ดร.สมบัติ เมทะนี (26 มิถุนายน พ.ศ. 2480 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565) ชื่อเล่น แอ๊ด เป็นนักแสดงชาย นักร้อง ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ชนะเลิศรางวัลตุ๊กตาทองและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ กินเนสบุ๊คยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงชายที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์มากที่สุดในโลก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2530 หลังจากทำการแสดงเรื่อง "คู่สร้างคู่สม" ซึ่งเป็นเรื่องที่ 600[1] โดยทั้งหมดทำการแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง[2]
ประวัติ
สมบัติ เมทะนี เป็นบุตรของนายเสนอ กับนางบุญมี เมทะนี เกิดที่ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของแม่ แต่เมื่ออายุได้เพียง 7 วัน ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่แยกสะพานอ่อน ในอำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ตามคุณพ่อซึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ[3]
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงทำงานครั้งแรกที่บริษัทเอส ซี จี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทน แต่เมื่อฐานะการเงินของบริษัทไม่ดี จึงลาออกมาเพื่อหางานอื่นทำ ระหว่างนี้จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายและเข้าเกณฑ์ทหาร 6 เดือน พ้นเกณฑ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 จึงออกหางานทำ โดยตั้งใจว่าจะรับราชการ ระหว่างที่เดินหางานอยู่นั้น ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ เมื่อเป็นที่ถูกตาของแมวมองแถวโรงภาพยนตร์คิงส์-ควีนส์ ย่านวังบูรพา เพราะมีรูปร่างสูงใหญ่ โดยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ทันทีทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนางเอกภาพยนตร์ชื่อดังก่อนแล้ว โดยมีสุพรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงรุ่นพี่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแสดง[3]
ในส่วนชีวิตครอบครัวของ สมบัติ เมทะนี สมรสกับ กาญจนา เมทะนี (ตุ๊) เมื่อปี พ.ศ. 2502[4] มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นบุตรชาย 5 คน ธิดา 1 คน คือ ผศ.ดร. สุรินทร์ เมทะนี (เบิร์ด), สิรคุปต์ เมทะนี (อั๋น), เกียรติศักดิ์ เมทะนี (อั้ม), ศตวรรษ เมทะนี (เอ้), พรรษวุฒิ เมทะนี (อุ้ม) และ สุดหทัย เมทะนี (เอ๋ย)
ซึ่งสมบัติกับกาญจนา ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้าน โดยทั้งคู่อาศัยอยู่บ้านพักรถไฟด้วยกัน และสมรสกันก่อนที่สมบัติจะเข้าสู่วงการบันเทิงเสียอีก[5][3]
ต่อมาสมบัติ เมทะนีได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ และระดับปริญญาโท-เอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[6]
นอกจากนี้แล้ว สมบัติ เมทะนี ยังเป็นนักแสดงที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่า เป็นผู้ที่นิยมเล่นเพาะกาย โดยเล่นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เนื่องจากมีพ่อเป็นนักกีฬา ชอบเล่นกีฬาหลายประเภททั้ง รักบี้, ฟุตบอล, มวย[3]
ก่อนเสียชีวิต สมบัติ เมทะนี ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี เนื่องจากเป็นผู้ที่รักษาสุขภาพด้วยการเล่นกีฬา ออกกำลังกายอยู่เสมอ เพียงแต่มีปัญหาด้านสายตา ซึ่งไม่สามารถที่มองเห็นในเวลากลางคืน และแพ้แสงจ้า จึงทำให้ไม่สามารถที่จะขับรถด้วยตนเองมาได้นานกว่า 30 ปีแล้ว[3]
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สมบัติ เมทะนี เสียชีวิตลงอย่างสงบที่บ้านพักซอยลาดพร้าว 71 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 85 ปี[7][8] ในเย็นวันเดียวกันมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน[9] และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ 2 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม ปีเดียวกัน[10]
วงการบันเทิง
เริ่มเข้าวงการบันเทิง จากการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจปรารถนา เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช หลังจากแสดงละครโทรทัศน์อยู่ 4 เรื่องจึงหันไปแสดงภาพยนตร์ เรื่องแรก รุ้งเพชร คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พ.ศ. 2504
ผลงานแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม. พากย์สด ถึง ยุคภาพยนตร์สโคป 35 มม.เสียงพากย์ในฟิล์มและซาวด์ออนฟิล์ม(บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ) เช่น เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, ศึกบางระจัน, จุฬาตรีคูณ, เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง, กลัวเมีย, ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ
เคยกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ลูกสาวกำนัน, แม่แตงร่มใบ และ น.ส.ลูกหว้า
เคยปรากฏตัวพิเศษเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์ชุดทางทีวีครั้งแรกครั้งเดียว ใน ผู้หญิงก็มีหัวใจ นำแสดงโดย สุมาลี ทองหล่อ, ฉันทนา ติณสูลานนท์, สุระ นานา ผลงานของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล พร้อมมิตรภาพยนตร์ ช่อง 7 สี พ.ศ. 2511
ในช่วงที่ได้รับความนิยมถึงขีดสุด เคยรับงานแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง[3]
เป็นนักร้อง มีผลงานอัดแผ่นเสียงอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ จุฬาตรีคูณ, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ วิวาห์พาฝัน เป็นต้น
เป็นพรีเซนเตอร์ เครื่องเล่นVCDวีซีดี, ดีวีดี/วีดิทัศน์ และ โฮมเธียร์เตอร์ สัญชาติไทยยี่ห้อ เอเจ (AJ)[11]
และเคยเป็นพิธีกรช่วงสั้น ๆ ทางรายการ วิก 07 ทางช่อง 7 เมื่อ พ.ศ. 2533[12]
งานการเมือง
ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 6 จากที่ต้องการ 18 คนด้วยคะแนน 53,526 เสียง แต่ก่อนที่จะได้เข้าตำแหน่งก็มีการทำรัฐประหารก่อน ต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนฝ่าย สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน
ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาราช โดยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 สังกัดพรรคประชาราช ลำดับที่ 1[13] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[14][15] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102[16] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
นอกจากนี้เขายังเคยขึ้นเวทีร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[17]
ผลงานทางภาพยนตร์
ผลงานกำกับภาพยนตร์
ผลงานทางโทรทัศน์
พรีเซ็นเตอร์
- น้ำมันพืชทิพ
- เบียร์ลีโอ
- ยาแก้ท้องอืด แอร์เอ็กซ์
- เครื่องเล่นแผ่นซีดี เอเจ และ เครื่องโทรศัพท์มือถือ เอเจ โมบายโฟน
- ซอสหอยนางรม ตรา แม่ครัว
- บรีสเอกเซล
- ครีมสารสกัดเมล็ดลำไย ลองกานอยด์
- AIS 3G 2100 ชุด James & The Gang แสดงร่วมกับ จิรายุ ตั้งศรีสุข, ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล, สุจิรา อรุณพิพัฒน์, สมรักษ์ คำสิงห์, กันต์ ชุณหวัตร, สมเจต พยัฆโส (จิ้งจก เชิญยิ้ม)
ละครโทรทัศน์
ผลงานด้านการร้องเพลง
ชื่อเพลง
|
ภาพยนตร์
|
คำร้อง
|
ทำนอง
|
12 ชาติ รับประทาน
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
กระซิบรัก (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
แม่ปิง (2513)
|
เกษม ชื่นประดิษฐ์
|
สมาน กาญจะผลิน
|
กลิ่นจำปา
|
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)
|
|
|
กำแพงแสน (คู่ภาวนา ชนะจิต)
|
กำแพงแสน (2513)
|
ไพบูลย์ บุตรขัน
|
ไพบูลย์ บุตรขัน
|
กินรีเล่นน้ำ
|
|
|
|
กีฬาพระราชา
|
|
|
|
กุสุมายอดรัก
|
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ไสล ไกรเลิศ
|
กุสุมาวอนสวาท (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ไสล ไกรเลิศ
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (คู่รุจน์ รณภพ)
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
เกิดมาพึ่งกัน
|
|
|
|
ไก่ฟ้า
|
|
|
|
ขโมยจูบ (คู่ประนอม)
|
|
|
|
ขับเกวียน (คู่ขุนแผน+ถนอม)
|
จอมบึง (2513)
|
|
|
คนโต
|
|
|
|
ความรัก (คู่ลินจง บุญนากรินทร์)
|
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
ความสุขอยู่ที่ไหน (คู่เบญจมินทร์)
|
เมืองแม่หม้าย (2512)
|
เบญจมินทร์
|
เบญจมินทร์
|
คะนึงรัก
|
หนึ่งนุช (2514)
|
|
|
คู่รักคู่ขวัญ (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
|
|
|
เคยา (คู่ผ่องศรี วรนุช)
|
|
|
|
ง้องอน
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
งามงอน
|
งามงอน (2506)
|
|
|
จากเลงกาโบดิสโก้
|
|
|
|
จากวัด
|
|
|
|
จ้าวไม่มีศาล
|
จุฬาตรีคูณ (2510)
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
เอื้อ สุนทรสนาน
|
จูบเย้ยจันทร์ (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
เจ้าหญิง
|
เจ้าหญิง (2512)
|
|
|
ใจหาย
|
สื่อกามเทพ (2515)
|
|
|
ฉอเลาะรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
ฉันไม่ง้อ
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
โฉมตรูภูธร
|
โฉมตรูภูธร (2514)
|
|
|
ชะตาฟ้า (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
ชายพเนจร
|
ฝนใต้ (2513)
|
|
|
ชาวดง
|
สวรรค์บ้านนา (2513)
|
วิมล จงวิไล
|
วิมล จงวิไล
|
ชีวิตนี้เป็นของใคร
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
ชีวิตใหม่
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
ชื่นชีวิต (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
|
|
|
ดำนา (คู่จีราภา ปัญจศิลป์)
|
ส้มตำ (2516)
|
|
|
ตระแหน่รัก
|
ชาติทองแดง (2513)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
ต้องคิด
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
ต้อนรับแม่เพรียว
|
ไอ้ทุย (2514)
|
|
|
ตาลเดี่ยว (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
ตาลเดี่ยว (2512)
|
|
|
แต่เพียงได้พบ
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
ใต้ร่มมลุลี (คู่สวลี ผกาพันธุ์)
|
จุฬาตรีคูณ (2510)
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
เอื้อ สุนทรสนาน
|
ถนอมรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
ท้ามฤตยู
|
ท้ามฤตยู (2519)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
ประสิทธิ์ พยอมยงค์
|
ท่ารัก-ท่าจีน (คู่นงลักษณ์ โรจนพรรณ)
|
ท่าจีน (2513)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
ทาสนาง
|
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)
|
|
|
เธออยู่ไหน (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
เธออยู่ไหนเมื่อไฟดับ (คู่จินตนา สุขสถิตย์)
|
สื่อกามเทพ (2515)
|
|
|
นกเขาคูรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
นางพญาในดวงใจ (คู่สุวณีย์ เนื่องนิยม)
|
นางพญา (2512)
|
ธาตรี
|
เวส สุนทรจามร
|
น้ำใจรัก (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
ในสวนรัก (2514)
|
พรานบูรพ์
|
พรานบูรพ์
|
น้ำตาลไม่หวาน
|
น้ำตาลไม่หวาน (2507)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
ปรีชา เมตไตรย์
|
เนงบาผู้ปราชัย
|
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ไสล ไกรเลิศ
|
บ้าเพชร
|
|
|
|
บุเรงนองเฉลยรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
บุเรงนองลั่นกลองรบ
|
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ไสล ไกรเลิศ
|
เป็นไปแล้ว (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
ผมอาจรักคนตั้งร้อย (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
|
สง่า อารัมภีร
|
ผู้ชนะสิบทิศ
|
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ไสล ไกรเลิศ
|
ผู้หญิงเก่ง
|
คนเหนือคน (2510)
|
สุรพล โทณวณิก
|
สุรพล โทณวณิก
|
ผู้หญิงจอมยุ่ง
|
จันทร์เพ็ญ (2515)
|
|
|
ฝนใต้ (คู่จินตนา สุขสถิตย์)
|
ฝนใต้ (2513)
|
สง่า อารัมภีร
|
สง่า อารัมภีร
|
ฝนเหนือ
|
ฝนเหนือ (2513)
|
|
|
พนาสวาท (คู่ลัดดา ศรีวรนันท์)
|
|
|
|
พ่อแง่แม่งอน (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
พันดง
|
พันดง (2511)
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
มนต์รักชาวไร่
|
มนต์รักชาวไร่ (2514)
|
|
|
มั่นใจรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
มาร์ชส้มตำ (คู่จีราภา ปัญจศิลป์)
|
ส้มตำ (2516)
|
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
|
|
เมารัก
|
จอมเจ้าชู้ (2514)
|
|
|
แม่ดอกอัญขัญ
|
เพลงรักบ้านนา (2522)
|
|
|
แม้เพียงหนึ่งนาที (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
ไม่ง้อ
|
|
|
|
ไม่ต้องมาพูดกัน
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
ไม่มีคำตอบจากสวรรค์
|
ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
ไม่รักไม่รู้ (คู่บุษยา รังสี)
|
อกธรณี (2511)
|
|
|
ยิ้มที่ไร้วิญญาณ
|
เมืองแม่หม้าย (2512)
|
|
|
เย้ยฟ้าท้าดิน
|
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)
|
ชาลี +สัมพันธ์ อุมากุล
|
มงคล อมาตยกุล
|
รอรัก
|
เจ้าลอย (2515)
|
|
|
ระแวงรัก (คู่จินตนา สุขสถิตย์)
|
|
|
|
รัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
รักของชาย
|
จอมบึง (2513)
|
นคร มงคลายน
|
นคร มงคลายน
|
รักข้ามขอบฟ้า (คู่ดี เสวต)
|
รักข้ามขอบฟ้า (2514)
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
สง่า อารัมภีร
|
รักข้ามขอบฟ้า (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
รักข้ามขอบฟ้า (2514)
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
สง่า อารัมภีร
|
รักจันทร์ (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
รักจ๋ารัก
|
รักจ๋ารัก (2514)
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
สมโภชน์ ล้ำพงษ์
|
รักชั่วฟ้า (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
รักชั่วฟ้า (2513)
|
เกษม ชื่นประดิษฐ์
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
รักเธอเสมอ (คู่สวลี ผกาพันธุ์)
|
รักนิรันดร์ (2513)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
ประสิทธิ์ พยอมยงค์
|
รักน้องนางเดียว
|
รักนิรันดร์ (2513)
|
สอ สุวรรณทัต
|
สอ สุวรรณทัต
|
รักบัวบาน
|
วังบัวบาน (2515)
|
สนิท ศ.
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
รักไม่ลืม
|
หวานใจ (2513)
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
รักหมดหัวใจ (คู่นงลักษณ์ โรจนพรรณ)
|
เจ้าลอย (2515)
|
|
|
รุ้งเพชร
|
รุ้งเพชร (2504)
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
สมศักดิ์ เทพานนท์
|
เรารักกันยิ่งกว่าใครในโลกรักกัน (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
เมืองแม่หม้าย (2512)
|
|
|
เรือมนุษย์ (คู่บุษยา รังสี)
|
เรือมนุษย์ (2513)
|
สุรัฐ พุกกะเวส
|
เอื้อ สุนทรสนาน
|
ลอยคอ
|
ในสวนรัก (2514)
|
พรานบูรพ์
|
พรานบูรพ์
|
ลำหับ
|
พญาโศก (2512)
|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
พญาโศก
|
ลูกตาล
|
ตาลเดี่ยว (2512)
|
|
|
ลูกทุ่งเข้ากรุง
|
ลูกทุ่งเข้ากรุง (2513)
|
|
|
เลิกสุรา
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
วัยหนุ่มกลุ้มรัก
|
|
|
|
วิมานแก้ว (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
กระท่อมปรีดา (2515)
|
อ.กวี สัตโกวิท
|
สง่า อารัมภีร
|
เศร้าไปใย (ชาตรี ศรีชล+สมัย อ่อนวงศ์)
|
|
|
|
ส.ค.ส.กลองยาว
|
|
|
|
สกาวเดือน
|
สกาวเดือน (2505)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
สมบัติมาแล้ว
|
|
|
|
สลักจิต
|
สลักจิต (2522)
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
สมศักดิ์ เทพานนท์
|
สวนตาล (ร้องนำหมู่)
|
|
|
|
สัญญารัก (คู่ผ่องศรี วรนุช)
|
ลมรักทะเลใต้ (2514)
|
ปัญญา ชลารักษ์
|
ปัญญา ชลารักษ์
|
สัญญารัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
สัญญารักในดงดอกคำใต้ (คู่จินตนา สุขสถิตย์)
|
มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
|
|
|
สันกำแพง (คู่รสสุคนธ์ สุรนิคม)
|
สันกำแพง (2511)
|
ธาตรี
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
สาบานรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
สามัคคีชุมนุม (นำหมู่)
|
|
|
|
สายใจ
|
สายใจ (2512)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
นารถ ถาวรบุตร
|
สายสวาท (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
ดิน น้ำ ลม ไฟ (2512)
|
|
|
สายไหม (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
สันกำแพง (2511)
|
ธาตรี
|
ธนิต ผลประเสริฐ
|
สาว 15
|
|
|
|
สาวรอแอ่ว (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
สันกำแพง (2511)
|
ธาตรี
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
สาวล่องโขง
|
หวานใจ (2513)
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
พื้นเมือง
|
สิงห์สั่งป่า
|
สิงห์สั่งป่า (2521)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
พิบูลย์ ทองธัช
|
สื่อรักจากสวรรค์
|
วิวาห์พาฝัน (2514)
|
|
|
สุดแผ่นดิน
|
สุดแผ่นดิน (2510)
|
สุธรรม คุ้มประวิทย์
|
|
เสมอแข
|
รัศมีแข (2508)
|
ชาลี อินทรวิจิตร
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
แสนอาลัย
|
กลัวเมีย (2514)
|
จำรัส รวยนิรันดร์
|
นารถ ถาวรบุตร
|
หนึ่งในรัก
|
ทุ่งมหาราช (2513)
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
กวีวรรษ สัตโกวิท
|
หมู่เฮาชาวแม่ปิง (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
แม่ปิง (2513)
|
เกษม ชื่นประดิษฐ์
|
สมาน กาญจนะผลิน
|
หัวใจกับดวงจันทร์
|
ในสวนรัก (2514)
|
|
|
เห็นใจแล้ว (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
ในสวนรัก (2514)
|
พรานบูรพ์
|
นารถ ถาวรบุตร
|
แหวนก้อย (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
ในสวนรัก (2514)
|
|
|
ไหมมงคล (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
สันกำแพง (2511)
|
ธาตรี
|
ธนิต ผลประเสริฐ
|
อเทตยาเพ้อรัก (คู่ดาวใจ ไพจิตร)
|
|
|
|
อนุสรณ์จอมบึง (คู่อรัญญา นามวงศ์)
|
จอมบึง (2513)
|
|
|
อรุณทอง (นำหมู่)
|
ตาลเดี่ยว (2512)
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
แก้ว อัจฉริยะกุล
|
อ้ายคนจน
|
|
|
|
อีสาวบ้านไร่
|
อีสาวบ้านไร่ (2513)
|
พยงค์ มุกดา
|
พยงค์ มุกดา
|
เอากับมัน (คู่รุจน์ รณภพ)
|
เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
|
สง่า อารัมภีร
|
ไอ้ทุย
|
ไอ้ทุย (2514)
|
|
|
คอนเสิร์ต
- คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก..ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (17 กุมภาพันธ์ 2545)
- คอนเสิร์ต เพลงคู่..ครูสมาน (7 กรกฎาคม 2545)
- คอนเสิร์ต พระเอ๊ก..พระเอก (15 พฤษภาคม 2547)
- คอนเสิร์ต เพลงหวานกลางกรุง (27-28 ตุลาคม 2550)
- คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก...ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (5 เมษายน 2552)
- คอนเสิร์ต ที่นี่..มี..ดาวประดับใจ (26 กรกฎาคม 2552)
- คอนเสิร์ต คนรัก กำธร สุวรรณปิยะศิริ (6 กรกฏาคม 2557)
- คอนเสิร์ต บี พงษ์พันธ์ วันแมนโชว์ (24-25 ตุลาคม 2558)
- คอนเสิร์ต 84 ปี ปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ (4 ตุลาคม 2563)
- คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (14 มีนาคม 2564)
มิวสิควิดีโอ
รางวัลที่ได้รับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ William Warren (28 กุมภาพันธ์ 2010). Nicholas Grossman (บ.ก.). Screen star Sombat makes 600th film. Chronicle of Thailand: Headline News Since 1946. Didier Millet,Csi. p. 278. ISBN 978-9-814-21712-5.
- ↑ เปิดประวัติ "สมบัติ เมทะนี" กับบทบาทพระเอกมากที่สุดในโลก กว่า 617 เรื่อง (มีคลิป). TNN online. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 บทสัมภาษณ์จากรายการ 9 ซีรีส์ ทางช่อง 9: เสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2556.
- ↑ "สมบัติ-กาญจนา ครองรัก&เรือน แบบพอเพียง". สยามดารา. กันยายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2013.
- ↑ "สมบัติ เมทะนี". ไทยรัฐ. 6 กรกฎาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
- ↑ "นักการเมืองปริญญาเอก?!!". ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์. 31 ตุลาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2012.
- ↑ "ช็อก! "สมบัติ เมทะนี" พระเอกตลอดกาล เสียชีวิตแล้ว". mgronline.com. 18 สิงหาคม 2022.
- ↑ สุดเศร้าอาลัย สมบัติ เมทะนี พระเอกดังตลอดกาล เสียชีวิตแล้ว. ข่าวสดออนไลน์. สืบค้น 18 สิงหาคม 2565.
- ↑ "พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ 'สมบัติ เมทะนี' ตั้งสวด 7 วัน วัดพระศรีมหาธาตุฯ". มติชน. 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "พระราชทานเพลิง "สมบัติ เมทะนี" ศิลปินแห่งชาติ ส่งดาวคืนสู่ฟ้า". พีพีทีวี. 2022-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ เพลินพิศ ศรีบุรินทร์ (พฤศจิกายน 2005). "Brand Ambassador". Positioning Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006.
- ↑ "ประวัติเจเอสแอล". jslglobalmedia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรคประชาราช). เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๙๓ ก. หน้า ๖๓. 18 ธันวาคม 2550.
- ↑ "ดารา-เสื้อแดงแห่ลงสมัครส.ส.พท". มติชน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ "พท.เปิดตัว"สมบัติ เมทะนี"เป็นสมาชิกใหม่ โว!!คนดังจ่อคิวอีกเพียบ". ผู้จัดการออนไลน์. 15 ตุลาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2012.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย). เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔๙ ก. หน้า ๕. 15 มิถุนายน 2554.
- ↑ เปิดตำนาน พระเอกตลอดกาล ‘สมบัติ เมทะนี’ กินเนสส์บุ๊ก ต้องจารึกชื่อ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
บรรณานุกรม
- ท่านขุน บุญราศรี. "สมบัติ เมทะนี ดาวในดวงใจ". โกเมนเอก. 2549. ISBN 974-93604-0-0.
- หนึ่งเดียว, วิศิษฐ์ พันธุมกุล (บรรณาธิการ). "พิพิธภัณฑ์หนังไทยฉบับประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". Popcorn (popcornmag.com). 2549. ISBN 974-94228-8-0.
- เมืองไทย ภัทรถาวงศ์. "อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ ดร. สมบัติ เมทะนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2559". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. 2565.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ดนตรี | ดนตรีไทย | |
---|
ดนตรีสากล | |
---|
เพลงและดนตรีพื้นบ้าน | |
---|
เพลงไทยสากล | |
---|
เพลงไทยลูกทุ่ง | |
---|
คีตศิลป์ | |
---|
|
---|
นาฎศิลป์ | |
---|
การแสดงพื้นบ้าน | |
---|
ภาพยนตร์ และละคร | |
---|
|
|
---|
2500–2525 | |
---|
2525–2550 | |
---|
2551-2575 | |
---|
|
---|
2500–2525 | |
---|
2525–2550 | |
---|
2551-2557 | |
---|
|
---|
2533–2540 | |
---|
2541–2551 | |
---|
2551–2562 | |
---|
2563–2573 | |
---|