Share to:

 

มาสโตดอน (เครือข่ายสังคม)

Mastodon
ผู้ออกแบบEugen Rochko[1]
นักพัฒนาMastodon gGmbH[2]
วันที่เปิดตัว16 มีนาคม 2016; 8 ปีก่อน (2016-03-16)[3]
รุ่นเสถียร
4.3.2 / ธันวาคม 3, 2024
รุ่นทดลอง
4.0.0rc4 / 14 พฤศจิกายน 2022; 2 ปีก่อน (2022-11-14)
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนRuby on Rails, JavaScript (React.js, Redux)
ระบบปฏิบัติการข้ามแพลตฟอร์ม
แพลตฟอร์มiOS, Android, Linux, BSD, Sailfish OS, macOS, Microsoft Windows
ภาษา93 ภาษา[4]
ประเภทไมโครบล็อก
สัญญาอนุญาตAGPLv3+[5]
เว็บไซต์joinmastodon.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
A cartoon Mastodon mascot
มาสโตดอน มาสคอตของเครือข่ายสังคม Mastodon

มาสโตดอน (อังกฤษ: Mastodon) เป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์สสำหรับการทำงานบริการเครือข่ายสังคมที่โฮสต์ด้วยตนเอง[a] มีคุณสมบัติไมโครบล็อกคล้ายกับทวิตเตอร์ ซึ่งให้บริการโดยโหนดที่ทำงานโดยอิสระจำนวนมากที่เรียกว่าอินสแตนซ์ (instances) แต่ละโหนดมีหลักปฏิบัติ เงื่อนไขการบริการ นโยบายความเป็นส่วนตัว ตัวเลือกความเป็นส่วนตัว และนโยบายการกลั่นกรองเนื้อหาของตนเอง[6][7][8]

ผู้ใช้แต่ละคนเป็นสมาชิกของอินสแตนซ์มาสโตดอน (หรือที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์) นั้น ๆ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายสังคมที่ติดต่อกับภายนอก ทำให้ผู้ใช้ในอินสแตนซ์ต่าง ๆ สามารถโต้ตอบกันได้ เพื่อให้ผู้ใช้มีความยืดหยุ่นในการเลือกโหนดที่มีนโยบายที่ผู้ใช้ต้องการ แต่ยังคงเข้าถึงเครือข่ายสังคมที่ใหญ่กว่าได้ มาสโตดอนยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ของเฟดิเวิร์ส ซึ่งใช้โปรโตคอลร่วมกันที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้รายอื่นบนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชุดซอฟต์แวร์ที่เข้ากันได้ เช่น PeerTube และ Friendica มาสโตดอนได้รับการระดมทุนจากฝูงชนและไม่มีโฆษณา

มาสโตดอนถูกสร้างขึ้นโดย Eugen Rochko และประกาศในแฮ็กเกอร์นิวส์ในเดือนตุลาคม 2559[9] และได้รับการนำไปใช้อย่างมีนัยสำคัญในปี 2565 หลังจากที่อีลอน มัสก์ เข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์[10][11][12]

โครงการนี้ดูแลโดย Mastodon gGmbH ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรของเยอรมัน[13]

หมายเหตุ

  1. มาสโตดอนเองไม่ใช่เครือข่ายสังคม แต่เป็นเพียงหนึ่งในซอฟต์แวร์หลายตัวที่นำโปรโตคอล ActivityPub ไปใช้ อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานทั่วไปจะเรียกว่าเครือข่ายสังคม

อ้างอิง

  1. Lekach, Sasha (6 April 2018). "The coder who built Mastodon is 24, fiercely independent, and doesn't care about money". Mashable. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
  2. "The company behind Mastodon". joinmastodon.org.
  3. "v0.1.0". 16 Mar 2016. สืบค้นเมื่อ 18 July 2019 – โดยทาง GitHub.
  4. ภาษาอังกฤษ รวมถึงอีก 92 ภาษาที่แสดงอยู่ใน "การแปลภาษา Mastodon ใน Crowdin". Crowdin. สืบค้นเมื่อ 2022-11-08.
  5. "mastodon/mastodon". Mastodon. 5 November 2022.
  6. Chan, Wilfred (2 November 2022). "Mastodon gained 70,000 users after Musk's Twitter takeover. I joined them". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 November 2022.
  7. Farokhmanesh, Megan (7 April 2017). "A beginner's guide to Mastodon, the hot new open-source Twitter clone". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  8. Wong, Joon Ian (6 April 2017). "How to use Mastodon, the Twitter alternative that's becoming super popular". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  9. "Show HN: A new decentralized microblogging platform". 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-31.
  10. Perez, Sarah (3 November 2022). "Decentralized social network Mastodon grows to 655K users in wake of Elon Musk's Twitter takeover".
  11. "How to Join Mastodon? Be Patient and Kind". MSN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  12. "Confused by Twitter 'Replacement' Mastodon? Here's How to Get Started". CNET.
  13. Knight, Will. "The Man Behind Mastodon Built It for This Moment". Wired (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ 2023-03-05.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "The Verge: beginner" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Engadget_after_Musks_Twitter_takeover" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OKOpress_Musk_bought_Twitter" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
Kembali kehalaman sebelumnya