Share to:

 

ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 นัดชิงชนะเลิศ

ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 นัดชิงชนะเลิศ
สนามกีฬา อินเตอร์เนชันแนล โยโกฮามะ ในโยโกฮามะ จะเป็นสนามที่ใช้ในนัดชิงชนะเลิศ
รายการฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016
หลังต่อเวลาพิเศษ
วันที่18 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สนามสนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ, โยโกฮามะ
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
คริสเตียโน โรนัลโด (เรอัลมาดริด)[1]
ผู้ตัดสินจานนี ซิคัซเว (แซมเบีย)[1]
ผู้ชม68,742 คน[2]
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
10 °C (50 °F)
82% ความชื้นสัมพัทธ์[1]
2015
2017

การแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016, เป็นทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เป็นเจ้าภาพโดย ประเทศญี่ปุ่น. ครั้งนี้เป็นนัดชิงชนะเลิศครั้งที่ 12 ของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ทัวร์นาเมนต์ที่มีการจัดขึ้นโดยฟีฟ่าระหว่างสโมสรที่เป็นผู้ชนะจากแต่ละทีมแต่ละสมาพันธ์จากหกทวีป, เช่นเดียวกับแชมป์ลีกจากชาติเจ้าภาพ.

รอบชิงชนะเลิศเป็นการตัดสินกันระหว่าง สโมสรจากสเปน เรอัลมาดริด, เป็นตัวแทนของ ยูฟ่า ในฐานะครองแชมป์ของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และสโมสรจากญี่ปุ่น คาชิมะ แอนต์เลอส์, เป็นตัวแทนของชาติเจ้าภาพ. จะลงเล่นที่ สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ ในเมือง โยโกฮามะ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559.

ภูมิหลัง

คาชิมะ แอนต์เลอส์ กลายเป็นสโมสรแรกในทวีปเอเชียที่ผ่านเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกโดยสามารถเอาชนะทีมชนะเลิศของโกปาลีเบร์ตาโดเรส อัตเลตีโก นาซีอองนาล 3–0.[3] มันเป็นครั้งแรกที่สโมสรจากทวีปเอเชียสามารถเอาชนะทีมจากฝั่งทวีปอเมริกาใต้ได้ในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน, และเป็นครั้งที่สามที่ทีมจากทวีปอเมริกาใต้ไม่ได้ผ่านเข้ารอบสำหรับนัดชิงชนะเลิศ.[4]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ

สเปน เรอัลมาดริด รอบ ญี่ปุ่น คาชิมะ แอนต์เลอส์
ยูฟ่า สมาพันธ์ เอเอฟซี
ชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 ได้สิทธิ์ในฐานะ ชนะเลิศ เจลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016
คู่แข่งขัน ผล ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 คู่แข่งขัน ผล
บาย รอบเพลย์ออฟ นิวซีแลนด์ ออกแลนด์ ซิตี 2–1
รอบก่อนรองชนะเลิศ แอฟริกาใต้ มาเมโลดี ซันดาวน์ส 2–0
เม็กซิโก อเมริกา 2–0 รอบรองชนะเลิศ โคลอมเบีย อัตเลตีโก นาซีอองนาล 3–0

เรอัลมาดริด

เรอัลมาดริด เข้าสู่การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ, เผชิญหน้ากับทีมจากเม็กซิโก และเป็นทีมชนะเลิศ คอนคาแคฟ แชมเปียนส์ ลีก อเมริกา. การีม แบนเซมา เป็นผู้เปิดสกอร์แรกสำหรับเรอัลในครึ่งเวลาแรกช่วงทดเวลาบาดเจ็บ, ทำให้ทีมของพวกเขาเป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อนพัก. คริสเตียโน โรนัลโด เป็นผู้ยิงประตูปิดท้ายด้วยชัยชนะ 2–0 และได้เป้าหมายเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของ โลส บลังโกส กับประตูในครึ่งเวลาหลังช่วงทดเวลาบาดเจ็บ.[5]

คาชิมะ แอนต์เลอส์

คาชิมะ แอนต์เลอส์ เริ่มต้นทัวร์นาเมนต์ในรอบเพลย์ออฟสำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศ, เผชิญหน้ากับทีมจากนิวซีแลนด์ ออกแลนด์ ซิตี, ทีมชนะเลิศของ โอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก. ออกแลนด์ เปิดประตูแรกจากการทำประตูของ คิม แด-วูก ในนาทีที่ 50. สิบเจ็ดนาทีต่อมา, ชุเฮะอิ อะกะซะกิ ตามตีเสมอให้กับทีมเจ้าภาพ. สองนาทีที่เหลืออยู่, มุ คะนะซะกิ เป็นผู้คว้าชัยชนะให้กับทีม, ส่งผลให้ คาชิมะ ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศด้วยผลชนะ 2–1.[6]

ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, เดอะ แอนท์เลอร์ส เผชิญหน้ากับทีมชนะเลิศจาก ซีเอเอฟ แชมเปียนส์ ลีก และทีมแชมป์แอฟริกาใต้ มาเมโลดี ซันดาวน์ส. ยะสุชิ เอ็นโดะ เป็นผู้เปิดสกอร์แรกในนาทีที่ 63 ส่งให้คาชิมะขึ้นนำไปก่อน, ก่อนที่ ชุเฮะอิ อะกะซะกิ จะเป็นผู้ทำประตูอีกหนึ่งลูกกับสองนาทีที่เหลือเพื่อรักษาสกอร์ให้ทีมเอาชนะไปได้ 2–0 และทะลุเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ.[7]

ในรอบรองชนะเลิศ, คาชิมะต้องมาพบกับ ทีมชนะเลิศ โกปา ลีเบร์ตาโดเรส, อัตเลติโก นาซิอองนาล ของ โคลอมเบีย. ในนาทีที่ 33, ผู้ตัดสินจากฮังการี วิคตอร์ คัสไซ ที่ได้มอบรางวัลเป็นประวัติศาสตร์ให้กับคาชิมะจากลูกโทษที่จุดโทษ. นี่เป็นครั้งแรกที่ระบบผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วิดีโอตัดสิน (วีเออาร์) ได้ถูกนำมาใช้ในการมอบลูกโทษในกีฬาฟุตบอล, โดยเป็นการตรวจสอบดูวิดีโอจากภาพช้ามาตัดสินใจโดยคัสไซ. การพิจารณาใหม่ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากคัสไซได้รับข้อมูลมาจากผู้ตัดสินชาวดัตช์ ดันนี มัคเคอไล เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินที่ผิดพลาดในกรอบเขตโทษของอัตเลติโก นาซิอองนาล.[8] โชะมะ โดะอิ ประสบความสำเร็จจากการซัดจุดโทษทำให้ทีมขึ้นนำได้สำเร็จ. ยะสุชิ เอ็นโดะ มาเพิ่มสกอร์หนีห่างให้กับทีมในนาทีที่ 83, ก่อนที่ ยุมะ ซุซุกิ จะทำประตูในอีกสองนาทีถัดมา, ปิดท้ายด้วยชัยชนะ 3–0 ให้กับ คาชิมะ และส่งให้พวกเขาทะลุเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศได้เป็นผลสำเร็จ.[9]

นัด

รายละเอียด

เรอัลมาดริด[10]
คาชิมะ แอนต์เลอส์[10]
GK 1 คอสตาริกา เกย์ลอร์ นาบัส
RB 2 สเปน ดาเนียล การ์บาคัล โดนใบเหลือง ใน 102nd นาที 102'
CB 5 ฝรั่งเศส ราฟาแอล วาราน
CB 4 สเปน เซร์คีโอ ราโมส (กัปตัน) โดนใบเหลือง ใน 55th นาที 55' Substituted off in the 108th นาที 108'
LB 12 บราซิล มาร์เซลู
CM 19 โครเอเชีย ลูคา โมดริช Substituted off in the 106th นาที 106'
CM 14 บราซิล กาเซมีรู โดนใบเหลือง ใน 100th นาที 100'
CM 8 เยอรมนี โทนี โครส
RW 17 สเปน ลูกัส บัซเกซ Substituted off in the 81st นาที 81'
CF 9 ฝรั่งเศส การีม แบนเซมา
LW 7 โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด Substituted off in the 112th นาที 112'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 13 สเปน กีโก กาซียา
GK 25 สเปน รูเบน ยาเญซ
DF 3 โปรตุเกส เปปี
DF 6 สเปน นาโช Substituted on in the 108th minute 108'
DF 15 โปรตุเกส ฟาบีอู กูเองเตรา
DF 23 บราซิล ดานีลู
MF 10 โคลอมเบีย ฮาเมส โรดรีเกซ
MF 16 โครเอเชีย มาเทออ คอวาชิช Substituted on in the 106th minute 106'
MF 20 สเปน มาร์โก อาเซนซิโอ
MF 22 สเปน อิสโก Substituted on in the 81st minute 81'
FW 18 สาธารณรัฐโดมินิกัน มาเรียโน
FW 21 สเปน อัลบาโร โมราตา Substituted on in the 112th minute 112'
ผู้จัดการทีม:
ฝรั่งเศส ซีเนดีน ซีดาน
GK 21 ญี่ปุ่น ฮิโตะชิ โซะกะฮะตะ
RB 22 ญี่ปุ่น ไดโกะ นิชิ
CB 23 ญี่ปุ่น นะโอะมิชิ อูเอะดะ
CB 3 ญี่ปุ่น เกน โชะจิ
LB 16 ญี่ปุ่น ชุโตะ ยะมะโมะโตะ โดนใบเหลือง ใน 58th นาที 58'
RM 25 ญี่ปุ่น ยะสุชิ เอ็นโดะ Substituted off in the 102nd นาที 102'
CM 10 ญี่ปุ่น กะคุ ชิบะซะกิ
CM 40 ญี่ปุ่น มิตซุโอะ โอะกะซะวะระ (กัปตัน) Substituted off in the 67th นาที 67'
LM 6 ญี่ปุ่น เรียวตะ นะกะคิ Substituted off in the 114th นาที 114'
CF 33 ญี่ปุ่น มุ คะนะซะกิ
CF 8 ญี่ปุ่น โชะมะ โดะอิ Substituted off in the 88th นาที 88'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1 ญี่ปุ่น มะซะโตะชิ คุชิบิกิ
GK 29 ญี่ปุ่น ชินิชิโระ คะวะมะตะ
DF 14 เกาหลีใต้ ฮวัง ซ็อก-โฮ
DF 17 บราซิล บูเอโน
DF 24 ญี่ปุ่น ยุคิโตะชิ อิโตะ Substituted on in the 102nd minute 102'
MF 11 บราซิล ฟาบรีซีอู โดนใบเหลือง ใน 93rd นาที 93' Substituted on in the 67th minute 67'
MF 13 ญี่ปุ่น อัตสุตะกะ นะกะมุระ
MF 20 ญี่ปุ่น เคนโตะ มิซะโอะ
MF 32 ญี่ปุ่น ทะโระ สุกิโมะโตะ
MF 35 ญี่ปุ่น ทาอิกิ ฮิระโตะ
FW 18 ญี่ปุ่น ชุเฮะอิ อะกะซะกิ Substituted on in the 114th minute 114'
FW 34 ญี่ปุ่น ยุมะ ซุซุกิ Substituted on in the 88th minute 88'
ผู้จัดการทีม:
ญี่ปุ่น มาซาตาดะ อิชิอิ

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:[1]
คริสเตียโน โรนัลโด (เรอัลมาดริด)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
มาร์วา รันเก (เคนยา)
เจอร์สัน โดส ซานโตส (แองโกลา)
ผู้ตัดสินที่สี่:
วิคตอร์ คัสไซ (ฮังการี)
ผู้ตัดสินที่ห้า:
กียอร์กี ริงก์ (ฮังการี)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ใช้การตัดสินจากวิดีโอ:
ดันนี มัคเคอไล (เนเธอร์แลนด์)
ดาเมียร์ สคอมินา (สโลวีเนีย)
บาการี กัสซามา (แกมเบีย)

ข้อมูลในการแข่งขัน[11]

  • 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเสมอกันในเวลาปกติ
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • รายชื่อผู้เล่นตัวสำรองมีได้สูงสุดถึง 12 คน
  • การเปลี่ยนตัวผู้เล่นมีจำนวนสูงสุดได้ถึง 3 คนในช่วง 90 นาที, แต่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนที่สี่ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ.

สถิติ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Match overview Real Madrid, C.F. - Kashima Antlers". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 16 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Match report – Final – Real Madrid, C.F. v Kashima Antlers" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 18 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ 18 December 2016.
  3. "Atletico Nacional 0 Kashima Antlers 3". BBC Sport. 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "Kashima Antlers beat Atlético Nacional to reach Club World Cup final". Guardian. 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "Real overcome America to reach final". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 15 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-18. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  6. "Kashima Antlers fight back to overcome Auckland". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 8 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  7. "Endo, Mu sink Sundowns". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 11 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  8. "Video review used for penalty decision in FIFA Club World Cup Japan 2016 semi-final". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  9. "Antlers down Atletico Nacional to reach final". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-16. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  10. 10.0 10.1 "Start list Real Madrid, C.F. - Kashima Antlers" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-12. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  11. "Regulations – FIFA Club World Cup Japan 2016" (PDF). FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-11. สืบค้นเมื่อ 2016-12-15.
  12. "Match report, Half-time Real Madrid, C.F. - Kashima Antlers 1:1" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-11. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya