Share to:

 

มาร์เซลู วีเอรา

มาร์เซลู
มาร์เซลูขณะเล่นให้กับเรอัลมาดริดใน ค.ศ. 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม มาร์เซลู วีเยย์รา ดา ซิลวา ฌูนีโยร์[1]
วันเกิด (1988-05-12) 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี)[2]
สถานที่เกิด รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
ส่วนสูง 1.74 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง แบ็กซ้าย
สโมสรเยาวชน
2002–2005 ฟลูมีเนงซี
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2005–2007 ฟลูมีเนงซี 30 (6)
2007–2022 เรอัลมาดริด 386 (26)
2022–2023 โอลิมเบียโกส 5 (0)
2023–2024 ฟลูมีเนงซี 43 (3)
ทีมชาติ
2005 บราซิล อายุไม่เกิน 17 ปี 3 (1)
2007 บราซิล อายุไม่เกิน 20 ปี 4 (0)
2008 บราซิล อายุไม่เกิน 23 ปี 12 (1)
2012 โอลิมปิกบราซิล (O.P.) 6 (0)
2006–2018 บราซิล 58 (6)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22:30, 26 ตุลาคม 2024 (UTC)

มาร์เซลู วีเยย์รา ดา ซิลวา ฌูนีโยร์ (โปรตุเกส: Marcelo Vieira da Silva Júnior; เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1988) หรือรู้จักกันในชื่อ มาร์เซลู เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวบราซิล ปัจจุบันลงเล่นในตำแหน่งแบ็กซ้ายให้กับฟลูมีเนงซีในประเทศบราซิล ซึ่งเขาเป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในเกมรุก เล่ห์เหลี่ยม และคุณภาพในด้านเทคนิค มาร์เซลู มักจะได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในแบ็กซ้ายที่ดีที่สุดตลอดกาล[4] เขาเป็นผู้เล่นที่ชนะเลิศมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเรอัลมาดริด ด้วยจำนวนถ้วย 25 รางวัล[5]

เขาเริ่มต้นอาชีพของเขาในปี ค.ศ. 2005 มาร์เซลู ชนะเลิศกัมเปโอนาโตการิโอ กับฟลูมีเนงซี ในปี ค.ศ. 2006 ในระหว่างนั้นเขามีชื่อให้เป็นหนึ่งในทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลในขณะอายุ 18 ปี โดยเมื่อจบฤดูกาล เขาย้ายร่วมทีมเรอัลมาดริด ด้วยค่าตัว 8 ล้านยูโร[6] เขาลงเล่นอย่างต่อเนื่องของทีมตั้งแต่ฤดูกาลที่สองของเขากับทีม หลังจากนั้เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 5 สมัย และลาลิกา 6 สมัย รวมถึงถ้วยอื่น ๆ อีกมากมาย[5] มาร์เซลู กลายเป็นกัปตันทีมของเรอัลมาดริดนับตั้งแต่เริ่มฤดูกาล 2021–22 ทำให้เขาเป็นกัปตันชาวต่างชาติคนแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904[7] เขายังมีชื่อเป็นส่วนหนึ่งของฟีฟโปรเวิลด์ 11 6 สมัย ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า 3 สมัย และทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของลาลิกา ในปี ค.ศ. 2016 นอกจากนี้เขาเป็นส่วนหนึ่งของ ทีมแห่งทศวรรษ (2010–2019) ของฟรองซ์ฟุตบอล[8]

หลังสามารถเปิดตัวกับทีมชาติบราซิลชุดใหญ่ได้ ในปี ค.ศ. 2006 มาร์เซลู ถูกเรียกติดทีมชาติเพื่อแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งเขาได้รับเหรียญทองแดง สี่ปีหลังจากนั้น เขาเป็นส่วนหนึ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในฐานะหนึ่งในสามผู้เล่นอายุเกิน 23 ปี และช่วยให้ทีมได้รับเหรียญเงิน[9] เขายังได้รับเลือกให้ลงเล่นในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ซึ่งได้ลงเล่นเป็นตัวจริงครบห้านัด ซึ่งบราซิลชนะทีมชาติสเปน 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศ เขายังลงเล่นให้บราซิลในฟุตบอลโลกครั้งแรกของเขาในปี ค.ศ. 2014 ที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งบราซิลจบลำดับที่สี่ เขายังเป็นส่วนหนึ่งของทีมในฝัน ในปี ค.ศ. 2018 เขาเป็นตัวแทนลงเล่นในฟุตบอลโลก 2018 ที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมในฝันของการแข่งขัน[10]

สถิติอาชีพ

สโมสร

ณ วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2023 [11]
มาร์เซลู ขณะดวลกับอิวัน เปริชิช ของโครเอเชีย ระหว่างนัดเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย[a] ระดับทวีป อื่น ๆ รวม
ดิวิชัน ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
ฟลูมีเนงซี 2005 แซรียีอา 12 2 0 0 0 0 0 0 12 2
2006 18 4 0 0 0 0 0 0 18 4
รวม 30 6 0 0 0 0 0 0 30 6
เรอัลมาดริด 2006–07 ลาลิกา 6 0 0 0 0 0 6 0
2007–08 24 0 2 0 6[b] 0 32 0
2008–09 27 4 2 0 5[b] 0 34 4
2009–10 35 4 2 0 6[b] 0 43 4
2010–11 32 3 6 0 12[b] 2 50 5
2011–12 32 3 3 0 7[b] 0 2[c] 0 44 3
2012–13 14 0 1 0 2[b] 1 2[c] 0 19 1
2013–14 28 1 4 0 7[b] 1 39 2
2014–15 34 2 3 1 11[b] 1 5[d] 0 53 4
2015–16 30 2 0 0 11[b] 0 41 2
2016–17 30 2 3 1 11[b] 0 3[e] 0 47 3
2017–18 28 2 0 0 11[b] 3 5[d] 0 44 5
2018–19 23 2 4 0 4[b] 1 3[e] 0 34 3
2019–20 15 1 3 1 4[b] 0 1[c] 0 23 2
2020–21 16 0 1 0 2[b] 0 19 0
2021–22 12 0 2 0 3[b] 0 1[c] 0 18 0
รวม 386 26 36 3 102 9 22 0 546 38
โอลิมเบียโกส 2022–23 ซูเปอร์ลีกกรีซ 5 0 2 3 3[f] 0 10 3
ฟลูมีเนงซี 2023 แซรียีอา 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
รวมทั้งหมด 421 32 38 6 105 9 22 0 586 47

ทีมชาติ

ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2018[12]
บราซิล
ปี ลงเล่น ประตู
2006 1 1
2007 1 0
2008 2 0
2009 2 0
2010 0 0
2011 2 1
2012 8 2
2013 12 0
2014 9 0
2015 5 0
2016 3 0
2017 5 2
2018 8 0
รวม 58 6

ประตูในนามทีมชาติ

ผล และคะแนนของบราซิลจะขึ้นก่อน:
ลำดับ วันที่ สนาม คู่แข่ง คะแนน ผล การแข่งขัน
1 5 กันยายน 2006 ไวต์ฮาร์ตเลน ลอนดอน อังกฤษ ธงชาติเวลส์ เวลส์ 2–0 2–0 กระชับมิตร
2 11 ตุลาคม 2011 เอสตาดิโอโกโรนา ตอร์เรออน เม็กซิโก ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 2–1 2–1 กระชับมิตร
3 28 กุมภาพันธ์ 2012 อาเอฟเกอาเรนา ซังคท์กัลเลิน สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1–0 2–1 กระชับมิตร
4 30 พฤๅภาคม 2012 เฟดเอ็กซ์ฟิลด์ แลนโดเวอร์ สหรัฐ ธงชาติสหรัฐอเมริกา สหรัฐ 3–1 4–1 กระชับมิตร
5 27 มีนาคม 2017 อาเรนาโกริงชังส์ เซาเปาลู บราซิล ธงชาติปารากวัย ปารากวัย 3–0 3–0 ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
6 10 พฤสจิกายน 2017 สนามกีฬาปีแยร์ โมรัว วีลเนิฟว์-ดัสก์ ฝรั่งเศส ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2–0 3–1 กระชับมิตร

อ้างอิง

  1. "FIFA World Cup Russia 2018: List of Players: Brazil" (PDF). FIFA. 15 July 2018. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2019.
  2. "FIFA Club World Cup UAE 2017: List of players: Real Madrid CF" (PDF). FIFA. 30 November 2017. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 December 2017. สืบค้นเมื่อ 23 December 2017.
  3. "Player Profile". Real Madrid C.F Official Web Site. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2021. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.
  4. Venkatesh Mishra (12 October 2017). "Marcelo – Real Madrid's lifeline down the left". sportskeeda.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  5. 5.0 5.1 "Marcelo becomes most decorated player in Real Madrid history after La Liga title triumph | Goal.com". www.goal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  6. "Real Madrid signs defender Marcelo". 15 November 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
  7. "Marcelo becomes Real Madrid's first foreign captain since 1904". marca.com. 17 June 2021. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
  8. Radnedge, Keir. (2016). World football records. Carlton Books. ISBN 978-1-78097-842-0. OCLC 966649228.
  9. "Marcelo Bio, Stats, and Results". Olympics at Sports-Reference.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 31 July 2017.
  10. "World Cup: Neymar named in Brazil's 23-man squad". BBC Sport. 14 May 2018.
  11. ข้อมูลของ มาร์เซลู วีเอรา ที่ ซ็อกเกอร์เวย์
  12. "Marcelo". National Football Teams. Benjamin Strack-Zimmermann. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya