็น BU Theatre)
- My world is Beautiful (2555) รับบท วจารส ละครเวทีชนะเลิศการนำเสนอ รางวัลสดใสอวอร์ด โดย นส.ธันยพร บุตรยี่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Dreamgirls (ฉบับภาษาไทย) (2556) รับบท Deena Jones โดย ดรีมบ็อกซ์ [12]
- ไกลกังวล Musical on the beach (2556, 2558) โดย ภาควิชาศิลปการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ และ บริษัท เจ เอส แอล จำกัด [13]
- มนต์รักเพลงสวรรค์ (2558) รับบท เอลซ่า ชเรอเดอร์ โดย บริษัท กัทส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ [14]
- แผ่นดินของเรา (2558) รับบท สุดา โดย GOOD SHOW
- มอม เดอะมิวสิคัล (2559) รับบท นายผู้หญิง โดย ดรีมบอกซ์ (แสดงสลับแทน ธีรนัยน์ ณ หนองคาย)
- ก๊วนคานทอง Love Game The Musical รับบท ลินี โดย Musical Musicals (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Be Musical) [15]
- ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล (2560) รับบท เนียม โดย ซีเนริโอ [16]
- รองเท้าของพ่อ (2560) รับบท สายฝน โดย โต๊ะกลม [17]
- ขุนเดช เดอะมิวสิคัล (2561) รับบท บงกช โดย ชมรมการท่องเที่ยวอำเภอ ศรีสัชนาลัย และ BU theatre [18]
- Little Shop of Horrors (2561) รับบท ออเดรย์ โดย Selladoor Asia Pacific [19]
- ชายกลาง เดอะมิวสิคัล (2562) รับบท พร โดย โต๊ะกลม [20]
- หลายชีวิต The Concept Musical (2562) รับบท ละม่อม โดยภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [21]
- BANGKOK GODDESS The Musical (2563) รับบท เทพศร โดย Aorta Production แสดงที่ LIDO CONNECT (25-27 ธันวาคม 2563)
- โรงรับจำนำ ความรู้สึก A Private Interactive Performance (2564) รับบท เหม่ยชิง โดย Rhythm Thinker แสดงที่ Rhythm of Art Creative Space (12-22 มีนาคม 2564)[22]
- พินัยกรรมของหญิงวิกลจริต (2565) โดย ดรีมบอกซ์
ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์
ผลงานด้านอื่น ๆ
- 2548 เขียนคอลัมน์เกี่ยวกับภาพยนตร์ในนิตยสารกุลสตรี
- 2558 เขียนหนังสือให้สำนักพิมพ์ a book ใน a booklet ตอน 12 shows ที่ต้อง Go on [23]
- 2562 The Mask Singer วรรณคดีไทย "หน้ากากนางมัทนา" [24]
- 2549-2551 จัดรายการวิทยุคลื่น 98 Breeze fm
- 2551-2553 จัดรายการวิทยคลื่น 98 Good fm
- 2563 จัดรายการวิทยุที่คลื่น 98 EDS (ทุกวันอาทิตย์ 13:00-15:00 น.) ในช่วง FEEL GOOD TOGETHER [25]
- 2567 จัดรายการวิทยุที่คลื่น Smooth FM 105.5 (ทุกวันจันทร์ - พุธ 10:00 - 13:00 น.) ในช่วง Smooth Society
- 2567 ให้เสียงพากย์ร้องภาษาไทย บท Mimsy และ Emily ในการ์ตูนซีรี่ส์ Hazbin Hotel ทาง Prime Video
รางวัลที่ได้รับ
- 2548 อัลบั้มยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด อัลบั้มดูบาดู [26]
- อัลบั้มยอดเยี่ยม แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ด อัลบั้มดูบาดู
- 2555 เสนอชื่อเข้าชิง fat awards ศิลปินหญิงเดี่ยว
- 2559 รางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในละครเพลงจากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงนานาชาติในประเทศไทย [27]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น