รัฐมหาราษฏระ
มหาราษฏระ เป็นรัฐทางตะวันตกของประเทศอินเดีย มีพื้นที่อยู่บนบางส่วนของที่ราบสูงเดกกัน เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ และพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ คิดเป็นพื้นที่ 307,713 km2 (118,809 sq mi) มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ ทิศใต้ติดกับรัฐกัวและรัฐกรณาฏกะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรัฐเตลังคานา ทิศตะวันออกติดกับรัฐฉัตตีสครห์ ทิศเหนือติดกับรัฐคุชราตและรัฐมัธยประเทศ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู[12] นอกจากนี้ รัฐมหาราษฏระจัดเป็นหน่วยการปกครองระดับที่หนึ่งที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รัฐมหาราษฏระก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เกิดจากการรวมกันของพื้นที่บางส่วนของรัฐบอมเบย์ (Bombay State), มณฑลเบราร (Berar Division), วิทรภา (Vidarbha), บางส่วนของรัฐไฮเดอราบาด (Hyderabad State) และบางส่วนที่แยกออกมาจากรัฐเสาราษฏระ (Saurashtra State) ตามรัฐบัญญัติการจัดระเบียบรัฐ ค.ศ. 1956 (States Reorganisation Act, 1956) รัฐมหาราษฏระมีประชากรกว่า 112 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 18.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในมุมไบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ ทำให้มุมไบเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอินเดีย เมืองที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ นาคปุระ ซึ่งเป็นเมืองที่จัดสมัยประชุมภาคฤดูหนาวของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐมหาราษฏระ[13] ปุเณ เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ออกซฟอร์ดแห่งโลกตะวันออก" ด้วยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในเมือง[14][15] และนาศิก เป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองหลวงไวน์แห่งอินเดีย" เนื่องจากมีไร่องุ่นและโรงกลั่นเหล้าองุ่นตั้งอยู่ที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก แม่น้ำหลักสองสายของรัฐคือแม่น้ำโคทาวรีและแม่น้ำกฤษณา และมีแม่น้ำนรรมทากับแม่น้ำตาปตีไหลผ่านตรงรอยต่อกับรัฐมัธยประเทศและรัฐคุชราต รัฐมหาราษฏระถือเป็นรัฐที่เกิดการนคราภิวัฒน์ (Urbanisation) สูงเป็นอันดับสามในอินเดีย[16][17] ก่อนประเทศอินเดียจะถูกยึดครองโดยอังกฤษ บริเวณรัฐมหาราษฏระเคยปกครองโดยจักรวรรดิสาตวาหนะ จักรวรรดิราษฏรกุตะ จลุกยะตะวันตก รัฐสุลต่านเดกกัน จักรวรรดิโมกุล และจักรวรรดิมราฐา ก่อนจะถูกปกครองโดยบริติชราชในที่สุด โบราณสถาน อนุสาวรีย์ สุสาน ป้อมปราการ และศาสนสถานต่าง ๆ ที่สร้างโดยจักรววรดิและความเชื่อที่แตกต่างกันจึงสามารถพบได้จำนวนมากในบริเวณนี้ในปัจจุบัน ในจำนวนนั้นประกอบด้วยแหล่งมรดกโลก ถ้ำอชันตาและถ้ำเอลโลรา ป้อมปราการจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยยจักรพรรดิศิวาจี รัฐมหาราษฏระเป็นรัฐที่มั่งคั่งที่สุดในอินเดียในทุกตัวแปรการประเมิน และยังเป็นรัฐที่เกิดการกลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation) มากที่สุดในอินเดีย[18][19] จีดีพีกว่า 15% ของประเทศอินเดียมาจากรัฐมหาราษฏระ ทำให้รัฐมหาราษฏระเป็นหนึ่งในรัฐที่มีส่วนสำคัญที่สุดรัฐหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอินเดีย[20] รัฐมหาราษฏระผลิตอุตสาหกรรม 17% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และผลิต 16% ของผลิตภัณฑ์ทางบริการทั้งประเทศอินเดีย[21] ประวัติศาสตร์
หลักฐานการตั้งถิ่นฐานจากยุคทองแดง ของวัฒนธรรมจอร์เว (Jorwe culture) (1300–700 ก่อนคริสตกาล) นั้นพบไปทั่วทั้งรัฐมหาราษฏระ[22][23] มหาราษฏระตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิเมารยะ ในคริสต์ศตวรรษสามถึงสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล ต่อมา 230 ปีก่อนคริสตกาล รัฐมหาราษฏระได้อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสาตวาหนะ เป็นเวลากว่า 400 ปี[24] จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดินี้คือ โคตมิปุตระ สาตกรณี (Gautamiputra Satakarni) ในปี ค.ศ. 90 [25] บุตรของพระเจ้าสาตกรณี (Satakarni) ผู้ทรงเป็น "จ้าวแห่งทักษิณาปถา (Lord of Dakshinapatha), ผู้ทรงจักรที่ไม่อาจหยุดยั้งได้แห่งเอกราช (wielder of the unchecked wheel of Sovereignty)" ตั้งเมืองจุนนาร์ (Junnar) ซึ่งตั้งอยู่ 30 ไมล์ทางตอนเหนือของปุเณในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร ต่อมารัฐมหาราษฏระยังเคยอยู่ภายใต้การปกครองของทั้ง Western Satraps, จักรวรรดิคุปตะ, Gurjara-Pratihara, วากาฏกะ (Vakataka), Kadambas, จักรวรรดิจาลุกยะ, Rashtrakuta Dynasty, และจาลุกยะตะวันตก ก่อท่ในที่สุดจะถูกปกครองภายใต้Yadava ถ้ำอชันตา ในอำเภอออรังคาบาดแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะแบบสาตวาหนะและวากาฏกะ เป็นไปได้ว่าการเจาะถ้ำน่าจะเริ่มต้นในยุคนี้[26] จักรวรรดิจาลุกยะได้ปกครองบริเวณนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่หกถึงแปด โดยมีกษัตริย์องค์สำคัญสองพระองค์คือ Pulakeshin II ผู้เอาชนะกษัตริย์จากอินเดียเหนือ Harsha และ Vikramaditya II ผู้ปราบผู้รุกรานชาวอาหรับในศควรรษที่แปด จักรวรรดิ Rashtrakuta ปกครองพื้นที่ต่อในศตวรรษที่แปดถึงสิบ[27] นักเดินทางชาวอาหรับนามว่า Sulaiman al Mahri เล่าถึงผู้ปกครองของจักรวรรดิ Rashtrakuta พระนามว่า Amoghavarsha เป็น "หนึ่งในสี่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก"[28] ศัพทมูลภาษามราฐีในปัจจุบันนั้นพัฒนามาจากประกริตมหาราษฏระ (Maharashtri Prakrit)[29]และคำว่า มรหัตตะ (Marhatta) (ต่อมาคือมราฐา) นั้นก็พบในวรรณกรรมมหาราษฏระไชนะ คำว่า มหาราษฏระ (Maharashtra), มหาราษฏรี (Maharashtri), มราฐี (Marathi) และ มราฐา (Maratha) อาจมาจากรากเดียวกัน อย่างไรก็ตามรากศัพทมูลที่แน่ชัดยังเป็นที่ไม่ชัดเจน[30] ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดในบรรดานักวิชาการด้านภาษา นั้นคือคำว่า มราฐา (Maratha) และ มหาราษฏระ (Maharashtra) ในท้ายที่สุดน่าจะเกิดจากการรวมกันของคำว่า มหา (Maha; มราฐี: महा) กับ ราษฏริกา (rashtrika; มราฐี: राष्ट्रिका)[30] ชื่อของชนเผ่าหรือจักรวรรดิในแถบที่ราบสูงเดกกัน[31] อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ามาจากการรวมกันของคำว่า มหา (Maha - "ยิ่งใหญ่") กับ รถ (ratha) / รถี (rathi) (ราชรถ / สารถี) อันสื่อถึงกองทัพที่เก่งกาจทางตอนเหนือ ที่ได้ย้ายถิ่นฐานลงมาทางใต้ในแถบบริเวณมหาราษฏระในปัจจุบัน[31][32] อีกทฤษฎีที่มาแทนคือเกิดากการรวมของคำว่า มหา (Maha - "ยิ่งใหญ่") และ ราษฏระ (Rashtra - "ราษฎร/เชื้อชาติ")[33] อย่างไรก็ตามมมุงมองนี้เป็นที่ถกเถียงมากในหมู๋นักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการตีความจากนักเขียนรุ่นหลัง ๆ ที่ใช้การทำคำเดิมเป็นสันสกฤต (Sanskritised)[30] ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศรัฐมหาราษฏระครอบคลุมพื้นที่อินเดียตะวันตกและตอนกลางของประเทศและมีชายฝั่งยาว 720 กิโลเมตร[34] ไปตามทะเลอาหรับ[35] หนึ่งในองค์ประกอบภูมิศาสตร์สำคัญของรัฐมหาราษฏระคือที่ราบสูงเดกกัน (Deccan plateau) ซึ่งแยกออกจากชายฝั่งมณฑลโกนกันด้วยหมู่เทือกเขาฆาฏ[36] หนึ่งในองค์ประกอบเทือกเขาที่มีชื่อเสียงของรัฐคือ เทือกเขาฆาฏตะวันตกหรือเทือกเขาสาหยาตรี (Sahyadri Mountain range) ทางตะวันตก และมีเทอกเขาสัตปุระ (Satpura Hills) ทางตอนเหนือ และเทือกเขาภัมรคัท-จิโรลี-ไคขุรี (Bhamragad-Chiroli-Gaikhuri) ทางตะวันออก[37] ภูมิอากาศรัฐมหาราษฏระมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน (tropical climate) ประกอบด้วยสามฤดู ฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูมรสุม (เมษายน–กันยายน) และฤดูหนาว (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) อย่างไรก็ตามอาจมีน้ำค้างและลูกเห็บบ้างในบางครา[38] ฤดูร้อนนั้นร้อนมากเป็นพิเศษ อุณหภูมิอาจสูงขึ้นจาก 22 °C ไปถึง 43 °C ในฤดูร้อน ในฤดูฝนมีเดือนกรกฎาคมที่เป็นเดือนที่รัฐมหาราษฏระชุ่มแฉะมากเป็นพิเศษ และฝนจะเริ่มลดลงในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ฐาเน, อำเภอไรคัท, อำเภอรัตนคีรี และ อำเภอสินธุทุรค์ มีฝนตกหนักถึง 200 ซม ต่อปี ในขณะที่อำเภอนาศิก, อำเภอปุเณ, อำเภออะห์เมดนะคร, อำเภอธุเล, อำเภอชลคะโอน, อำเภอสตร, อำเภอสังคลี, อำเภอโสลปุระ และบางส่วนของอำเภอโกลหาปูระ มีปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่า 50 ซม[39] ในฤดูหนาวมหาราษฏระ อุณหภูมิอยู๋ที่ 12 °C ถึง 34 °C การแบ่งเขตการปกครองมหาราษฏระประกอบด้วยมณฑลการปกครอง (administrative divisions) 6 มณฑล:[40] ซึ่งส่วนการปกครอง (administrative divisions) ทั้ง 6 มณฑลจะแบ่งออกเป็น 36 อำเภอ, 109 แขวง (sub-divisions) และ 357 ตลุกะ (taluka)[41] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รัฐมหาราษฏระ |