Share to:

 

ภูเขาไฟรูปโล่

ภูเขาไฟเมานาโลอา ภูเขาไฟรูปโล่ในเกาะฮาวาย

ภูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลาวาแข็งตัวเป็นหลัก ไม่มีเถ้าที่พ่นจากปากปล่องภูเขาไฟประกอบด้วยหรือหากมีก็ไม่มาก ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้มีความสูงไม่มากนักแลดูเหมือนโล่นักรบเมื่อมองจากด้านบน[1][2][3] ภูเขาไฟรูปโล่พบได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเวซูวีโย ภูเขาไฟเมานาเคอา นอกจากนี้ยังพบได้บนดาวเคราะห์หิน หรือดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเก็บแมกมาไว้ภายใน เช่นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ[4]

ภูเขาไฟรูปโล่ต่างจาก ภูเขาไฟเชิงประกอบตรงที่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีเถ้าถ่านทับถมสลับกับลาวาเย็นตัว ทำให้่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีความสูงมากกว่าภูเขาไฟรูปโล่

คุณลักษณะ

แผนผังภูเขาไฟรูปโล่ (key: 1. Ash plume 2. Lava fountain 3. Crater 4. Lava lake 5. Fumaroles 6. Lava flow 7. Layers of lava and ash 8. Stratum 9. Sill 10. Magma conduit 11. Magma chamber 12. Dike) Click for larger version.

ภูเขาไฟรูปโล่เกิดจากการไหลของลาวาที่ไม่หนืด เมื่อลาวาเย็นตัวลงก็จะแข็งตัวกลายเป็นชั้นทับถมขึ้นเป็นรูปทรงภูเขาเตี้ย ๆ มีมุมชันไม่มากคือไม่เกิน 10 องศา ความสูงมักอยู่ในช่วงประมาณ 1/20 ของความกว้าง[3] ในระยะแรกเมื่อก่อตัวจะเห็นเป็นลานลาวา (lava plateau) ต่างจากภูเขาไฟเชิงประกอบที่มีลักษณะเป็นการทับถมของเถ้าและลาวาสลับชั้น และต่างจากภูเขาไฟกรวยกรวดที่ประกอบด้วยเถ้าเป็นหลัก[2][3] ภูเขาไฟรูปโล่มักจะปะทุต่อเนื่องตลอดเวลาแทนการปะทุเป็นครั้งคราวอย่างภูเขาไฟเชิงประกอบ[5] ภูเขาไฟรูปโล่ใต้เมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ภูเขาไฟเมานาโลอาซึ่งสูง 4,169 m (13,678 ft) จากระดับน้ำทะเล และกว้าง 60 mi (100 km) ประมาณกันว่ามีปริมาตรหินบะซอลต์ที่ประกอบเป็นภูเขาไฟทั้งสิ้น 80,000 km3 (19,000 cu mi)[6][3] ฐานรากของภูเขาไฟจมตัวอยู่ใต้เปลือกโลกลึกประมาณ 8 km (5 mi)[7]

ภูเขาไฟรูปโล่ส่วนมากที่มีการศึกษามักอยู่ที่หมู่เกาะฮาวาย[8] เพราะเข้าถึงง่าย และภูเขาไฟปะทุตลอดเวลา มีภูเขาไฟคิเลาเอียปะทุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นแหล่งศึกษาหนึ่ง ลักษณะการปะทุและการปล่อยลาวาที่ไม่รุนแรงและเชื่องช้า กินเวลานานนี้เอง แม้ว่าจะมีการพ่นเถ้าถ่านบ้าง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกก่ารปะทุของภูเขาไฟนี้ว่า การปะทุฮาวาย (Hawaiian eruption)[9] การปะทุฮาวายเมื่อเกิดหลายครั้ง ก็จะเกิดเป็นชั้นลาวาแข็งบาง ๆ ทับถมกันจนเกิดเป็นภูเขาซึ่งมักมีแอ่งลาวาตรงกลาง[10] ภูเขาที่ว่านี้ไม่สูงนักเพราะการไหลแผ่กว้างของลาวา[6]

ภูเขาไฟรูปโล่นอกโลก

นอกเหนือจากบนโลกแล้ว ภูเขาไฟรูปโล่ยังพบได้บนดาวเคราะห์หินอื่นตลอดจนดาวบริวารที่เป็นกิน อาทิ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ[4]

ดาวอังคารมีความเร่งโน้มถ่วงน้อยกว่าโลก คืออยู่ที่ 3.711 m/s² ซึ่งน้อยกว่าของโลกที่ 9.806 m/s² ทำให้ดาวอังคารมีภูเขาไฟที่งอกสูงกว่าโลก โดยมีความสูงได้ถึง 14 mi (23 km) และกว้างได้ถึง 370 mi (595 km) เทียบกับภูเขาไฟเมานาเคอาซึ่งกว้าง 74 mi (119 km)และสูง 6 mi (10 km)[11][12][13] บนดาวอังคารมีภูเขาไฟรูปโล่ที่สูงที่สุดคือ ภูเขาไฟโอลิมปัสมอนส์

ดาวศุกร์มีความเร่งโน้มถ่วงพอ ๆ กับโลก คือ 8.87 m/s² ทำให้ปรากฏภูเขาไฟรูปโล่จำนวนมากคล้ายกับโลก นับได้มากกว่า 150 ลูก ลักษณะแบนราบกว่าบนโลก ภูเขาไฟบางลูกมีขนาดกว้างได้ถึง 700 km (430 mi)[14]

อ้างอิง

  1. Douglas Harper (2010). "Shield". Online Etymology Dictionary. Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
  2. 2.0 2.1 John Watson (1 March 2011). "Principal Types of Volcanoes". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "How Volcanoes Work: Shield Volcanoes". San Diego State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
  4. 4.0 4.1 Heather Couper & Nigel Henbest (1999). Space Encyclopedia. Dorling Kindersley. ISBN 0-7894-4708-8.
  5. "Shield Volcanoes". University of North Dakota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  6. 6.0 6.1 Topinka, Lyn (28 December 2005). "Description: Shield Volcano". USGS. สืบค้นเมื่อ 21 August 2010.
  7. J.G. Moore (1987). Subsidence of the Hawaiian Ridge. Volcanism in Hawaii: Geological Survey Professional Paper, Volume 1350, Issue 1.
  8. Marco Bagnardia; Falk Amelunga; Michael P. Poland (September 2013). "A new model for the growth of basaltic shields based on deformation of Fernandina volcano, Galápagos Islands". Earth and Planetary Science Letters. Elsevier. 377–378: 358–366. Bibcode:2013E&PSL.377..358B. doi:10.1016/j.epsl.2013.07.016.
  9. Regelous, M.; Hofmann, A. W.; Abouchami, W.; Galer, S. J. G. (2003). "Geochemistry of Lavas from the Emperor Seamounts, and the Geochemical Evolution of Hawaiian Magmatism from 85 to 42 Ma". Journal of Petrology. Oxford University Press. 44 (1): 113–140. doi:10.1093/petrology/44.1.113.
  10. "How Volcanoes Work: Hawaiian Eruptions". San Diego State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-03-03. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  11. Watson, John (February 5, 1997). "Extraterrestrial Volcanism". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
  12. Masursky, H.; Masursky, Harold; Saunders, R. S. (1973). "An Overview of Geological Results from Mariner 9". Journal of Geophysical Research. 78 (20): 4009–4030. Bibcode:1973JGR....78.4031C. doi:10.1029/JB078i020p04031.
  13. Carr, M.H., 2006, The Surface of Mars, Cambridge, 307 p.
  14. "Large Shield Volcanoes". Oregon State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
Kembali kehalaman sebelumnya