Share to:

 

ริกกี แลมเบิร์ต

ริกกี แลมเบิร์ต
แลมเบิร์ต ลงซ้อมให้กับลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2014
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ริกกี ลี แลมเบิร์ต
(Rickie Lee Lambert)
วันเกิด (1982-02-16) 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1982 (42 ปี)
สถานที่เกิด เคอร์กบี, อังกฤษ
ส่วนสูง 1.88 m (6 ft 2 in)[1]
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1992–1997 ลิเวอร์พูล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1998–2000 แบล็กพูล 3 (0)
2001–2002 แมกเคิลส์ฟีลด์ทาวน์ 44 (8)
2002–2005 สตอกพอร์ตเคาน์ตี 98 (18)
2005–2006 รอชเดล 64 (28)
2006–2009 บริสตอลโรเวอส์ 128 (51)
2009–2014 เซาแทมป์ตัน 207 (106)
2014–2015 ลิเวอร์พูล 25 (2)
2015–2016 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 20 (1)
2016–2017 คาร์ดิฟฟ์ซิตี 18 (4)
ทีมชาติ
2013–2014 อังกฤษ 11 (3)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20:09, 24 พฤษภาคม 2015 (UTC)
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 16:00, 18 พฤศจิกายน 2014 (UTC)

ริกกี แลมเบิร์ต (อังกฤษ: Rickie Lambert; ชื่อเต็ม: ริกกี ลี แลมเบิร์ต (Rickie Lee Lambert); เกิด: 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1982) เป็นอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษตำแหน่งกองหน้า เคยเล่นในพรีเมียร์ลีกให้กับหลายสโมสร ทั้งเซาแทมป์ตัน, ลิเวอร์พูล และเวสต์บรอมมิชอัลเบียน และเป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ

แลมเบิร์ตเริ่มตันการเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับแบล็กพูล หลังจากนั้นก็ไปเล่นให้กับแมกเคิลส์ฟีลด์ทาวน์, สตอกพอร์ตเคาน์ตี, รอชเดล และบริสตอลโรเวอส์ และย้ายร่วมกับเซาแทมป์ตันในปี ค.ศ. 2009 และได้สร้างชื่อเสียงขึ้นมา ก่อนที่จะได้ย้ายไปร่วมกับลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นสโมสรเยาวชนที่เจ้าตัวเคยอยู่และเป็นสโมสรที่ใฝ่ฝันที่จะร่วมทีมมาตั้งแต่เด็ก

ชีวิตส่วนตัว

ริกกี แลมเบิร์ต เกิดที่ย่านเวสต์เวล, เคอร์กบี, มณฑลเมอร์ซีไซด์ ในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย โดยเป็นลูกชายของเรย์ และเมารีน แลมเบิร์ต แลมเบิร์ตชื่นชอบการเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่เด็ก และเข้าสู่สโมสรเยาวชนของลิเวอร์พูลตั้งแต่อายุเพียง 5 ขวบ แต่เมื่ออายุได้ 15 ปี ก็ถูกถอดออกจากทีม เนื่องจากไม่เข้าตาผู้ฝึกสอน จึงได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตขวดบรรจุบีทรูทเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว ได้ค่าตอบแทนวันละ 20 ปอนด์[2]

ชีวิตครอบครัว แลมเบิร์ตมีภรรยาชื่อ เอมี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยคนสุดท้อง ชื่อว่า เบลลา โรส เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่แลมเบิร์ตถูกเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษ เป็นครั้งแรก ในนัดที่อังกฤษพบกับ สกอตแลนด์ [3]

สโมสรอาชีพ

แบล็กพูล

แมกเคิลส์ฟีลด์ทาวน์

สตอกพอร์ตเคาน์ตี

รอชเดล

บริสตอลโรเวอส์

เซาแทมป์ตัน

แลมเบิร์ต ขณะเล่นให้กับเซาแทมป์ตันในปี ค.ศ. 2013

แลมเบิร์ต เล่นได้ดีกับเซาแทมป์ตัน และทำผลงานได้ดีตลอดทั้งฤดูกาล 2013–14 เมื่อจบฤดูกาลเซาแทมป์ตันอยู่อันดับที่ 8 นับว่าเป็นอันดับที่น่าพอใจ เนื่องจากเพิ่งเลื่อนชั้นมาสู่พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี[4] ดังนั้น เมื่อจบฤดูกาล ลิเวอร์พูลได้ติดต่อขอซื้อตัวเข้าร่วมทีม ด้วยสัญญา 2 ปี ค่าตัวราว 4 ล้านปอนด์[5] และนับเป็นผู้เล่นหนึ่งใน 5 รายของเซาแทมป์ตันที่ย้ายออกไปในช่วงเวลานั้น[4]

ลิเวอร์พูล

ริกกี แลมเบิร์ต ได้ย้ายจากเซาแทมป์ตันสู่ลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2014–15 ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2014 พรีเมียร์ลีก นัดเปิดฤดูกาล 2014–15 แลมเบิร์ต ได้ลงสนามนัดแรกให้กับลิเวอร์พูล โดยลงสนามเป็นตัวสำรองในช่วง 14 นาทีสุดท้ายแทน ฟีลีปี โกชิญญู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะทีมเก่าของเขา เซาแทมป์ตัน 2-1 ในช่วงแรก แลมเบิร์ต มักจะเป็นตัวสำรอง จนกระทั่ง มารีโอ บาโลเตลลี มีอาการบาดเจ็บ ทำให้ แลมเบิร์ต ได้มีโอกาสลงสนามเป็นตัวจริงและยิงประตูให้กับลิเวอร์พูลได้เป็นลูกแรกในพรีเมียร์ลีกนัดที่ 12 ที่ลิเวอร์พูลเป็นฝ่ายแพ้คริสตัลพาเลซ 3-1 โดยที่แลมเบิร์ตเป็นผู้ยิงประตูให้ลิเวอร์พูลขึ้นนำ 0-1 ตั้งแต่นาทีที่ 2[6] ต่อมา ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 แลมเบิร์ต ได้ลงเป็นตัวจริงนัดแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2014–15 และทำประตูแรกให้กับ ลิเวอร์พูล ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เสมอกับ ลูโดโกเร็ตส์ ราซกราด จาก บัลแกเรีย 2-2[7] และทำประตูในพรีเมียร์ลีกลูกที่ 2 ในนัดที่ 21 ในนัดที่ลิเวอร์พูลเอาชนะแอสตันวิลลาไปได้ 0-2 ได้ที่สนามวิลลาพาร์ก โดยแลมเบิร์ตยิงประตูได้ในนาทีที่ 79 นับเป็นประตูที่ 2[8] [9]

ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2015 แลมเบิร์ต ได้ติดทีมยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ ของลีกรองอังกฤษ ในงานประกาศรางวัลของเดอะฟุตบอลลีก

เวสต์บรอมมิชอัลเบียน

แต่การเล่นให้กับลิเวอร์พูล แลมเบิร์ตเป็นเพียงตัวสำรอง ทำให้ทั้งฤดูกาลได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกเพียง 25 นัดเท่านั้น และยิงได้ 2 ประตู และรวมทั้งหมดทุกรายการลงเล่น 36 นัด ยิงไปได้เพียง 3 ประตู ทำให้ก่อนเปิดฤดูกาล 2015–16 แลมเบิร์ตได้รับการติดต่อจากโทนี พูลิส ผู้จัดการของเวสต์บรอมมิชอัลเบียน ขอซื้อตัว โดยคาดว่ามีค่าตัวราว 3 ล้านปอนด์[10]

คาร์ดิฟฟ์ซิตี

หลังจบฤดูกาล 2015–16 แลมเบิร์ตได้ย้ายไปยังคาร์ดิฟฟ์ซิตี ในเดอะแชมเปียนชิป ด้วยสัญญา 2 ปี เนื่องจากถูกเวสต์บรอมมิชอัลเบียนปล่อยตัวออกไปในแบบไม่เปิดเผยค่าตัว กอรปกับได้ซื้อตัวฮัล ร็อบสัน-คานู นักฟุตบอลทีมชาติเวลส์ เข้ามาเพิ่มในตำแหน่งกองหน้า ทำให้โอกาสได้ลงเล่นของแลมเบิร์ตน้อยลง[11]

ทีมชาติอังกฤษ

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ริกกี แลมเบิร์ต ถูกเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรกด้วยวัย 31 ปี ต่อมา แลมเบิร์ต ได้ลงสนามนัดแรกให้กับทีมชาติ โดยลงสนามเป็นตัวสำรองแทน เวย์น รูนีย์ และทำประตูแรกให้กับทีมชาติในนัดที่อุ่นเครื่องกระชับมิตรเอาชนะ สกอตแลนด์ 3-2

ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2014 ทีมชาติอังกฤษลงเล่นนัดแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก เจอกับ สวิตเซอร์แลนด์ ที่บาเซิล โดย แลมเบิร์ต ลงสนามเป็นตัวสำรองและจ่ายบอลให้ แดนนี เวลเบก ทำประตูให้ อังกฤษ เอาชนะ สวิตเซอร์แลนด์ 2-0

ฟุตบอลโลก 2014

ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ทีมชาติอังกฤษได้เรียกตัว ริกกี แลมเบิร์ต ติดรายชื่อ 23 คน ชุดลุยศึก ฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล โดย อังกฤษ ได้อยู่กลุ่ม D ร่วมกับ อุรุกวัย, คอสตาริกา และ อิตาลี โดย แลมเบิร์ต ได้ลงเล่นแค่นัดเดียวในนัดที่แพ้ให้กับ อุรุกวัย 1-2 สุดท้าย อังกฤษ ก็ต้องตกรอบแรก ได้อันดับสุดท้ายของกลุ่ม D เสมอ 1 แพ้ 2 (แพ้ อิตาลี 1-2, แพ้ อุรุกวัย 1-2 และ เสมอ คอสตาริกา 0-0) ทำให้ทีมชาติอังกฤษต้องจบเส้นทางฟุตบอลโลกที่บราซิลเพียงรอบแรกเท่านั้น และเป็นครั้งแรกในรอบ 56 ปีที่อังกฤษตกรอบแรกฟุตบอลโลก

ประตูในนามทีมชาติ

ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2014[12]
# วันที่ สนาม คู่แข่งขัน ประตู ผล การแข่งขัน
1 14 สิงหาคม 2013 สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 3–2 3–2 เกมอุ่นเครื่องกระชับมิตร
2 6 กันยายน 2013 สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ ธงชาติมอลโดวา มอลโดวา 2–0 4–0 ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
3 4 มิถุนายน 2014 ซันไลฟ์สเตเดียม, ไมแอมี, สหรัฐอเมริกา ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 2–1 2–2 เกมอุ่นเครื่องกระชับมิตร

สถิติ

สโมสร

ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2015.[13]
Club statistics
สโมสร ฤดูกาล ลีก ฟุตบอลถ้วย ลีกคัพ อื่นๆ/ยุโรป รวม
ดิวิชัน ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
แบล็กพูล 1998–99 Second Division 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1999–2000 Second Division 3 0 0 0 0 0 0 0 3 0
2000–01 Third Division 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
รวม 3 0 0 0 0 0 0 0 3 0
แมกเคิลส์ฟีลด์ทาวน์ 2000–01 Third Division 9 0 0 0 0 0 0 0 9 0
2001–02 Third Division 35 8 4 2 0 0 1 0 40 10
รวม 44 8 4 2 0 0 1 0 49 10
Stockport County 2002–03 Second Division 29 2 0 0 1 0 2 0 32 2
2003–04 Second Division 40 12 1 0 2 0 2 1 45 13
2004–05 ลีกวัน 29 4 2 0 0 0 2 0 33 4
รวม 98 18 3 0 3 0 6 1 110 19
รอชเดล 2004–05 ลีกทู 15 6 0 0 0 0 0 0 15 6
2005–06 ลีกทู 46 22 1 0 1 0 2 0 50 22
2006–07 ลีกทู 3 0 0 0 0 0 0 0 3 0
รวม 64 28 1 0 1 0 2 0 68 28
บริสตอลโรเวอส์ 2006–07 ลีกทู 36 8 5 0 0 0 8 2 49 10
2007–08 ลีกวัน 46 13 8 6 2 0 1 0 57 19
2008–09 ลีกวัน 45 29 1 0 1 0 1 0 48 29
2009–10 ลีกวัน 1 1 0 0 0 0 0 0 1 1
รวม 128 51 14 6 3 0 10 2 155 59
เซาแทมป์ตัน 2009–10 ลีกวัน 45 30 5 2 2 1 6 3 58 36
2010–11 ลีกวัน 45 21 4 0 2 0 1 0 52 21
2011–12 แชมเปียนชิป 42 27 2 2 4 2 48 31
2012–13 พรีเมียร์ลีก 38 15 0 0 0 0 38 15
2013–14 พรีเมียร์ลีก 37 13 2 1 0 0 39 14
รวม 207 106 13 5 8 3 7 3 235 117
ลิเวอร์พูล 2014–15 พรีเมียร์ลีก 25 2 4 0 3 0 4 1 36 3
เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 2015–16 พรีเมียร์ลีก 0 0 0 0 0 0 0 0
รวมทั้งหมด 569 213 39 13 18 3 30 7 656 236

ทีมชาติ

ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2014.[13]
อังกฤษ
ปี ลงเล่น ประตู
2013 4 2
2014 7 1
รวม 11 3

เกียรติประวัติ

สโมสร

บริสตอลโรเวอส์

  • Football League Two Play-Offs: 2006-07

เซาแทมป์ตัน

  • Football League Championship Runners-Up: 2011–12
  • Football League One Runners-Up: 2010–11
  • Football League Trophy: 2009-10

รางวัลส่วนตัว

  • PFA Championship Team of the Year: 2011–12
  • PFA League One Team of the Year: 2008–09, 2009–10
  • PFA Fans' League One Player of the Year: 2009–10
  • Football League One Golden Boot: 2008–09
  • Football League Championship Player of the Year: 2011–12
  • Football League Championship Golden Boot: 2011–12
  • นักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของบริสตอลโรเวอส์: 2008–09
  • นักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของเซาแทมป์ตัน: 2009–10, 2011–12

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-12-05.
  2. "ริคกี แลมเบิร์ต". ไทยรัฐ. 31 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  3. "ประวัติ ริคกี้ แลมเบิร์ต จากหนุ่มโรงงานผักสู่หัวหอกลิเวอร์พูล". เอ็มไทยดอตคอม. 31 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-04. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  4. 4.0 4.1 "ถอดรหัสความสำเร็จ "เซาแธมป์ตัน" หลังถูกดึงแข้งดัง 5 ราย". ประชาชาติธุรกิจ. 4 August 2014. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  5. "แลมเบิร์ตเซ็นซบหงส์2ปีค่าตัวราว220ลบ". สนุกดอตคอม. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  6. ""แลมเบิร์ต" ซัดฉลองตัวจริง แต่หงส์บุกพ่าย 1-3". ผู้จัดการออนไลน์. 23 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 24 November 2014.
  7. ลิเวอร์พูลบุกไปเสมอที่โซเฟียก่อนเล่นนัดตัดสินกับบาเซิล[ลิงก์เสีย]
  8. ""หงส์" จิกวิลลา 2-0 "ผี-สิงห์" เฮนอกบ้าน". ผู้จัดการออนไลน์. 17 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  9. "บอรินี และแลมเบิร์ต ยิงประตูให้ลิเวอร์พูลเก็บแต้มที่วิลลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-18.
  10. "คาดหงส์ฟัน 3 ล้านป. ปล่อย "แลมเบิร์ต" ซบแบ็กกีส์". ผู้จัดการออนไลน์. 1 August 2015. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.[ลิงก์เสีย]
  11. "มวยโลกปล่อย'แลมเบิร์ต'ลงช่วยคาร์ดิฟฟ์ที่แชมป์เปี้ยนชิพ". โกลด์ดอตคอม. September 1, 2016. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
  12. "Rickie Lambert - Player Report". England Stats. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  13. 13.0 13.1 "Rickie Lambert career statistics". Soccerbase. 19 May 2013. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya