Share to:

 

รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556

รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556
การประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่จัตุรัสเราะบาอ์, 1 สิงหาคม ค.ศ. 2013
วันที่3 กรกฎาคม 2013; 11 ปีก่อน (2013-07-03)
สถานที่ อียิปต์
สาเหตุการประท้วงในประเทศอียิปต์ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013
เป้าหมายปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี
ผลกองทัพอียิปต์ปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซีออก
คู่ขัดแย้ง

กองทัพอียิปต์


อียิปต์ ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซี
ผู้นำ
มุฮัมมัด มุรซี
(ประธานาธิบดีอียิปต์, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก)
ฮิชาม ก็อนดีล
(นายกรัฐมนตรีอียิปต์)
ซะอัด อัลกะตาตนี
(ประธาน FJP)
มุฮัมมัด บะดีอ์
(หัวหน้าควานมุสลิมีน)
ค็อยร็อต อัชชาฏิร
(รองหัวหน้าอิควานมุสลิมีน)
อับดุลฟัตตาฮ์ อัสซีซี
(ผู้บัญชาการทหารบก, รองนายกรัฐมนตรีและกระทรวงกลาโหม)[ต้องการอ้างอิง]
ศิดกี ศุบฮี
(เสนาธิการทหารบก)
มุฮัมมัด อิบรอฮีม
(กระทรวงมหาดไทย)
อียิปต์ ฮุสนี มุบาร็อก
(อดีตประธานาธิบดีอียิปต์)
พระสันตะปาปาตะวาฎุรูสที่ 2
(พระสันตะปาปาแห่งอเล็กซานเดรีย)
อัครบิดรธีโอดอร์ที่ 2
(อัครบิดรแห่งอเล็กซานเดรีย)
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 1,150 คน[4][5]
บาดเจ็บมากกว่า 4,000 คน[2][3]

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 จอมพล อับดุล ฟาตะห์ อัล-เซสซี (Abdul Fatah al-Sisi) ถอดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี (Mohamed Morsi) และระงับรัฐธรรมนูญแห่งอียิปต์หลังมีการประท้วงสาธารณะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประท้วงสาธารณะขนานใหญ่ในประเทศอียิปต์ทั้งสนับสนุนและต่อต้านมุรซี และมีคำเตือนจากกองทัพให้ประธานาธิบดีสนองตอบข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง มิฉะนั้นกองทัพจะดำเนินตามแผนของตน อัล-เซสซีประกาศให้อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ชั่วคราว มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและมีการจับกุมผู้นำภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) จากนั้น ได้เกิดการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์[6]

การประท้วงต่อต้านมุรซีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีพิธีเข้ารับตำแหน่งของมุรซี ผู้ประท้วงหลายล้านคนทั่วประเทศออกมาตามท้องถนนและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออกทันที สาเหตุรวมถึงการกล่าวหาว่ามุรซีเป็นเผด็จการเพิ่มขึ้นและผลักดันวาระศาสนาอิสลามโดยไม่คำนึงถึงผู้คัดค้านฆราวาสนิยม (secular)[7][8][9] การเดินขบวนประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบ กลายเป็นรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีห้าคนถูกสังหารในการปะทะและเหตุยิงกันหลายครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้สนับสนุนมุรซีจัดการชุมนุมในนครนาสซ์ (Nasr City) อันเป็นย่านของกรุงไคโร[10]

เช้าวันที่ 1 กรกฎาคม ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีปล้นสะดมสำนักงานใหญ่ประจำชาติของกลุ่มภารดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร ผู้ประท้วงขว้างปาวัตถุใส่กระจกและปล้นอาคาร ทั้งขโมยอุปกรณ์สำนักงานและเอกสาร กระทรวงสาธารณสุขและประชากรยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตแปดคนในเหตุปะทะรอบสำนักงานใหญ่[11] วันที่ 3 กรกฎาคม มือปืนเปิดฉากยิงใส่การชุมนุมสนับสนุนมุรซี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 16-18 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 200 คน[12][13][14][15] ขณะเดียวกัน ระหว่างที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ก็มีการประท้วงสนับสนุนมุรซีขนาดเล็กกว่าด้วย

สถานการณ์บานปลายเป็นวิกฤตการณ์การเมืองและรัฐธรรมนูญระดับชาติ เมื่อมุรซีปฏิเสธข้อเรียกร้องของกองทัพที่ให้เขาสละอำนาจและกองทัพขู่ว่าจะยึดอำนาจหากนักการเมืองพลเรือนไม่ระงับสถานการณ์ มุรซีกล่าวสุนทรพจน์ท้าทายซึ่งเขาย้ำความชอบธรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและวิจารณ์กองทัพที่ถือฝ่ายในวิกฤตการณ์นี้ วันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพอียิปต์ประกาศยุติการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของมุรซี[16][17] ระงับรัฐธรรมนูญ และให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่โดยเร็ว กองทัพแต่งตั้งให้อัดลี มันซูร์ ประธานศาลสูงสุด เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว และมอบหมายให้เขาตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านที่นิยมนักวิชาการ (technocratic)[16] มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและผู้นำภราดรภาพมุสลิมถูกจับ[18] แถลงการณ์ดังกล่าวตามมาด้วยการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์ ฝ่ายแกรนด์ชีคแห่งอัลอัซฮัร (Grand Sheikh of Al Azhar) อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ พระสันตะปาปาทาวาดรอสที่ 2 แห่งศาสนจักรคอปติก เช่นเดียวกับผู้นำฝ่ายค้าน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด ออกแถลงการณ์หลังแถลงการณ์ของกองทัพเช่นกัน[19]

ประชาคมนานาชาติมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปะปนกัน โลกอาหรับส่วนใหญ่สนับสนุนหรือเป็นกลาง ยกเว้นประเทศตูนิเซียอันเป็นจุดเริ่มต้นของอาหรับสปริง รัฐอื่นไม่ประณามก็แสดงความกังวลต่อรัฐประหารดังกล่าว เนื่องจากระเบียบของสหภาพแอฟริกาว่าด้วยการขัดขวางการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญโดยรัฐสมาชิก อียิปต์จึงถูกระงับสมาชิกภาพ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงในสื่อว่าด้วยการอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ การประท้วงสนับสนุนมุรซีดำเนินต่อไปอย่างน้อยถึงวันที่ 21 กรกฎาคม

อ้างอิง

  1. "BREAKING: Egypt's interim president dissolves Shura Council: State TV". Ahram Online. 5 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  2. "Health Ministry: 52 dead since unrest began". Egypt Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
  3. "31 Egyptians killed in clashes". World Bulletin. 6 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
  4. "Egypt: Rabaa Killings Likely Crimes against Humanity". Human Rights Watch. 12 August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2014. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
  5. "90 Egyptians killed in week's clashes". World Bulletin. 6 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
  6. Abigail Hauslohner. "Egypt protests: Protesters joyous as army removes Morsi, Morsi rejects 'coup'". Toronto Star. Retrieved 3 July 2013.
  7. Patrick Kingsley (30 June 2013). "Protesters across Egypt call for Mohamed Morsi to go". The Guardian.
  8. Hendawi, Hamza; Macdonald, Alastair (30 June 2013). "Egypt protests: Thousands gather at Tahrir Square to demand Morsi's ouster". AP via Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  9. Spencer, Richard (1 July 2013). "Egypt protests: Army issues 48-hour ultimatum for agreement amid clashes". The Daily Telegraph. Cairo. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
  10. "Egypt crisis: Mass protests over Morsi grip cities". BBC News. 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
  11. "Egypt protesters storm Muslim Brotherhood headquarters". BBC News. 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
  12. "Egypt: Deadly Clashes at Cairo University".
  13. "Gun attack on Cairo pro-Morsi rally kills 16: ministry".
  14. "Attack on pro-Morsi rally kills 16".
  15. "Morsi refuses to quit as Egypt army deadline looms". The times of Oman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-07-22.
  16. 16.0 16.1 "Morsy out in Egypt coup". CNN. 28 June 2013. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
  17. "Egyptian army suspends constitution". BBC News. 3 July 2013.
  18. Abigail Hauslohner. "Egypt protests: Protesters joyous as army removes Morsi, Morsi rejects 'coup'". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
  19. "Elbaradei appointed as Egypt's interim PM". Al Jazeera. 6 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
Kembali kehalaman sebelumnya