Share to:

 

มิว สเปซ

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด
ประเภทธุรกิจเอกชน
อุตสาหกรรมอวกาศ
ก่อตั้ง21 มิถุนายน 2560 (7 ปี)
ผู้ก่อตั้งวรายุทธ เย็นบำรุง
สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
13°46′41″N 100°32′36″E / 13.7780794°N 100.5433054°E / 13.7780794; 100.5433054
บริการ
พนักงาน
60
เว็บไซต์www.muspacecorp.com/th

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ มิว สเปซ คอร์ป เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอวกาศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ก่อตั้งโดย วรายุทธ เย็นบำรุง ในปี พ.ศ. 2560 โดยมีเป้าหมายที่จะค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการให้บริการดาวเทียม[1] รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี พัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศ และให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทเริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้ใบอนุญาต 15 ปีแก่มิว สเปซ และเพิ่มอีก 5 ปีในการให้บริการด้านดาวเทียมภายในประเทศ[2]

มิว สเปซ ในช่วงแรกมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้กับโครงการเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยเริ่มดำเนินกิจการ และค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ[3]

บริษัทได้ทำการทดลอง โดยส่งสัมภาระขึ้นไปยังสภาพแทบจะไร้แรงโน้มถ่วง (ไมโคร กราวิตี้) ไปยังอวกาศกับจรวดนิว เชพเพิร์ด ของบริษัทบลู ออริจินในเดือนกรกฎาคม 2561 [4] และเผยแพร่ภาพสามมิติของชุดอวกาศสำหรับนักบินอวกาศและการท่องอวกาศในเดือนกันยายน 2561[5] มิว เปซได้เซ็นสัญญากับบลู ออริจิน เพื่อส่งดาวเทียมขึ้นไปกับจรวดนิว เกล็น[6] และเซ็นสัญญากับบริษัท รีเลทิวิตี้ สเปซ เพื่อส่งดาวเทียมไปกับจรวดเทอร์ราน 1 ซึ่งสร้างด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ[7]

มิว สเปซได้ดำเนินภารกิจการส่งสัมภาระหรือ Payload ร่วมกับบลู ออริจิน อย่างต่อเนื่อง ในการส่งสัมภาระและ อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นไปกับจรวดนิว เชพเพิร์ด ภายใต้ภารกิจ New Shepard Mission (NS-13) โดยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563 นั้นได้ทำการส่งเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นสัมภาระที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีการส่งวัตถุขึ้นไปในอวกาศ โดยได้รับความร่วมมือกับ องค์กรใหญ่ในประเทศหลายแห่ง เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (TOT) และภาคส่วนของสื่อและศิลปินจากหลากหลายองค์กร ตลอดจนกลุ่มเยาวชน เด็กรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาร่วมในครั้งนี้ด้วย[8]

ในเดือนกันยายน 2563 มิว สเปซลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  เพื่อศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้และโอกาสในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีไร้สาย ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO)  รวมทั้งมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศและบริการโทรคมนาคม 5G[9] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มิว สเปซและทีโอที ร่วมมือกันสร้างสถานีเกตเวย์หลายแห่ง โดยเริ่มที่กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งานของดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit Satellite: LEO) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต[10]

มิว สเปซได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ แอร์บัส (Airbus Defence and Space SAS) บริษัทชั้นนำด้านการผลิตอากาศยานระดับโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยสาระสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ ครอบคลุมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจระยะไกล (Earth-observation) ระบบการเฝ้าระวังทางอวกาศ (Space Situational Awareness: SSA) กลุ่มดาวเทียมในวงโคจรระดับต่ำ (LEO satellite constellations) การสำรวจดาวเคราะห์ในอวกาศ (Planetary mission) และระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite Systems: GNSS)[11]

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

สำนักงานและสถานที่วิจัยของมิว สเปซในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตพญาไท กรุงเทพฯ ส่วนการดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาจะอยู่ที่โรงงานหมายเลข 00 บนถนนวิภาวดีรังสิต 64 ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแห่งแรกของบริษัทฯ มิว สเปซยังมีโรงงานขนาดกลาง (โรงงานหมายเลข 01) ซึ่งตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต 64 เช่นเดียวกัน

สำนักงานส่วนภูมิภาค (Regional Office)

สำนักงานของมิว สเปซที่กรุงเทพฯ ตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2561ที่ตึกเพิร์ลบนถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ

โรงงานหมายเลข 00

ในเดือนธันวาคม 2563 มิว สเปซได้ก่อตั้งโรงงานขนาดเล็กด้วยเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางเมตรเพื่อรองรับกำลังในการผลิตสำหรับพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี ได้แก่ ชิ้นส่วนดาวเทียมและเทคโนโลยีอื่นๆ โรงงานแห่งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ห้อง Metal 3D printing ห้องคลีนรูม และห้องปฏิบัติการเคมี[12]

โรงงานหมายเลข 01

ในเดือนเมษายน 2564 มิว สเปซได้ก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม 10 เท่า ด้วยเนื้อที่ 2202 ตารางเมตร โรงงาน 01 สร้างขึ้นเพื่อพัฒนา ทดสอบ และผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมเพื่อใช้ภายในบริษัทฯ และสำหรับลูกค้า โรงงานแห่งใหม่ แบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องยานอวกาศ ห้องดาวเทียม ห้องหุ่นยนต์ ห้องมอเตอร์ และห้องระบบพลังงาน[13]

เทคโนโลยี

ดาวเทียมสื่อสาร

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ให้ใบอนุญาตแก่มิว สเปซ จนถึงปีพ.ศ. 2575 สำหรับการดำเนินกิจการดาวเทียมและให้บริการในประเทศไทย[2] ในปี 2561 มิว สเปซ เริ่มติดตั้งอุปกรณ์ด้วยแผนที่จะใช้งานดาวเทียมของบริษัทเอสอีเอส เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยแก่โครงการภาครัฐ[14][15]

มิว สเปซ และบริษัทโทรคมนาคมของประเทศไทยได้ลงนามในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตบนอวกาศ (Space IDC) เพื่อให้บริการศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์บนอวกาศ[16][17]

บริษัทฯ ได้บรรลุข้อตกลงปล่อยดาวเทียมออกไปยังวงโคจรค้างฟ้ากับบลู ออริจิน ในปีพ.ศ. 2561[18]

การส่งสัมภาระขึ้นไปยังอวกาศ

จรวดนิว เชิพเพิร์ด ของบลู ออริจิน

มิวสเปซดำเนินภารกิจการส่งสัมภาระหรือPayload ร่วมกับบลูออริจิน อย่างต่อเนื่องในการส่งสัมภาระและ อุปกรณ์ต่างๆขึ้นไปกับจรวด New Shepard ภายใต้ภารกิจ New Shepard Mission (NS-13) วัตถุภายในสัมภาระที่ส่งขึ้นไปบนอวกาศ มีตั้งแต่อุปกรณ์ห้ามเลือดแบบซิลิโคนที่ใช้ในโรงพยาบาล ท่อนาโนคาร์บอน อาหารในถุงสูญญากาศ และวัตถุอื่นๆ โดยมิว สเปซได้ทำการส่งสัมภาระขึ้นไปในอวกาศกับจรวด นิว เชพเพิร์ดของบลู ออริจินถึง 4 ครั้งภายใน 3 ปีตั้งแต่ปี 2561-2563 จุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับสาธารณะชนเกี่ยวกัสภาพบสภาพแทบจะไร้แรงโน้มถ่วง (ไมโคร กราวิตี้) บนอวกาศ  ในช่วงกลางปี 2563 มิว สเปซยังได้ส่งสัมภาระที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีการส่งวัตถุขึ้นไปในอวกาศ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรใหญ่ในไทยหลายแห่ง เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนของสื่อ และศิลปินจากหลากหลายองค์กร ตลอดจนกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาร่วมในครั้งนี้ เพื่อส่งการทดลองขึ้นไปยังอวกาศสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับไร้น้ำหนักและการทำความเข้าใจการเก็บรักษาข้อมูลดีเอ็นเอ[19]

การให้บริการสัญญาณ 5G

มิว สเปซให้บริการการออกแบบและวางระบบแบบครบวงจรสำหรับเครือข่าย 5G สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของสัญญาณ 5G (สายอากาศ และอุปกรณ์เครือข่าย) อุปกรณ์ของผู้ใช้งานเครือข่าย 5G (อุปกรณ์ปลายทางสำหรับหุ่นยนต์ และเครื่องจักร) ซอฟต์แวร์สำหรับกรณีใช้งานแบบเฉพาะ (อุปกรณ์ทดสอบสัญญาณ 5G และอุปกรณ์วิเคราะห์สัญญาณ 5G) และการติดตั้ง (สถานีฐานและการประมวลผลข้อมูลให้แสดงผลเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของเครือข่ายหรือแหล่งข้อมูล)

ความร่วมมือ

ภาพภายในถ้ำหลวง

ภารกิจช่วยเหลือที่ถ้ำหลวง

มิว สเปซรวบรวมทีมวิศวกรเพื่อเข้าช่วยเหลือในภารกิจการกู้ภัยเด็ก 12 คน และโค้ชที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ที่ประเทศไทย บริษัทได้ร่วมมือกับ กูเกิ้ล และเทคโนโลยีสภาพอากาศต่างๆ ที่คอยให้ข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศแก่ทีมกู้ภัย[20]

อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บอริ่ง คอมพานี ก็ได้เสนอความช่วยเหลือ และแนะนำแผนการกู้ภัยของเขาผ่านทางทวิตเตอร์ กับเจมส์ เย็นบำรุง ผู้ก่อตั้งมิว สเปซ[21] ต่อมาอีลอนได้บินมาที่ประเทศไทยด้วยเครื่องบินส่วนตัว และมอบเรือดำน้ำขนาดสำหรับเด็กที่ทีมวิศวกรของเขาได้พัฒนาขึ้นมาสำหรับภารกิจการกู้ภัยนี้ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของไทยตัดสินใจที่จะไม่นำเรือดำน้ำนั้นมาใช้งาน[22]

อ้างอิง

  1. https://mgronline.com/business/detail/9610000024726
  2. 2.0 2.1 https://www.modify.in.th/21060
  3. https://www.isranews.org/isranews-pr-news/63160-corp.html
  4. https://voicetv.co.th/read/ryHfJWkE7
  5. http://news.siamphone.com/news-38121.html
  6. "Mu Space startup signs on as 3rd customer for Blue Origin's New Glenn". The Enterprise Orbit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-27.
  7. Howell, Elizabeth. "A 3D-Printed Rocket Will Launch A Thai Satellite Into Space". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  8. Thailand, The Story (2020-09-01). "'มิว สเปซ' จับมือพันธมิตร เตรียมส่งอุปกรณ์ทดลองสู่อวกาศ | The Story Thailand".
  9. "ทีโอที จับมือ มิว สเปซ ลุยเทคโนโลยีอวกาศ มองดาวเทียมวงโคจรต่ำ ตอบโจทย์ดิจิทัลในอนาคต". www.thairath.co.th. 2020-09-24.
  10. https://www.thansettakij.com/content/tech/462017
  11. "'มิว สเปซ'เซ็น MOU 'แอร์บัส' พัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศไทย". dailynews. 2021-02-11.
  12. https://siamrath.co.th/n/207453
  13. https://www.matichon.co.th/publicize/news_2419640
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
  15. https://mgronline.com/business/detail/9610000024726
  16. https://www.thereporter.asia/th/2020/12/28/space-idc/
  17. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9630000107972
  18. https://www.bbc.com/thai/thailand-43382480
  19. https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_3180491
  20. http://www.adslthailand.com/post/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7-%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8B-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-blue-origin-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99[ลิงก์เสีย]
  21. http://www.mcot.net/view/5b3eb976e3f8e4f609861a9a
  22. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000068803

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya