เมืองลับแล (ละครโทรทัศน์)
เมืองลับแล (อังกฤษ: Laplae the Hidden Town) เป็นละครโทรทัศน์ไทยปี 2567 จากการกำกับของชาติชาย เกษนัส ผู้กำกับละครเรื่องจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี นำแสดงโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์, เพียงฟ้า ยากานิกิ, ภัทรวรินทร์ ทิมกุล, มะลิมาริสา ฮิวส์, นภัสกร มิตรธีรโรจน์, ภัทร์ไพบูลย์ โอภาสสุวรรณ, ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์, พิจิกา จิตตะปุตตะ, นรินทร ณ บางช้าง และขวัญเรือน โลหากาศ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 20.15 น. (เวลามาตรฐานไทย) ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และยังสตรีมบนเน็ตฟลิกซ์แบบย้อนหลังในเวลา 22.00 น. ของวันเดียวกัน[1] เนื้อเรื่องเมืองลับแล บอกเล่าเรื่องราวของ ซอมพอ (เพียงฟ้า ยากานิกิ) ลูกสาวของ แม่เมืองบัว (ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์) เจ้าเมืองลับแล ที่ออกเดินทางพร้อมกับเพื่อนรักอย่าง กาหลา (มะลิมาริสา ฮิวส์) ลูกสาวของ แม่คุ้มอังกาบ (ภัทรวรินทร์ ทิมกุล) แม่ทัพใหญ่ของเมืองลับแล หลังจากได้รับการคัดเลือกเพื่อทำพิธีล่าผู้มาร (ผู้ชาย) คือการตั้งครรภ์กับผู้ชายแล้วกลับมาคลอดลูกสาวเพื่อเป็นประชากรรุ่นถัดไปของเมืองลับแล แต่ความลับของกาหลาที่ซอมพอยังไม่รู้นั่นก็คือกาหลาแอบรักซอมพอเกินคำว่าเพื่อนมานานแล้ว ที่โลกภายนอกซอมพอได้พบกับ แชน (ภัทร์ไพบูลย์ โอภาสสุวรรณ) หนุ่มนักสำรวจเส้นทางรถไฟลูกชายของ หลวงมิตรไพรี (นภัสกร มิตรธีรโรจน์) แม่ทัพสยามที่กำลังยกทัพปราบปรามพวกกบฏเงี้ยวซึ่งเขามีความหลังบางอย่างกับเมืองลับแล ในระหว่างที่แชนเดินทางมาพร้อมกับคณะสำรวจเส้นทางเพื่อสร้างทางรถไฟ ทางด้านกาหลาได้พบกับ มิน (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) หนุ่มเงี้ยวที่ทำหน้าที่เป็นสายคอยส่งข่าวของกองทัพสยามให้กับพวกเงี้ยว ทั้งสองคนทำพิธีสำเร็จแต่ก็ทำให้ซอมพอหลงรักแชนอย่างจริงจัง สร้างความไม่พอใจให้กับกาหลา ขณะที่มินเมื่อรู้ว่ากาหลามาจากเมืองลับแลก็หวังจะตามเธอเข้าไปเพื่อขโมยขมิ้นทองคำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองลับแลเพื่อนำไปขายซื้ออาวุธให้พวกกบฏสู้กับพวกสยาม ภายในเมืองลับแล แม่คุ้มอังกาบก็ได้ล่วงรู้ความลับของแม่เมืองบัว ว่า ความดี ศีลธรรม ทั้งหลายที่ใช้ปกครองเมือง ล้วนเป็นเครื่องมือในการดำรง และสืบทอดอำนาจของตัวเอง จึงเริ่มคิดก่อกบฏ ! นักแสดง
งานสร้างในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ละครเรื่อง เมืองลับแล ได้จัดพิธีบวงสรวงเอาฤกษ์เอาชัยพร้อมกับละครอีก 3 เรื่อง 3 แนวคือเรื่องเถ้ากระดังงา ที่เตรียมออกอากาศต่อจากเมืองลับแล, เพลงลำคำเขื่อนแก้ว และแซดพาวเวอร์ ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ[2] อ้างอิง
|