Share to:

 

มานะ คงวุฒิปัญญา

มานะ คงวุฒิปัญญา นักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ

มานะ คงวุฒิปัญญา เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2504 นายมานะเคยเป็นกำนันในท้องที่เขตภาษีเจริญ จึงมีชื่อเรียกที่รู้จักดีของคนในท้องที่ว่า กำนันมานะ ชีวิตส่วนตัว มานะ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นนักเล่นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงในวงการพระเครื่องคนหนึ่ง โดยที่บ้านพักส่วนตัวย่านถนนพุทธมณฑลสาย 3 เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พระเครื่องด้วย มานะสมรสกับ สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 29 พรรคเพื่อไทย มีบุตรด้วยกัน 4 คน[1]

งานการเมือง

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 มานะได้ลงสมัครเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยลงในพื้นที่เขต 32 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตภาษีเจริญ โดยแข่งขันกับทางผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ ทันตแพทย์สุรันต์ จันทร์พิทักษ์ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ของเขตบางกอกใหญ่ ซึ่งมาลงแทนพี่ชาย คือ เภสัชกร วิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.ในพื้นที่นี้อย่างยาวนาน ที่ย้ายไปลงในเขตคลองสาน แทน ปราโมทย์ สุขุม ที่เลิกเล่นการเมืองไป ผลการเลือกตั้ง มานะเป็นฝ่ายได้รับการเลือกตั้ง

หลังคดียุบพรรคไทยรักไทย นายมานะได้เข้าสังกัดกับพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ได้ลงเลือกตั้งในเขต 11 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และหลังคดียุบพรรคพลังประชาชน นายมานะก็ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง[2] แต่ก็แพ้ให้กับวิลาศ จันทร์พิทักษ์ เจ้าของพื้นที่เดิม

นายมานะ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[3] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ฐานิสร์ เทียนทอง) จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน[4]

ต่อมาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (จาตุรนต์ ฉายแสง) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556[5]

ในการปราศัยของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ครั้งหนึ่งที่สนามหลวง นายมานะก็ได้ขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยอ้างว่า เพราะรู้จักกับนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำคนหนึ่งของ นปก. มานาน

ในปี พ.ศ. 2567 ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครพรรคเพื่อไทย

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "บัญชีทรัพย์สิน สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา กรณีเข้ารับตำแหน่ง 25 พฤษภาคม 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-12-30.
  2. ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 31[ลิงก์เสีย]
  3. รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  4. คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๑๖๕/๒๕๕๖ เรื่อง ให้ข้าราชการการเมืองพ้นจากตำแหน่ง (นายมานะ คงวุฒิปัญญา นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ)
  5. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๕๐๕/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๔)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya