Share to:

 

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว

รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว (อังกฤษ: Mass Rapid Transit (MRT)) หรือที่มักเรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน (subway, underground) เมโทร (metro) รถไฟรางหนัก (heavy rail) เป็นระบบขนส่งสาธารณะที่มีความจุผู้โดยสารสูง ซึ่งแตกต่างไปจากรถโดยสารสาธารณะ หรือรถราง ตรงที่เป็นระบบขนส่งที่มีเส้นทางที่สงวนไว้เป็นของตนเอง (right-of-way) ไม่ให้ยานยนต์ประเภทอื่นเข้ามาใช้ร่วมกันได้ โดยมักจะเป็นทางในอุโมงค์ใต้ดิน หรือ ทางยกระดับ. ระบบขนส่งมวลชนเร็วถูกพบได้ในเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก รถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงลอนดอน เปิดใช้เมื่อ ค.ศ. 1980 [1] ปัจจุบันมีเมืองไม่ต่ำกว่า 162 เมืองที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน

ศัพท์

Underground ในสัญลักษณ์ของรถไฟใต้ดินลอนดอน

ประวัติ

ภาพการก่อสร้างรถไฟใต้ดินลอนดอน ในปี ค.ศ. 1861

ระบบขนส่งมวลชนเร็วสายแรก เริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1863 คือ รถไฟใต้ดินลอนดอน ในปี ค.ศ. 1890 การรถไฟลอนดอนใต้ เป็นการรถไฟแรกที่มีรถไฟขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้า[2] ระบบขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าได้ใช้ในเส้นทางรถไฟใต้ดินลอนดอน ซึ่งพัฒนาไปได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ

สำหรับระบบขนส่งมวลชนเร็วสายแรกของประเทศไทย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นแบบยกระดับ ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 27 กันยายน 2537 โดยขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 [3]

ส่วนประเทศในอาเซียนได้มีระบบขนส่งมวลชนเร็วเรียงตามลำดับ คือ ฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2527, สิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2530, มาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2539, ไทย ในปี พ.ศ. 2542, อินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2562, เวียดนาม ในปี พ.ศ. 2564

การดำเนินการ

ระบบขนส่งมวลชนเร็วมักใช้ในเขตเมือง เพื่อที่จะใช้ขนส่งผู้คนมากมายได้อย่างรวดเร็ว ระบบขนส่งมวลชนเร็ว มีขอบเขตเส้นทางมากที่สุดเพียงแค่เส้นทางระหว่างเมือง ส่วนเขตชานเมืองอื่นๆ จะใช้รถไฟธรรมดา การดำเนินการของระบบขนส่งมวลชนเร็ว อาจส่งผลต่อความพึงพอใจต่อเจ้าของด้วย

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว สามารถใช้เดินทางร่วมกับระบบอื่นๆ ได้ อาทิเช่น รถโดยสารประจำทาง รถราง หรือ รถไฟชานเมือง ซึ่งจะช่วยในเรื่องการรับรองผู้โดยสาร เนื่องด้วยความจำกัดในบางพื้นที่ อาจทำให้สร้างรถไฟฟ้าไม่เพียงต่อ จึงต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนอื่นแทน

รูปแบบผังเส้นทาง

โครงสร้างทั่วไป

ขบวนรถไฟฟ้า จะมีจำนวนตู้โดยสารตั้งแต่ 3 - 10 ตู้/ขบวน[4] โดยจะรับกระแสไฟฟ้าจากรางที่สามหรือระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว[5] ส่วนใหญ่ขบวนรถไฟฟ้าจะใช้ล้อที่ทำมาจากเหล็ก แต่ในบางสายอาจมีการใช้ล้อยางก็ได้ ซึ่งจะเกิดแรงเย็นระหว่างฉุดลากขบวนรถ[6]

ลักษณะเส้นทาง

รถไฟฟ้าในเมืองฮัมบวร์ค

แบบใต้ดินจะอยู่ใต้ชั้นถนน ซึ่งจะทำให้การจราจรบนถนนคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่บริเวณเกาะกลางสำหรับตอม่อทางยกระดับ แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้งบประมาณมาก และการขุดอุโมงค์ต้องทำการปิดการจราจรบางส่วน อาจทำให้การจราจรติดขัด สำหรับการสร้างอุโมงค์จะมีขั้นตอนที่เรียกว่า คัต-แอนด์-คัฟเวอร์ ซึ่งเป็นการฉาบคอนกรีตไปในเนื้ออุโมงค์[2] แบบระดับดินหรือระดับถนนมักใช้กับแถบชานเมือง ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่าแบบใต้ดินหรือยกระดับ ส่วนรถไฟยกระดับ มีงบประมาณที่น้อยกว่าแบบใต้ดิน มักพบในเมืองที่การจราจรไม่ติดกันนัก

สถานี

สถานีรถไฟฟ้าของรถไฟใต้ดินมาดริด

สถานีเป็นจุดจอดของรถไฟฟ้าเพื่อใช้ขนส่งผู้คน ซึ่งจะมีเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนชานชาลาของแต่ละสถานีอาจแตกต่างกันไป เช่น ชานชาลาด้านข้าง ชานชาลาเกาะกลาง[7] สถานีใต้ดินมักจะแบ่งเป็น 2 ชั้น บางสถานีจะอยู่ลึกมาก ต้องใช้บันไดเลื่อนที่ยาวเป็นพิเศษ ในบางสถานีจะมีศูนย์การค้าอยู่ด้วย[8] ส่วนสถานีแถบชานเมือง จะมีอาคารจอดแล้วจร เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการได้จอดรถส่วนตัว[9]

สถานีส่วนใหญ่มักออกแบบให้มีความสูงของชานชาลาเท่าระดับประตูของรถไฟ[10] และระหว่างที่ขบวนรถจอด ผู้โดยสารต้องระวังช่องว่างระหว่างชานชาลาและรถไฟด้วย บางสถานีใช้ประตูกั้นชานชาลา ซึ่งช่วยป้องกันคนตกลงไปในทางวิ่ง

สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ลึกที่สุดในโลก คือ สถานีอาร์เซนัลนา ที่เมืองเคียฟ ประเทศยูเครน[11] สำหรับในประเทศไทยนั้น สถานีที่อยู่ลึกที่สุด คือ สถานีสีลมในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยระดับชานชาลาอยู่ลึก 30 เมตรจากผิวดิน

สมุดภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. London, England, United Kingdom" เก็บถาวร 2006-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Geographic
  2. 2.0 2.1 Ovenden, 2007: 7
  3. ครม. มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 กำหนดให้รถไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง 25 ตารางกิโลเมตร “ต้อง” สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน และพื้นที่ภายในวงแหวนรอบในหรือถนนรัชดาภิเษก 87 ตารางกิโลเมตร “ควร” สร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน https://www.ryt9.com/s/cabt/2613256
  4. White, 2002: 64
  5. Sato, Yoshihiko; Matsumoto, Akira and Knothe, Klaus (2002). "Review on rail corrugation studies". Wear. 253 (1–2): 130. doi:10.1016/S0043-1648(02)00092-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-21.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Société de transport de Montréal. The Montreal Métro, a source of pride (PDF). p. 6. ISBN 2-921969-08-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  7. Uslan et al., 1990: 71
  8. Cervero, 1998: 8
  9. Cervero, 1998: 226
  10. Boorse, Jack W. (1999). "Dual-Mode Traction Power Distribution for Light Rail Transit: A Design Option". Transportation Research Record. 1677: 67–72. doi:10.3141/1677-09.
  11. Ming-Tsun Ke, Tsung-Che Cheng and Wen-Por Wang (2002). "Numerical simulation for optimizing the design of subway environmental control system". Building and Environment. 37 (11): 1139–1152. doi:10.1016/S0360-1323(01)00105-6.
Kembali kehalaman sebelumnya