เนื้อหาในบทความนี้
ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดู
หน้าอภิปราย ประกอบ
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง (จีนตัวย่อ : 北京地铁 ; จีนตัวเต็ม : 北京地鐵 ) เป็นเครือข่ายรางรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเชื่อมต่อเขตเมืองและชานเมืองของมหานครปักกิ่ง ประเทศจีน
การเปิดใช้งาน
ภาพเคลื่อนไหวแสดงลำดับการเปิดให้บริการ แบ่งตามปี
รถไฟใต้ดินสายแรกเปิดทำการใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13 เส้นทาง มีจำนวนทั้งสิ้น 172 สถานี และมีรางรถไฟทำการกว่า 336 กิโลเมตร รถไฟใต้ดินปักกิ่งเป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ มีความยาวและมีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 รถไฟใต้ดินดังกล่าวทำสถิติรับส่งผู้โดยสารกว่า 6.4 ล้านคน[ 5] เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สาย 15, สายชางผิง, สายฟางซาน, สายอี้จวง, และสายตาซิง ได้เปิดให้บริการ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการขยายรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายที่มีอยู่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการระบบขนส่งมวลชนของนครและแผนการขยายรถไฟใต้ดินอย่างกว้างขวางอีกมากกว่า 700 กิโลเมตร มีกำหนดเสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2558 และอีก 1,000 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2563[ 6] แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาลจีนได้เร่งให้เกิดการก่อสร้างรถไฟใต้ดินดังกล่าว เครือข่ายรถไฟใต้ดินมีกำหนดจะถึง 420 กิโลเมตร ภายใน พ.ศ. 2555[ 7]
ค่าโดยสาร
ค่าโดยสารของรถไฟใต้ดินปักกิ่งคิดอัตราเดียวตลอดทาง คือ 2 หยวน โดยไม่จำกัดการเปลี่ยนสาย ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกสายยกเว้นรถไฟด่วนสายสนามบิน ซึ่งคิดค่าโดยสาร 25 หยวน[ 8] เด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 1.2 เมตร สามารถโดยสารไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้ใหญ่ที่จ่ายเงินแล้ว[ 9]
วิธีการจำหน่ายตั๋ว
บัตรโดยสารเที่ยวเดียว
รถไฟใต้ดินทุกสายเก็บค่าโดยสารผ่านเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (AFC) ซึ่งยอมรับตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวและอี้ข่าทง ซึ่งเป็นรูปแบบสมาร์ตการ์ด ที่สามารถสะสมเครดิตในการโดยสารหลายเที่ยวได้[ 10] ผู้โดยสารสามารถซื้อบัตรและเพิ่มเครดิตให้กับอี้ข่าทง ณ จุดจำหน่ายตั๋วและเครื่องจำหน่ายตั๋วในทุกสถานี อี้ข่าทงยังได้รับการยอมรับในรถโดยสารประจำทางปักกิ่งส่วนใหญ่ และสามารถใช้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ
การใช้ตั๋วที่ได้รับการตรวจด้วยมือของเสมียนถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551[ 11] ก่อนหน้าการคิดค่าโดยสารอัตราเดียวตลอดทางเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 3-7 หยวน ขึ้นอยู่กับเส้นทางและจำนวนการเปลี่ยนสาย
เส้นทางในปัจจุบัน
เส้นทาง
สถานีปลายทาง(เขต)
เปิดให้บริการ
ส่วนต่อขยาย
ระยะทางกิโลเมตร
จำนวนสถานี(ในวงเล็บ สถานียกระดับ)
01 1
ผิงกว่อหยวน (Shijingshan)
ซื่อฮุ่ยตะวันออก (Chaoyang)
1969
1999
30.4
23 (2)
02 2 วงกลม
ซีจื๋อเหมิน (Xicheng)
สถานีรถไฟปักกิ่ง (Dongcheng)
1971
1987
23.1
18
04 4
อันเหอเฉียวเป่ย (Haidian)
กงยี่ซีเฉียว (Fengtai)
2009
2010
28.2
24 (1)
05 5
เทียนทงหยวนเหนือ (Changping)
ซ่งเจียจวง (Fengtai)
2007
—
27.6
23 (7)
06 6
ไห่เตี้ยน อู่ลู่จวี (Haidian)
ลู่เฉิง (Tongzhou)
2012
—
30.4
20
07 7
สถานีรถไฟปักกิ่งตะวันตก (Fengtai)
เจียวฮว่าฉั่ง (Chaoyang)
2014
—
23.7
21
08 8
หุยหลงก่วนตงต้าเจี๋ย (Changping)
กู่โหลวต้าเจี๋ย (Dongcheng/Xicheng)
2008
2012
22.0
12
09 9
หอสมุดแห่งชาติ (Haidian)
กวอกงจวง (Fengtai)
2011
2012
16.5
12
10 10 วงกลม
ซีจวี๋ (Fengtai)
โส่วจิงเม่า (Fengtai)
2008
2013
57.1
45
13 13
ซีจื๋อเหมิน (Xicheng)
ตงจื๋อเหมิน (Dongcheng)
2002
2003
40.9
16 (15)
14 14
จางกวอจวง (Fengtai)
ซีจวี๋ (Fengtai)
2013
—
12.4
0 6 (2)
15 15
วั่งจิงตะวันตก (Chaoyang)
เฟิ่งปั๋ว (Shunyi)
2010
2011
30.2
12 (4)
BT สายบาตง
ซื่อฮุ่ย (Chaoyang)
ถู่เฉียว (Tongzhou)
2003
—
18.9
13 (13)
CP สายชางปิง
ชางผิงซีซานโข่ว (Changping)
ซีเอ้อร์ฉี (Haidian)
2010
—
21.24
07 7 (6)
DX สายดาซิง
กงยี่ซีเฉียว (Fengtai)
เทียนกงเยวี่ยน (Daxing)
2010
—
21.7
12 (1)
FS สายฝังซาน
กวอกงจวง (Fengtai)
ซวีจวง (Fangshan)
2010
2011
24.79
11 (9)
YZ สายยีจวง
ซ่งเจียจวง (Fengtai)
ชื่อฉฺวี (Tongzhou)
2010
—
23.3
13 (8)
AE AE
ตงจื๋อเหมิน (Dongcheng)
เทอร์มินัล 2 (Chaoyang) เทอร์มินัล 3 (Shunyi)
2008
—
28.1
0 4 (1)
ทั้งหมด
457
270
เวลาในการให้บริการ
รถไฟฟ้าจะปิดบริการหลังเที่ยงคืน[ 12] รถไฟฟ้าจะให้บริการตั้งแต่เวลา 5.00-23.00 น. (ยกเว้นสายแอร์พอร์ตที่จะให้บริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา)
ระบบรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าทุกขบวนวิ่งบนราง 1,435 มิลลิเมตร (56.5 นิ้ว) และรับกระแสไฟฟ้า 750 โวลต์ โดยใช้รางที่สาม ยกเว้นสาย 6 และ 14 ที่ใช้ลวดเหนือหัว รถไฟฟ้าทุกสายให้บริการ 6 คันต่อขบวน ความเร็วเฉลี่ย 80 km/h (50 mph) ยกเว้นสาย 6 ที่ใช้ 8 คันต่อขบวน และสายแอร์พอร์ตที่ใช้ 4 คันต่อขบวน ซึ่งทำความเร็วได้ 100 km/h (62 mph) และ 110 km/h (68 mph) ตามลำดับ[ 13] [ 14]
รถไฟฟ้าสาย 6 และ 14 รับไฟฟ้าจากลวดเหนือหัว
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสาย 6
รถไฟชานเมืองปักกิ่ง
รถไฟชานเมืองปักกิ่ง สายที่ให้บริการในปัจจุบันคือ สายเอส 2 เปิดให้บริการ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2008[ 15]
สวนรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าสาย 1 ที่ปลดประจำการ ถูกตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สวนรถไฟฟ้า
สวนรถไฟฟ้าในเขตต้าซิง เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2010 เพื่อเป็นอนุสรณ์ของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง[ 16] โดยสวนแห่งนี้สามารถเข้าชมได้โดไม่เสียค่าใช้จ่าย
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bjd202207
↑ 2.0 2.1 "2018年统计报告" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 4, 2020. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bjnews12July2019
↑ "北京市2019年国民经济和社会发展统计公报" .
↑ 北京地铁4月30日客流超过640万人次居全国之首" May 1, 2010
↑ "北京2020年轨道交通线路预计将达1000公里左右" www.chinanews.com.cn 2010.12.30
↑ (Chinese) Sun, Xiaosheng "北京市已规划地铁和高速路2009年将全部开工" Xinhua Jan. 5, 2009
↑ "Beijing airport express rail on trial run," China Daily July 15, 2008
↑ "New AFC system to manage subway tickets in Beijing starting June 9," Official Website of the Beijing Olympics เก็บถาวร 2012-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน June 6, 2008
↑ "Beijing MTR website" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-09-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03 .
↑ "Paper tickets fade out of Beijing subway" Xinhua June 9, 2008
↑ The subway operated throughout the night from Aug. 8-9, 2008 to accommodate the Opening Ceremonies of the Olympic Games, and is extending evening operations of all lines by one to three hours (to 1-2 a.m.) through the duration of the Games. Bsjsubway.com เก็บถาวร 2008-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ <New Beijing subway to ease traffic congestion, Wu Wenjie, deputy director of China Railway Tunnel Group, China Daily. Reporter ZHENG Xin.[1] 2012-11-26.
↑ "Linear Motor Commuter for Beijing" CNR website เก็บถาวร 2010-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed Mar. 27, 2010
↑ (Chinese) 本市首条市郊铁路8月初通车 记者体验“动车”S2线 千龙网 เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน July 22, 2008
↑ (Chinese) Li Zhiyong, "北京建成首座地铁主题文化公园" Xinhua เก็บถาวร 2013-10-03 ที่ archive.today 2010-10-28
เส้นทางที่เปิดให้บริการ เส้นทางที่กำลังก่อสร้าง เส้นทางโครงการ
1 (สายแยก)
7 (ระยะ 3)
11 (ระยะ 2)
15 (ระยะ 2)
17 (สายแยก)
19 (ส่วนขยายและสายแยก)
20 (ระยะ 1)
Lijin (สาย 25 ระยะ 3)
S6 (ระยะ 1)
ดูเพิ่ม
ระบบขนส่งมวลชนในประเทศจีน
เส้นทางที่เปิดให้บริการ
รถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเบา รถไฟชานเมือง รถราง
เส้นทางที่กำลังก่อสร้าง