จาตุรนต์ ฉายแสง (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น อ๋อย เป็นนักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมือง ชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (ชุดที่ 26 ) สังกัดพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี [ 2] และรัฐมนตรีหลายกระทรวง
ประวัติ
ภูมิหลังและการศึกษา
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของอนันต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับเฉลียว ฉายแสง
จาตุรนต์ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น เข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนชั้นปีที่ 4 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาไปใช้ชีวิตในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า "สหายสุภาพ" ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกา และได้รับทุน Teaching ของมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้ง
ครอบครัว
จาตุรนต์ ฉายแสงสมรสกับจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม "เปี่ยมกมล") อดีตเลขานุการหน้าห้องของพิศาล มูลศาสตร์สาทร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีหมั้นระหว่างจาตุรนต์กับจิราภรณ์ มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2546 ที่สยามสมาคม
จาตุรนต์มีชื่อจีนว่า หลิว หง อวี่ เมื่อเริ่มศึกษาภาษาจีน และปี พ.ศ. 2551 เขาได้ออกซีดีเพลงจีนที่เขาร้องเอง[ 3]
บทบาททางการเมือง
จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน [ 4] ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549
ภายหลังรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน[ 5]
หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.[ 6] [ 7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39[ 8]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว[ 9]
เขาเป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.[ 10] เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี[ 11] เขาถูกจำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหนคร [ 12] ก่อนได้รับการปล่อยตัว ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 2 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[ 13]
20 มีนาคม พ.ศ.2564 จาตุรนต์พร้อมกับ เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ร่วมกันจัดตั้งพรรค พรรคเส้นทางใหม่ [ 14] โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ก่อนจะกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยในวันที่ 8 ธันวาคม ในปีเดียวกัน
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ในลำดับที่ 13[ 15] และได้รับการเลือกตั้ง
ตำแหน่ง
ตำแหน่งในพรรคการเมือง
ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย
ปี พ.ศ. 2549 รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ปี พ.ศ. 2564 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคเส้นทางใหม่
รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ
ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ [ 16]
ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. 2545
เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[ 17]
เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. 2548
อื่น ๆ
ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต. )
กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก
สมาชิกสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เกียรติรางวัล
จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น
รางวัล "นักการเมืองมาตรฐานแห่งปี 2542” จากสมัชชา สสร.แห่งประเทศไทย
นิตยสารเอเชียวีค (Asia Week) จัดให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติในเอเชีย ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2542
นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาลออสเตรเลีย เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
นักศึกษาเก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2544[ 20]
รางวัล “ลี กวน ยิว” จากประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภาอาเซียน กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2546
รางวัล "บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย" (Thailand key's maker) ปี พ.ศ. 2546 จากการโหวตของประชาชนผ่านคลื่น 101 News Channel ด้วยผลงานการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เมื่อปี 2547
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ จาตุรนต์ ยุติพรรคเส้นทางใหม่ ย้ายครอบครัว “ฉายแสง” กลับเพื่อไทย
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
↑ ชีวิตครอบครัวและการศึกษาของ จาตุรนต์ ฉายแสง [ลิงก์เสีย ]
↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
↑ ไทยรัฐ, รัฐประหาร 49 จาตุรนต์ ฉายแสง ลาออกย้ายสังกัดพรรค , 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
↑ ผู้จัดการ, “อ๋อย” โวย! ตัดสินไม่เป็นธรรม-ปลุกระดม ปชช.ต่อต้าน คมช.! เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , 31 พฤษภาคม 2550
↑ แนวหน้า, "จาตุรนต์" ลั่นยุบ ทรท.ไม่เป็นธรรม ชี้ตัดสินจากอำนาจเผด็จการ ลั่นพร้อมร่วมมือประชาชนโค่นระบอบทหาร [ลิงก์เสีย ] , 31 พฤษภาคม 2550
↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
↑ ทหารบุกรวบ"จาตุรนต์" แล้ว - เผยเจ้าตัวไปปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฯ ตั้งใจยอมให้จับโดยดี
↑ "Chaturon arrested at FCCT" . Bangkok Post. 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-27 .
↑ "ศาลทหารให้ประกัน 'จาตุรนต์' เจอแจ้งผิดพ.ร.บ.คอมพ์เพิ่มรวม 3 ข้อหา โทษ 14 ปี" . มติชน. 2014-06-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27 .
↑ จาตุรนต์ อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
↑ " 'อ๋อย-เศกสิทธิ์'สานฝัน พรรคเส้นทางใหม่" . คมชัดลึกออนไลน์ . 2021-03-21.
↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย" " . pptvhd36.com .
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13 .
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
↑ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาเก่าดีเด่นปีการศึกษา 2544 สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 0:30 น.
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย , เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย , เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓ , เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2435–2475)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2475–2484)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2485 – ปัจจุบัน)
หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค โฆษกพรรค นโยบายพรรค หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเคลื่อนไหวในช่วงปี พ.ศ. 2550–2553 และ พ.ศ. 2556–2557
ผู้เป็นแนวร่วมที่มีชื่อเสียง
การเมือง ศิลปินและดารา ทหาร/ตำรวจ นักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อมวลชน อื่น ๆ
พิธีกร บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ดูเพิ่ม ตัวเอียง คือผู้ที่เป็นพิธีกรแทนหรือพิธีกรรับเชิญ