Share to:

 

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า (อังกฤษ: electronic cigarette) หรือ บุหรี่ไอน้ำ (อังกฤษ: vapor cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ซึ่งทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับยาสูบจริง โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา (Pen style) มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเริ่มมีลักษณะที่ถูกผลิตให้ไม่มีลักษณะคล้ายบุหรี่ แต่มีลักษณะคล้ายรีโมตรถยนต์ และยังมีรูปแบบที่ผู้ใช้ปรับปรุง (modify) เองด้วย ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คิดค้นขึ้นในประเทศจีน[1]

การใช้งาน

ความนิยม

ตั้งแต่เข้าสู่ตลาดประมาณในปี พ.ศ.2546 การบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[2][3][4] ในปีพ.ศ. 2554 มีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าผู้ใหญ่ประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 68 ล้านคนในปี พ.ศ.2563 เมื่อเทียบกับ 1.1 พันล้านคนที่สูบบุหรี่[5] ในปี พ.ศ.2564 จำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 82 ล้านคน[6][7] การเพิ่มขึ้นนี้เกิดจากการตลาดที่มุ่งมั่น ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าบุหรี่ธรรมดา และประวัติภูมิความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้าที่ดีกว่ายาสูบ การใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในประเทศจีน สหรัฐฯ และยุโรปโดยที่จีนมีผู้ใช้มากที่สุด[8][9][10]

คำแนะนำ

มีเหตุผลที่แตกต่างกันในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ผู้ใช้ส่วนใหญ่พยายามเลิกสูบ[11] แต่ส่วนใหญ่ของการใช้งานมีลักษณะเป็นสันทนาการหรือเป็นความพยายามที่จะอ้อมกฎหมายการห้ามสูบ[12] ผู้คนจำนวนมากสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพราะคิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่ปลอดภัยกว่า[13] การเลือกที่หลากหลายและราคาที่ต่ำกว่าบุหรี่ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญ

หรือมีแรงจูงใจอื่น ๆ ในการลดกลิ่นและจำนวนคราบ บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นที่ชื่นชอบของเทคโนฟีลที่ชื่นชอบการปรับแต่งอุปกรณ์ของตนเอง


ส่วนประกอบของเครื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนประกอบของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์
A หลอดไฟแอลอีดี มักเป็นสีส้มแดง หรือสีฟ้า
B แบตเตอรี่
C ตัวสร้างควัน
D ตัวเก็บนิโคติน

โดยทั่วไป สามารถถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วนคือ

  • ส่วนแบตเตอรี่ (Battery) คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55–80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดีแสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ
  • ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน (Atomizer) คือส่วนกลาง จะมีไมโครชิพ (micro ship circuit) ควบคุมการทำงาน และขดลวดอีเล็กทรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-liquid) ให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง
  • ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้

นอกจากส่วนประกอบในตัวเครื่องแล้ว ส่วนประกอบสำคัญของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือน้ำยา (e-liquid) ซึ่งผลิตจากสารโพรพลีลีนกลีเซอรอล (Propylene Glycerol) หรือสารโพรพลีลีน กลีคอล (Propylene Glycol) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าสารพีจี (PG) ซึ่งเป็นตัวทำละลายระดับที่บริโภคได้ (Food-Grade) สารพีจีอยู่ในเครื่องสำอางแทบทุกชนิด รวมทั้งแชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า หรือแม้กระทั่งลูกอม สารพีจีนี้อาจมีการสะสมหรือระคายเคืองหากได้รับเป็นเวลานาน สารพีจีจะใช้เป็นตัวละลายกลิ่นหรือรสชาติกับนิโคติน โดยทั่วไปจะกำหนดระดับของสารนิโคตินในน้ำยาไว้ดังนี้

  • ระดับสูงมาก (Extra High) มีระดับนิโคติน 20-24 มิลลิกรัม
  • ระดับสูง (High) มีระดับนิโคติน 16-18 มิลลิกรัม
  • ระดับปานกลาง (Medium) มีระดับนิโคติน 11-14 มิลลิกรัม
  • ระดับต่ำ (Low) มีระดับนิโคติน 4-8 มิลลิกรัม
  • ไม่มีนิโคติน (Non) มีระดับนิโคติน 0-2 มิลลิกรัม
  • นอกจากนี้ปัจจุบันมีบางบริษัทผลิตระดับนิโคตินสูงสุด (Super High) คือ 34 มิลลิกรัมซึ่งอาจเกิดอันตรายหากรับในปริมาณมาก


ชนิดของสารประกอบบุหรี่ไฟฟ้า

โดยทั่วไปแล้วบุหรี่ไฟฟ้าจะใช้น้ำยานิโคตินเป็นส่วนประกอบหลักในการนำส่งนิโคตินเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภค สามารถแยกได้ทั่วไปเป็น 2 ชนิดหลักคือ

  • นิโคตินที่ไร้ความเป็นด่าง (Free-base Nicotine)
  • เกลือนิโคติน (Nicotine Salts)

นิโคตินที่ไร้ความเป็นด่างคือการนำค่าความด่างออกจากสารนิโคตินตั้งตนที่ได้มาจากใบยาสูบตามธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ได้รับนิโคตินเข้มช้นกว่าในปริมาณที่ใกล้เคียงกันกับชนิดยาสูบ ซึ่งแม้จะลดความรู้สึกระคายเคืองลำคอ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้รับสารนิโคตินได้มาก

เกลือนิโคตินนั้นคือการนำนิโคตินที่ไร้ความเป็นด่าง มาเติม "กรด" บางชนิดเข้าไป เพื่อทำให้การนำนิโคตินเข้าสู่ร่างกายเป็นไปได้อย่างนุ่มนวลมากขึ้น เป็นการพัฒนาทางอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ส่งผลให้ได้รับนิโคตินเข้มข้นมากขึ้นจากปริมาณยาสูบตั้งต้นที่ใกล้เคียงกัน

การทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

รูปแสดงการทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

การทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือ การลวงประสาทสัมผัสของผู้เสพว่าได้รับการสนองตอบต่อความต้องการนิโคตินจาก "บุหรี่" จริงแล้ว ด้วยปริมาณนิโคตินที่ได้รับจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ในจำนวนที่จำกัดตามความเหมาะสม และด้วยรูปลักษณ์ แสงไฟแอลอีดีที่ปลายอุปกรณ์ และรูปร่างของไอน้ำสีขาวที่มีลักษณะคล้ายควัน สร้างความรู้สึก "เสพ" ไปแล้ว ควันที่เกิดจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือไอน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาของสารพีจีที่ถูกคลื่นความร้อนไมโครเวฟจากตัวสร้างควันทำให้แตกตัวและดูดน้ำในอากาศกลายเป็นสายหมอกไอน้ำสีขาวที่มีคล้ายคลึงกับไอนำจากกาต้มน้ำ แต่มีความหนาแน่นและรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า ซึ่งจะแตกต่างจากควันบุหรี่จริงที่มีสีออกเทา [14][15]

แม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปอันก่อให้เกิดสารพิษกว่า 4,000 ชนิดในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ โดยระดับนิโคตินจะมีปริมาณต่าง ๆ กันแล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้นำยานิโคตินระดับใด ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ แต่ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการลดปริมาณพิษสะสมอันเกิดจากบุหรี่จริง และการสูบยาสูบอิเล็กทรอนิกส์อาจประยุกต์ใช้กับการเลิกบุหรี่แบบถาวรได้

ความปลอดภัย และข้อวิจารณ์ต่อยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป โดยเหตุผลสำคัญคือยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย แต่อาจมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไป ในด้านผลกระทบของการที่นิโคตินได้รับความร้อนก่อนที่จะถูกสูดเข้าไป ไม่มีผลต่อความแตกต่างของนิโคตินที่มีในบุหรี่จริง เพียงแต่จากนิโคตินที่ได้รับจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีสารเคมีหลายพันชนิดรวมอยู่ในนั้น ซึ่งสารเคมีหลายชนิดในบุหรี่จริงนั้นเป็นผลจากการเผาไหม้ยาสูบ

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากบริษัทบุหรี่ อาทิ ฟิลิป มอร์ริส (Philip Morris) ว่าอาจไม่มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้บริษัทยาขนาดใหญ่ที่สนใจเกี่ยวกับกับยาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ (อาทิแผ่นแปะนิโคติน หรือเม็ดอมนิโคติน) ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นรูปธรรมต่อกลุ่มสาธารณสุขเพื่อเรียกร้องให้มีการห้าม (ban) ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อความอยากบุหรี่ และสามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้[16] ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ และได้รับการยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายในอีกหลายประเทศเช่นกัน

ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่

  • พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้าหรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรสยามความผิดครั้ง หนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่าพบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน หากนำไปใช้โดยปราศจากการดูแลของแพทย์จะเป็น อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังอ้างอีกว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีฤทธิ์เทียบเท่าเฮโรอีน ขณะเดียวกันผู้ใช้ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการโต้แย้งว่าบุหรี่จริง มีนิโคตินที่ได้รับจากการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งนอกจากนิโคตินแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษมากมาย และควันของบุหรี่นี้เองที่เป็นอันตราย ส่วนยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ มีนิโคตินที่ถูกผสมในสารพีจีโดย 1 มิลลิลิตรใช้เวลาสูบมากกว่า 100-150 ครั้ง ในขณะที่บุหรี่ 1 มวน ใช้เวลาสูบหมดประมาณ 10-15 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่สูบยาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับนิโคตินใกล้เคียงกับบุหรี่จริง และในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย

ปัจจุบันในสังคมไทยยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเป็นสิ่งของต้องห้ามให้นำเข้า จากประกาศของกระทรวงพาณิชย์ แต่ก็มีผู้ใช้หลายคนยังคงยืนยันจะใช้ต่อ

ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ

บุหรี่ไฟฟ้าแบบเติมน้ำยา และ บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง


วิวัฒนาการของบุหรี่ไฟฟ้านั้นแบ่งได้ประมาณ 4 ยุคคือ

  • ยุคแรก คือการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าแบบ ใช้แล้วทิ้ง โดยทำออกมาคล้ายคลึงกับบุหรี่จริงทั่วไปแต่เปลี่ยนวิธีการให้ความร้อนจะการเผาไหม้เป็นการเพิ่มความร้อนจากขดลวดให้เกิดไอน้ำแทน โดยมีชื่อเล่นว่า ซิกาไลก์ (Cigalike)
  • ยุคที่สอง คือการทำบุหรี่ไฟฟ้าเป็นแบบปากกา เพิ่มความสามารถในการชาร์จแบตเตอร์รี่ได้ เติมน้ำยาได้หรือเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของสารน้ำยาเพื่อการใช้ซ้ำได้
  • ยุคที่สาม คือบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นแบบเป็นแทงค์ มีขนาดใหญ่ขึ้นจากบุหรี่ไฟฟ้าในรุ่นที่สองและสามารถปรับแต่งอุปกรณ์ภายในได้มากกว่า เช่นการปรับแรงดันไฟและการปรับขนาดของขดลวดที่ให้ความร้อนเป็นต้น

โดยในบุหรี่ไฟฟ้าประเภทแทงก์นี้จะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองรุ่นย่อยคือ

บุหรี่ไฟฟ้าแทงก์แบบทั่วไป Regular Mod

บุหรี่ไฟฟ้าแทงก์แบบยิงสด Unregular Mod (Irregular)

โดยแบบแทงค์ทั่วไปนั้นจะมีแผงวงจรที่ใช้ควบคุมการจ่ายไฟจากแบตเตอร์รี่หรือถ่าน ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องได้ผ่านแผงหน้าจอที่แสงดข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับอุปกรณ์เอาไว้ด้วย

ส่วนแบบแทงค์ยิงสดนั้น “ไม่มี” แผงวงจรควบคุมการทำงานและการจ่ายกระแสไฟจะส่งจากถ่านไปยังขดลวดที่เป็นตัวให้ความร้อนแก่น้ำยาโดยตรง เพราะฉะนั้นความแรงของกระแสไฟจะขึ้นอยู่กับแหล่งให้พลังงานโดยตรง

ซึ่งทั้งสองแบบนั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสารประกอบของน้ำยา ปริมาณที่ต้องใช้ การคำนวณค่ากำลังการจ่ายไฟ ข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนี้คือ ให้สารนิโคตินประมาณน้อยมากถึงไม่มี และมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่า แต่เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นจึงอาจส่งผลให้มีอันตรายต่อผู้ใช้ได้มากกว่าหากว่าไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอ

  • ยุคที่สี่ บุหรี่ไฟฟ้าแบบฝัก (Pod) คือบุหรี่ไฟฟ้าที่ต่อยอดมาจาก Irregular Mod โดยมีการคิดคำนวณการจ่ายไฟจากแบตเตอร์รี่ที่ใช้ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต และลักษณะเฉพาะของ Pod นั้นจะใช้คู่กับสารประกอบที่เรียกกันว่า เกลือนิโคติน ที่ให้ปริมาณนิโคตินเข้มข้นเมื่อเทียบกับปริมาณนิโคตินที่ได้จากสารประเภท ไร้ความเป็นด่าง โดยบุหรี่ไฟฟ้าประเภทฝักสามารถแบ่งได้สองประเภทย่อยคือ

- ระบบเปิด ที่สามารถเติมน้ำยาลงไปใหม่ได้

- ระบบปิด ที่ต้องถอดเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เมื่อน้ำยาหมด

  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทางเลือกใหม่ I Quit Ordinary Smoking - IQOS

บุหรี่ไฟฟ้า IQOS คือ เทคโนโลยี heat not burn technology เป็นการใช้ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้ ต้องใช้กับบุหรี่แบบมวนเฉพาะรุ่น หรือที่เรียกว่า Heatstick เท่านั้น ออกแบบมาเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็ง ควบคุมปริมาณสารอันตรายอย่าง นิโคติน ในบุหรี่ทั่วไป โดยสามารถใช้ได้กับบุหรี่มวนแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ชนิดนี้โดยเฉพาะ

กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

การจำหน่าย

การจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามีความผิด โดยที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่ 9/2558 มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[17]

การนำเข้า

การนำเข้ามีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้านั้นด้วย และยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[17]

การครอบครอง

การครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า อันเป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ[17]

โดยในปัจจุบันมียังมีกลุ่มผู้นิยมบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก พยายามผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้รองรับบุหรี่ไฟฟ้า และจากงานวิจัยจากต่างประเทศทั่วโลก สามารถยืนยันได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้สร้างโทษมากไปกว่า บุหรี่แบบเผาไหม้ปกติ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ความเสี่ยงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงถือว่าต่ำ[18][19] และบุหรี่ไฟฟ้าน่าจะปลอดภัยกว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เผาไหม้[20] [21] อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย การใช้บุหรี่ไฟฟ้าสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด[22] หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และ ถุงลมโป่งพอง ผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ใช้เป็นครั้งคราว [23] จากข้อมูลของ สถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งชาติ "การทดสอบในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับส่วนผสมของบุหรี่ไฟฟ้า การทดสอบพิษวิทยาในหลอดทดลอง และการศึกษาในมนุษย์ในระยะสั้น ชี้ให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ยาสูบที่ติดไฟได้มาก"[24] การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมให้หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นสูงว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีนิโคตินมีประสิทธิผลมากกว่าการบำบัดทดแทนนิโคตินในการเลิกสูบบุหรี่ และมีหลักฐานความเชื่อมั่นปานกลางว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีนิโคตินมีประสิทธิผลมากกว่า [25]

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดแต่ไม่ร้ายแรงได้แก่ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว[26] การระคายเคืองในลำคอและปาก อาเจียน คลื่นไส้ และไอ[27] นิโคตินเป็นสิ่งเสพติดและเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เด็ก และคนหนุ่มสาว[28] ในปี 2019 และ 2020 การระบาดของโรคปอดบวมอย่างรุนแรงในสหรัฐอเมริกา มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับวิตามินอีอะซิเตตโดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐในขณะที่ยังคงถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าส่วนประกอบใดของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย โดยเฉพาะวิตามินอีอะซิเตตได้รับการระบุว่าเป็นสาเหตุในการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า[29] น่าจะมีสาเหตุของการระบาดมากกว่าหนึ่งสาเหตุ[30][31]

บุหรี่ไฟฟ้าผลิตอนุภาคในระดับใกล้เคียงกับบุหรี่ยาสูบ[32] มี "หลักฐานที่จำกัดเท่านั้นที่แสดงถึงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจในมนุษย์" โดยผู้เขียนการทบทวนในปี 2020 เรียกร้องให้มีการศึกษาระยะยาวเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้[32] บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหอบหืด 40% และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 50% เมื่อเทียบกับการไม่ใช้นิโคตินเลย[33]

อ้างอิง

  1. http://articles.latimes.com/2009/apr/25/world/fg-china-cigarettes25
  2. "E-Cigarette Market By Distribution Channel (Retail And Online), By Product (Modular Devices, Rechargeable, And Disposable), And By Region - Global And Regional Industry Overview, Market Intelligence, Comprehensive Analysis, Historical Data, And Forecasts 2023 – 2030". www.zionmarketresearch.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  3. "Development of E-Cigarettes and Vaping Regulations". nursinganswers.net. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  4. "A Position Statement of the Forum of International Respiratory Societies". figshare.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  5. "Burning Issues: The Global State of Tobacco Harm Reduction 2020". gsthr.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  6. "82 million vapers worldwide in 2021: the GSTHR estimate". gsthr.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  7. "The Top 10 Best 15000+ Puff Disposable Vapes of 2024: A Comprehensive Guide". www.zmarksthespot.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  8. "Electronic cigarettes: patterns of use, health effects, use in smoking cessation and regulatory issues". www.tobaccoinduceddiseases.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  9. "Share of electronic cigarette users in China from 2018 to 2020, with forecasts until 2024". www.statista.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  10. "Electronic cigarette use in China: Awareness, prevalence and regulation". www.tobaccoinduceddiseases.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  11. "Behavioral and Pharmacotherapy Interventions for Tobacco Smoking Cessation in Adults, Including Pregnant Women: U.S. Preventive Services Task Force Recommendation Statement". www.acpjournals.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  12. "E-Cigarettes: Use, Effects on Smoking, Risks, and Policy Implications". www.annualreviews.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  13. "Cigarette Smoking and Electronic Cigarettes Use: A Meta-Analysis". www.mdpi.com. สืบค้นเมื่อ 2024-06-28.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-01. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
  17. 17.0 17.1 17.2 https://workpointtoday.com/news-233/
  18. Paley, Grace L.; Echalier, Elizabeth; Eck, Thomas W.; Hong, Augustine R.; Farooq, Asim V.; Gregory, Darren G.; Lubniewski, Anthony J. (2016). "Corneoscleral Laceration and Ocular Burns Caused by Electronic Cigarette Explosions". Cornea. 35 (7): 1015–1018. doi:10.1097/ICO.0000000000000881. ISSN 0277-3740. PMC 4900417. PMID 27191672.
  19. Bals, Robert; Boyd, Jeanette; Esposito, Susanna; Foronjy, Robert; Hiemstra, Pieter; Jiménez-Ruiz, Carlos A.; Katsaounou, Paraskevi; Lindberg, Anne; Metz, Carlos; Schober, Wolfgang; Spira, Avrum (February 2019). "Electronic cigarettes: a task force report from the European Respiratory Society". European Respiratory Journal. 53 (2): 1801151. doi:10.1183/13993003.01151-2018. ISSN 0903-1936. PMID 30464018. The long-term effects of ECIG use are unknown, and there is therefore no evidence that ECIGs are safer than tobacco in the long term. Based on current knowledge, negative health effects cannot be ruled out.
  20. Knorst, Marli Maria; Benedetto, Igor Gorski; Hoffmeister, Mariana Costa; Gazzana, Marcelo Basso (2014). "The electronic cigarette: the new cigarette of the 21st century?". Jornal Brasileiro de Pneumologia. 40 (5): 564–572. doi:10.1590/S1806-37132014000500013. ISSN 1806-3713. PMC 4263338. PMID 25410845.
  21. Burstyn, Igor (9 January 2014). "Peering through the mist: systematic review of what the chemistry of contaminants in electronic cigarettes tells us about health risks". BMC Public Health. 14 (1): 18. doi:10.1186/1471-2458-14-18. ISSN 1471-2458. PMC 3937158. PMID 24406205.
  22. Wills, Thomas A.; Soneji, Samir S.; Choi, Kelvin; Jaspers, Ilona; Tam, Elizabeth K. (10 October 2020). "E-cigarette Use and Respiratory Disorder: An Integrative Review of Converging Evidence from Epidemiological and Laboratory Studies". European Respiratory Journal. 56 (5): 363–380. doi:10.1183/13993003.01815-2019. ISSN 1399-3003. PMC 7817920. PMID 33154031.
  23. Albert D. Osei; Mohammadhassan Mirbolouk; Olusola A. Orimoloye; Omar Dzaye; S.M. Iftekhar Uddin; Emelia J. Benjamin; Michael E. Hall; Andrew P. DeFilippis; Aruni Bhatnagar; Shyam S. Biswal; Michael J. Blaha (January 1, 2020). "Association Between E-Cigarette Use and Chronic Obstructive Pulmonary Disease by Smoking Status: Behavioral Risk Factor Surveillance System 2016 and 2017". American Journal of Preventive Medicine. 58 (3): 336–332. doi:10.1016/j.amepre.2019.10.014. PMC 9843649. PMID 31902685.
  24. Balfour, David J. K.; Benowitz, Neal L.; Colby, Suzanne M.; Hatsukami, Dorothy K.; Lando, Harry A.; Leischow, Scott J.; Lerman, Caryn; Mermelstein, Robin J.; Niaura, Raymond; Perkins, Kenneth A.; Pomerleau, Ovide F. (September 2021). "Balancing Consideration of the Risks and Benefits of E-Cigarettes". American Journal of Public Health. 111 (9): 1661–1672. doi:10.2105/AJPH.2021.306416. PMC 8589069. PMID 34410826. Among potentially toxic substances common to both products, cigarette smoke generally contains substantially larger quantities than e-cigarette aerosol. However, e-cigarette aerosol contains some substances not found in cigarette smoke."
  25. Hartmann-Boyce, J; Lindson, N; Butler, AR; McRobbie, H; Bullen, C; Begh, R; Theodoulou, A; Notley, C; Rigotti, NA; Turner, T; Fanshawe, TR (17 November 2022). "C9shop". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2022 (11): CD010216. doi:10.1002/14651858.CD010216.pub7. PMC 9668543. PMID 36384212.
  26. Breland, Alison B.; Spindle, Tory; Weaver, Michael; Eissenberg, Thomas (2014). "Science and Electronic Cigarettes". Journal of Addiction Medicine. 8 (4): 223–233. doi:10.1097/ADM.0000000000000049. ISSN 1932-0620. PMC 4122311. PMID 25089952.
  27. Grana, R; Benowitz, N; Glantz, SA (13 May 2014). "E-cigarettes: a scientific review". Circulation. 129 (19): 1972–86. doi:10.1161/circulationaha.114.007667. PMC 4018182. PMID 24821826.
  28. Edgar, Julie (12 November 2013). "E-Cigarettes: Expert Q&A With the CDC". WebMD.
  29. Boudi, F Brian; Patel, Sonia; Boudi, Ava; Chan, Connie (2019). "Vitamin E Acetate as a Plausible Cause of Acute Vaping-related Illness". Cureus. 11 (12): e6350. doi:10.7759/cureus.6350. ISSN 2168-8184. PMC 6952050. PMID 31938636.แม่แบบ:CC-notice
  30. King, Brian A.; Jones, Christopher M.; Baldwin, Grant T.; Briss, Peter A. (2020). "The EVALI and Youth Vaping Epidemics — Implications for Public Health". New England Journal of Medicine. 382 (8): 689–691. doi:10.1056/NEJMp1916171. ISSN 0028-4793. PMC 7122126. PMID 31951683.
  31. "Outbreak of Lung Injury Associated with the Use of E-Cigarette, or Vaping, Products". Centers for Disease Control and Prevention. 17 January 2020.
  32. 32.0 32.1 Li, Liqiao; Lin, Yan; Xia, Tian; Zhu, Yifang (7 January 2020). "Effects of Electronic Cigarettes on Indoor Air Quality and Health". Annual Review of Public Health. 41: 363–380. doi:10.1146/annurev-publhealth-040119-094043. ISSN 0163-7525. PMC 7346849. PMID 31910714.
  33. Wills, Thomas A.; Soneji, Samir S.; Choi, Kelvin; Jaspers, Ilona; Tam, Elizabeth K. (10 October 2020). "E-cigarette Use and Respiratory Disorder: An Integrative Review of Converging Evidence from Epidemiological and Laboratory Studies". European Respiratory Journal. 56 (5): 363–380. doi:10.1183/13993003.01815-2019. ISSN 1399-3003. PMC 7817920. PMID 33154031.
Kembali kehalaman sebelumnya