ยอซีป บรอซ ตีโต
Јосип Броз Тито ประธานาธิบดียูโกสลาเวีย คนที่ 1ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม 1953 – 4 พฤษภาคม 1980นายกรัฐมนตรี เขาเอง (1953–63) Petar Stambolić (1963–67) Mika Špiljak (1967–69) Mitja Ribičič (1969–71) Džemal Bijedić (1971–77) Veselin Đuranović (1977–80) ก่อนหน้า Ivan Ribar (as ประธานสภาสมัชชาสหพันธ์แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสสลาเวีย ) ถัดไป Lazar Koliševski as ประธานสภาประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย คนที่ 1 ) นายกรัฐมนตรียูโกสลาเวีย ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน 1944 – 29 มิถุนายน 1963กษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 (1943–45) ประธานาธิบดี Ivan Ribar (1945–53) เขาเอง (1953–63) ก่อนหน้า Ivan Šubašić ถัดไป Petar Stambolić ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เลขาธิการคนที่ 1 ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน 1961 – 5 ตุลาคม 1964ก่อนหน้า Position created ถัดไป ญะมาล อับดุนนาศิร เลขาธิการสภากลาโหม คนที่ 1 ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม 1945 – 14 มกราคม 1953นายกรัฐมนตรี เขาเอง ก่อนหน้า Position created ถัดไป Ivan Gošnjak เลขาธิการสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย คนที่ 4 ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 1939 – 4 พฤษภาคม 1980ก่อนหน้า Milan Gorkić ถัดไป Branko Mikulić
ข้อมูลส่วนบุคคล เกิด 07 พฤษภาคม ค.ศ. 1892(1892-05-07 ) [ nb 1] Kumrovec , โครเอเชีย-สโลวีเนีย , จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบัน โครเอเชีย ) เสียชีวิต 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1980(1980-05-04) (87 ปี)ลูบลิยานา , สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย , สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ที่ไว้ศพ เบลเกรด , เซอร์เบีย , House of Flowers 44°47′12″N 20°27′06″E / 44.78667°N 20.45167°E / 44.78667; 20.45167 เชื้อชาติ เซิร์บ [ 1] ศาสนา ไม่มี(Atheist )[ 5] [ 6] (เคยนับถือ โรมันคาทอลิก ) [ 7] พรรคการเมือง สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (SKJ)คู่อาศัย Davorjanka Paunović คู่สมรส เพลาจิเกีย บรอซ (1919–1939), div.เฮอร์ตา ฮาส (1940–1943) โจแวนก้า บรอซ (1952–1980) บุตร Zlatica Broz Hinko Broz Žarko Leon BrozAleksandar Broz อาชีพ จอมพล , นักปฎิวัติ ,ผู้บัญชาการ รางวัล อิสริยาภรณ์นานาชาติ 98 รายการ และยูโกสลาเวีย 21 รายการ รวมทั้ง เครื่องอิสริยาภรณ์มหาดาราแห่งยูโกสลาเวีย เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐอิตาลี (รายการย่อ, ดูรายการทั้งหมดในบทความ )Ethnicity ชาวโครแอต [ 2] [ 3] [ 4] ลายมือชื่อ ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง รับใช้ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย สังกัด กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย All (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด)ประจำการ 1913–1919 1941–1980 ยศ จอมพล บังคับบัญชา ขบวนการปาร์ติซานชาวเซิร์บ กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย ผ่านศึก สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามกลางเมืองรัสเซีย สงครามกลางเมืองสเปน สงครามโลกครั้งที่ 2
ยอซีป บรอซ (Serbo-Croatian Cyrillic : Јосип Броз , ออกเสียง: [jǒsip brôːz] ; 7 พฤษภาคม 1892 – 4 พฤษภาคม 1980)[ nb 1] มักเป็นที่รู้จักกันว่า ตีโต (;[ 9] Serbo-Croatian Cyrillic : Тито , ออกเสียง: [tîto] ) เป็นนักปฏิวัติ ลัทธิคอมมิวนิสต์ และรัฐบุรุษชาวยูโกสลาฟ ทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1980[ 10] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้นำพลพรรค มักจะถือว่าเป็นขบวนการต่อต้านที่มีประสิทธิภาพมากในทวีปยูโรปที่ถูกยึดครอง [ 11] เขายังทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ปี ค.ศ. 1953 ถึง วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ในขณะที่การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเผด็จการ[ 12] และความกังวลเกี่ยวกับการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ถูกหยิบยกขึ้น ตีโตได้รับความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าเป็นเผด็จการผู้มีความเมตตา (Benevolent Dictator)[ 14]
เขาได้เป็นบุคคลสาธารณรัฐที่ได้รับความนิยมทั้งในยูโกสลาเวียและต่างประเทศ[ 15] มุมมองที่เป็นสัญลักษณ์รวมกัน,[ 16] นโยบายภายในประเทศของเขาดำรงไว้ซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชาติต่าง ๆ ในสหพันธ์ยูโกสลาเวีย เขาได้รับความสนใจจากนานาชาติมากขึ้นในฐานะผู้นำขบวนการไม่ฝักฝ่ายใด เคียงข้างกับ ชวาหะร์ลาล เนห์รู แห่งอินเดีย ญะมาล อับดุนนาศิร แห่งอียิปต์ และกวาเม อึนกรูมา แห่งกานา[ 17]
บรอซเกิดจากบิดาที่เป็นชาวโครแอต และมารดาที่เป็นชาวสโลวีน ในหมู่บ้าน Kumrovec, ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันในโครเอเชีย ) ถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพ เขามีความโดดเด่นในตัวเขาเอง กลายเป็นจ่าสิบเอกที่มีอายุน้อยที่สุดในกองทัพบกออสเตรีย-ฮังการี ในช่วงสมัยนั้น ภายหลังจากได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกจับกุมโดยทหารจักรวรรดิรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาถูกส่งไปยังค่ายแรงงานในเทือกเขายูรัล เขาได้มีส่วนร่วมในบางเหตุการณ์ของการปฏิวัติรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1917 และสงครามกลางเมือง ที่ตามมา
เมื่อเขาเดินทางกลับสู่คาบสมุทรบอลข่านในปี ค.ศ. 1918 บรอซได้เข้าสู่ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ที่เขาได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (KPJ) ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค (ต่อมาได้เป็นประธานรัฐสภา) ของสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1939–1980) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากนาซีได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศ เขาได้เป็นผู้นำขบวนการกองโจรชาวยูโกสลาฟ พลพรรค (ค.ศ. 1941–1945)[ 18]
ภายหลังสงคราม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 1944–1963) และประธานาธิบดี(ต่อมาเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพ) (ค.ศ. 1953–1980) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (SFRY) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1980 ตีโตได้รับยศตำแหน่งเป็นจอมพลแห่งยูโกสลาเวีย ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในกองทัพยูโกสลาเวีย กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (JNA) ด้วยชื่อเสียงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มประเทศสองฝ่ายในช่วงสงครามเย็น เขาได้รับเครื่องอิสรยาภรณ์จากต่างประเทศ 98 ชิ้น รวมทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งบาธ
ตีโตเป็นหัวหน้าผู้ก่อตั้งประเทศยูโกสลาเวียที่สอง สหพันธ์สังคมนิยม ที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 จนถึง เดือนเมษายน ค.ศ. 1992 แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโคมินฟอร์ม เขากลายเป็นสมาชิกโคมินฟอร์มคนแรกที่ท้าทายอำนาจโซเวียตในปี ค.ศ. 1948 เขาเป็นผู้นำเพียงคนเดียวที่ถอนตัวออกจากโคมินฟอร์มในช่วงสมัยโจเซฟ สตาลิน และเริ่มต้นด้วยโครงการสังคมนิยมในประเทศของเขา ซึ่งมีองค์ประกอบของตลาดสังคมนิยม นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย รวมทั้ง Jaroslav Vaněk ที่เกิดเป็นชาวเช็ก และ Branko Horvat เกิดเป็นชาวยูโกสลาฟ ได้ส่งเสริมรูปแบบของตลาดสังคมนิยมที่ถูกขนานนามว่ารูปแบบอีลิเลียน สถานประกอบการที่สังคมเป็นเจ้าของโดยลูกจ้างของพวกเขาและโครงสร้างแรงงานที่จัดการด้วยตัวเอง พวกเขาได้เข้าแข่งขันในตลาดเปิดและเสรี
ตีโตได้สร้างลัทธิบูชาบุคคล ที่ทรงอำนาจอย่างมากรอบ ๆ ตัวเขา ซึ่งได้รับการทำนุบำรุงโดยสันนิบาตคอมมิวนิสต์ แห่งยูโกสลาเวีย หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเขา
ตีโตพยายามควบคุมความตึงเครียดของกลุ่มชาติพันธุ์โดยมอบหมายอำนาจให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แก่แต่ละสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญยูโกสลาเวีย ปี ค.ศ.1974 กำหนดให้สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐแห่งชาติและเชื้อชาตืที่เสมอภาค โดยอยู่ร่วมกันอย่างอิสระบนหลักการภราดรภาพและเอกภาพในการบรรลุผลประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงและร่วมกัน" แต่ละสาธารณรัฐยังได้รับสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเองและทำการแยกตัวออก ถ้าหากทำผ่านช่องทางกฎหมาย ผลสุดท้าย, โคโซโว และวอยวอดีนา ทั้งสองมณฑลที่มีอำนาจการเลือกตั้งของเซอร์เบีย ต่างได้รับเอกราชเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งอำนาจโดยพฤตินัยในรัฐสภาเซอร์เบีย
สิบปีภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรม ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายในยุโรปตะวันออก และประเทศยูโกสลาเวียได้เข้าสู่สงครามกลางเมือง
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 แม้ว่าตีโตจะเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมหลังจากที่เขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย เขาฉลองวันเกิดของเขาในวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อรำลึกถึงความพยายามของนาซี ใน ค.ศ. 1944 เพื่อจับกุมหรือสังหารเขาซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ พวกเยอรมันพบเอกสารปลอมที่ระบุว่าวันที่ 25 พฤษภาคมเป็นวันเกิดของตีโต และได้โจมตีเขาในวันนั้น
อ้างอิง
↑ Cvijeto Job (2002). Yugoslavia's ruin: the bloody lessons of nationalism, a patriot's warning . Rowman & Littlefield. p. 58 . ISBN 978-0-7425-1784-4 . Without denying his Croatian and Slovenian roots, he always identified himself as a Yugoslav.
↑ Minahan, James (1998). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States . Greenwood Publishing Group. p. 50. ISBN 0-313-30610-9 .
↑ Lee, Khoon Choy (1993). Diplomacy of a Tiny State . World Scientific. p. 9. ISBN 981-02-1219-4 .
↑ Laqueur, Walter (1976). Guerrilla Warfare: A Historical & Critical Study . Transaction Publishers. p. 218. ISBN 0-7658-0406-9 .
↑ Nikolaos A. Stavrou (ed.), Mediterranean Security at the Crossroads: a Reader , p.193, Duke University Press, 1999 ISBN 0-8223-2459-8 .
↑ Vjekoslav Perica, Balkan Idols: Religion and Nationalism in Yugoslav States , p.103, Oxford University Press US, 2004 ISBN 0-19-517429-1 .
↑ Richard West, Tito and the Rise and Fall of Yugoslavia , p.211, Carroll & Graff, 1996 ISBN 0-7867-0332-6 . "In one of his talks with Church officials, Tito went so far as to speak of himself 'as a Croat and a Catholic', but this comment was cut out of the press reports on the orders of Kardelj."
↑ "Tito" . Random House Webster's Unabridged Dictionary . 2001. ISBN 978-0-375-42605-6 .
↑ "Josip Broz Tito" . Encyclopædia Britannica Online . LCCN 2001562562 . สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2010 .
↑ Rhodri Jeffreys-Jones (13 June 2013). In Spies We Trust: The Story of Western Intelligence . OUP Oxford. p. 87. ISBN 978-0-19-958097-2 .
↑ Andjelic, Neven (2003). Bosnia-Herzegovina: The End of a Legacy . Frank Cass. p. 36. ISBN 978-0-7146-5485-0 .
↑ Shapiro, Susan; Shapiro, Ronald (2004). The Curtain Rises: Oral Histories of the Fall of Communism in Eastern Europe . McFarland. ISBN 978-0-7864-1672-1 . "...All Yugoslavs had educational opportunities, jobs, food, and housing regardless of nationality. Tito, seen by most as a benevolent dictator, brought peaceful co-existence to the Balkan region, a region historically synonymous with factionalism."
↑ Melissa Katherine Bokovoy, Jill A. Irvine, Carol S. Lilly, State-society Relations in Yugoslavia, 1945–1992 ; Palgrave Macmillan, 1997 p. 36 ISBN 0-312-12690-5
"...Of course, Tito was a popular figure, both in Yugoslavia and outside it. "
↑ Martha L. Cottam, Beth Dietz-Uhler, Elena Mastors, Thomas Preston, Introduction to political psychology , Psychology Press, 2009 p. 243 ISBN 1-84872-881-6
"...Tito himself became a unifying symbol. He was charismatic and very popular among the citizens of Yugoslavia. "
↑ Peter Willetts (January 1978). The Non-aligned Movement: The Origins of a Third World Alliance (First American ed.). Nichols Pub. p. xiv. ISBN 0-89397-044-1 .
↑ Bremmer, Ian (2007). The J Curve: A New Way to Understand Why Nations Rise and Fall . Simon & Schuster. p. 175 . ISBN 978-0-7432-7472-2 .
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ