มานพ อัศวเทพ
มานพ อัศวเทพ มีชื่อจริงคือ เรือโท วิริยะ จุลมกร ร.น. ชื่อเล่น พี่ยะ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566)[1] เป็นนักแสดง และทหารเรือชาวไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนจ่าทหารเรือที่สัตหีบ เคยทำงานอยู่ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นพลขับประจำตัวจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับยศพันจ่าเอก ประวัติมานพเข้าสู่วงการโดยบังเอิญในปี พ.ศ. 2505 ด้วยการพบกับ สนาน คราประยูร เจ้าของนครพิงค์ภาพยนตร์ ที่ร้านตัดผม โดยใช้ชื่อในวงการบันเทิงว่า นาวิน เทพโยธี ก่อนที่จะมีผลงานทางจอเงินครั้งแรกในปี พ.ศ. 2506 เรื่อง นางสมิงพราย ประกบกับ มิตร ชัยบัญชา และ ตรึงใจ วลัยลักษณ์ ต่อมาจึงได้รับบทเป็นพระเอกเต็มตัวเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2507 คือ พิชิตทรชน คู่กับ อมรา อัศวนนท์ ต่อด้วย เพชรน้ำผึ้ง (2508), สุดแผ่นดิน (2510), หลั่งเลือดแดนสิงห์ (2512) ประกบกับ สมบัติ เมทะนี และ เพชรา เชาวราษฎร์ ขณะนั้นรับงานแสดงได้ไม่เต็มที่เพราะยังรับราชการเป็นทหารเรือไปด้วย จนกระทั่งหม่อมปริม ยุคล ณ อยุธยา (บุนนาค) ซึ่งเป็นหม่อมของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้ติดต่อให้เป็นพระเอกภาพยนตร์ของของอัศวินภาพยนตร์เรื่อง ละครเร่ คู่กับ สุทิศา พัฒนุช ร่วมด้วยดาราใหม่ในสมัยนั้น คือ สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จารุวรรณ ปัญโญภาส และ กนกวรรณ ด่านอุดม ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลชมเชยกำกับศิลป์ จากงานมหกรรมภาพยนตร์เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 15 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ในปีเดียวกัน จากนั้นเขาได้เปลี่ยนชื่อในวงการเป็น มานพ อัศวเทพ ต่อมาจึงมีผลงานตามมาอย่างต่อเนื่องทั้งบทพระรองและตัวร้าย จนได้รับรางวัลตุ๊กตาทองนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง เงาราหู ที่กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 [2] ชีวิตส่วนตัว เรือโท วิริยะ จุลมกร ร.น. หรือ มานพ อัศวเทพ สมรสกับสุนันท์ จุลมกร (กุ้ง) มีบุตรและบุตรีทั้งหมด 3 คน เคยเป็นเจ้าของร้านอาหารชื่อ ปูทอง [3] เสียชีวิตมานพ อัศวเทพ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่โรงพยาบาลทหารเรือ (สมเด็จพระปิ่นเกล้า) สิริอายุ 86 ปี ด้วยโรคนิ่วอักเสบ ระหว่างผ่าตัดมีการเสียเลือดมาก (สาเหตุการตาย ตับวาย) ประกอบกับอายุมาก ซึ่งลูกสาวของมานพได้ให้ข้อมูลเอาไว้ ซึ่งการสวดพระอภิธรรมศพ "มานพ อัศวเทพ" จะเริ่มเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ณ ศาลา 2 วัดเจ้าอาม ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และเริ่มพิธีฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ณ เมรุวัดเจ้าอาม ผลงานภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์
มิวสิกวีดีโอ
อ้างอิง
|