มาริลิน มอนโร
มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงเพียงไม่กี่คน ที่ถูกจัดอันดับว่าเป็น 1 ใน 10 นักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[1] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[2] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) ประวัติมาริลิน มอนโร คำว่ามาริลีนมาจากชื่อของดาราละครเพลงยุค 20 คือ มาริลีน มิลเลอร์ ส่วนมอนโร มาจากนามสกุลเดิมของคุณยายของเธอ จีน นอร์แมน คือชื่อที่มาริลีน ใช้ขณะเป็นนางแบบ มาริลิน มีมารดาเป็นโรคทางประสาท บิดาสาบสูญ เป็นเหตุให้ชีวิตช่วงวัยเด็กต้องอาศัยอยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เมื่อตอนอายุ 12 ปีเธอค้นพบว่าต้วเองมีแรงดึงดูดทางเพศอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่เธอสวมสเวตเตอร์พร้อมกับทาลิปสติกเป็นครั้งแรกไปโรงเรียน เธอเล่าว่าเมื่อเธอเดินเข้าไปในโรงเรียน นักเรียนชายต่างก็มองเธอเป็นตาเดียว บางคนก็ผิวปาก และบางคนก็เข้ามาหาเธอก็มี ในขณะที่นักเรียนหญิงต่างก็มองเธอด้วยความสนใจ และอิจฉาเธอ เมื่ออายุ 16 ปี จึงเริ่มอาชีพนางแบบ ต่อมาก็เริ่มแสดงภาพยนตร์ซึ่งล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes (1953) เธอได้ค่าตัวอาทิตย์ละ 500 เหรียญ ในขณะที่ เจน รัสเซล ดารานำอีกคนได้ 100,000 เหรียญสำหรับภาพยนตร์ 1 เรื่อง แต่ตัวหนังทำเงินถล่มทลายและมาริลีนกลายเป็นดาราดังไปในทันที ในฉากที่เธอร้องเพลง Diamonds Are A Girls's Bestfriend ที่ต่อมาถูกมาดอนน่านำมาทำเลียนแบบในมิวสิกวิดีโอเพลง Material Girl ก็นำมาจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์เรื่อง The Seven Year Itch (1955) มีฉากที่เป็นอมตะของเธอที่ถูกลมพัดจนกระโปรงขึ้นมา จากฉากนี้เป็นเรื่องราวทำให้เธอหย่ากับสามี (โจ ดิแมกจิโอ นักเบสบอลชื่อดัง)[ต้องการอ้างอิง] ผลงานเพลงนอกจากบทบาทการแสดงแล้วในภาพยนตร์แทบทุกเรื่องมักจะมีฉากที่ มาริลีน ร้องเพลงอยู่ด้วยเสมอ และเธอมักจะถูกพูดถึงเสมอในฉากร้องเพลง มาริลีนเคยให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่ทำให้เธอมั่นใจที่สุดในการแสดงอย่างใดๆ ก็แล้วแต่ การร้องเพลงและการแสดงประกอบเป็นสิ่งที่เธอถนัดที่สุด เธอได้โชว์เสียงเป็นครั้งแรกกับเพลง Every Baby Needs A Da Da Daddy และ Anyone Can Tell I Love You ในภาพยนตร์เรื่อง La-dies Of The Chorus (พ.ศ. 2491) และในปี พ.ศ. 2493 กับ Oh,What A Forward Young Man You Are ในภาพยนตร์เรื่อง A Ticket To Tomahawk ซึ่งมาริลีนแสดงเป็นแค่ตัวประกอบ 1 ใน 3 สาวคอรัส ส่วนฉากที่เรียกได้ว่าทำให้ มาริลีน เริ่มกลายเป็น Sex symbol ส่วนนึงมาจากภาพยนตร์เรื่อง Niagara (1953) ต่อมาเธอได้ร้องเพลง Two Littles Girls From Little Rock, Bye Bye Baby และ When Love Goes Wrong (Nothing Goes Right) ในภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes และต่อมาเพลงที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบไปใน Diamonds Are A Girls's Bestfriend และฉากที่ไม่มีใครลืมเธอเมื่อมาริลีน ร้องเพลง River Of No return กับเปียโนกับชื่อหนังเรื่องเดียวกันในปี 1954 และผลงานนอกจอคือการที่เธอไปร้องเพลง Happy Birthday To You ให้กับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ที่เมดิสัน สแควร์ การ์เด็น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้คน เสียชีวิตมาริลิน มอนโร เสียชีวิตที่ แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ โดยแม่บ้านของมอนโรชื่อ ยูนิส มูร์เรย์ เป็นผู้พบเห็นมาริลินนอนเสียชีวิตอยู่บนเตียงในห้องของเธอ มาริลินเสียชีวิตเนื่องจากการใช้ยาเกินขนาด จากนั้นเธอปรากฏตัวบ่อยๆที่ห้อง 322 โรงแรมฮอลลีวู้ดรูสเวลต์ ต่อมา นอร์แมน ฮอดเจส อดีตเจ้าหน้าที่จากหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐ หรือ ซีไอเอ ในวัย 78 ปี ออกมาเปิดเผยว่า เขาเป็นผู้ลงมือสังหาร มอนโร อย่างแยบยล โดยเหตุผลที่เขาต้องสังหารคนกว่า 41 คน เพราะคนเหล่านั้น อาจมีผู้นำทางความคิดเป็นภัยต่อสหรัฐฯ อเมริกา ซึ่งภารกิจเหล่านี้จะต้องดำเนินไปอย่างเป็นความลับ
อิทธิพลต่อคนรุ่นหลังมาริลีน มอนโรมีอิทธิพลกับดาราและศิลปินมากมาย นอกจากมาดอนนาแล้ว เอลตัน จอห์น เคยร้องเพลงอุทิศให้กับเธอมาแล้วกับ Candle In The Wind ในปี 1973 แต่งเนื้อโดย Bernie Taupin เนื้อหาก็เปรียบชีวิตของมาริลีน เหมือนเปลวเทียนและอุปสรรค ความเหงา โดดเดี่ยว ก็เหมือนสายลมที่เป่าจนเทียนดับลงไป ผลงานภาพยนตร์ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำไม่เสร็จ
โทรทัศน์รับบทเป็นตนเอง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มาริลิน มอนโร
|