ยูฟ่า ยูโร 2032 Campionato europeo di calcio 2032(ในภาษาอิตาลี) 2032 Avrupa Futbol Şampiyonası(ในภาษาตุรกี) รายละเอียดการแข่งขัน ประเทศเจ้าภาพ อิตาลี ตุรกี วันที่ มิถุนายน–กรกฎาคม ค.ศ. 2032[ 1]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2032 (อังกฤษ : 2032 UEFA European Football Championship ) หรือ UEFA Euro 2032 หรือ Euro 2032 จะเป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 19 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอล ชิงชนะเลิศนานาชาติทุกสี่ปี ที่จัดโดยยูฟ่า สำหรับฟุตบอลชายทีมชาติชุดใหญ่ โดยประเทศอิตาลี และ ตุรกี จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2575[ 2]
การแข่งขันครั้งนี้จะเป็นครั้งที่สี่ที่ประเทศอิตาลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในปี ค.ศ. 1968 และ 1980 รวมทั้งการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ที่โรม โดยจะเป็นครั้งแรกที่การแข่งขันจัดขึ้นที่ประเทศตุรกี
สนามแข่งขัน
เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566 ทั้งสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี และสหพันธ์ฟุตบอลตุรกี ได้เสนอรายชื่อสนาม 10 แห่ง เมื่อทั้งสองเสนอตัวเป็นเจ้าภาพแยกกัน[ 3] [ 4] เนื่องจากการคัดเลือกเจ้าภาพกลายเป็นการเสนอตัวร่วมกัน แต่ละประเทศจะเลือกสนาม 5 แห่งสำหรับการแข่งขันรอบสุดท้ายแทน
มิลาน
โรม
เนเปิลส์
บารี
ฟลอเรนซ์
ซาน ซิโร
สตาดิโอ โอลิมปิโก
สตาดิโอ ดิเอโก้ อาร์มันโด มาราโดน่า
สตาดิโอ ซาน นิโคลา
สตาดิโอ อาร์เตมีโอ ฟรานกี
ความจุ: 75,817
ความจุ: 70,634
ความจุ: 54,726 (กำลังปรับปรุง)
ความจุ: 58,270 (กำลังปรับปรุง)
ความจุ: 43,147 (กำลังปรับปรุง)
ตูริน
เวโรนา
โบโลญญา
เจนัว
กายารี
สนามกีฬายูเวนตุส
สตาดิโอ มาร์คันโตนิโอ เบนเตโกดี้
สตาดิโอ เรนาโต ดัลลารา
สตาดิโอ ลุยจิ เฟอร์รารีส
ยูนิโพล โดมุส
ความจุ: 41,507
ความจุ: 39,371 (กำลังปรับปรุง)
ความจุ: 36,205 (กำลังปรับปรุง)
ความจุ: 38,279 (กำลังปรับปรุง)
ความจุ: 30,000 (สนามใหม่)
อิสตันบูล
บูร์ซา
อังการา
สนามกีฬาโอลิมปิกอตาเติร์ก
อาลี ซามี เยน สปอร์ต คอมเพล็กซ์ (แรมส์ พาร์ค)
สนามกีฬาชุครุ ซาราโกกลู (สนามกีฬาอึลเกอร์)
สนามกีฬาบูร์ซา เมโทรโพลิตัน
สนามกีฬาอังการา 19 มายส์ใหม่
ความจุ: 74,753
ความจุ: 53,611
ความจุ: 50,530
ความจุ: 43,331
ความจุ: 45,000 (สนามใหม่)
คอนยา
แทรบซอน
อันตัลยา
กาเซียนเท็ป
เอสกิซีฮีร์
สนามกีฬาเทศบาลเมืองคอนยา
เชนอล กูเนช สปอร์ต คอมเพล็กซ์ (สนามกีฬาปาปารา)
สนามกีฬาอันตัลยา (สนามกีฬาคอเรนดอนแอร์ไลน์)
สนามกีฬากาเซียนเท็ป
สนามกีฬาเอสกีซีฮีร์ อตาเติร์ก
ความจุ: 42,000
ความจุ: 40,782
ความจุ: 32,537
ความจุ: 33,502
ความจุ: 32,500
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
การแข่งขัน รอบคัดเลือก นัดชิงชนะเลิศ ผู้เล่น คัดเลือกเจ้าภาพ สถิติ สิทธิในการออกอากาศ สถิติรวม เบ็ดเตล็ด