Share to:

 

วัดห้วยขมิ้น

วัดห้วยขมิ้น
แผนที่
ที่ตั้งตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดห้วยขมิ้น เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกกาย ปัจจุบันมีพระครูปลัดเกียรติศักดิ์ กนฺตสีโล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดห้วยขมิ้นถูกสร้างขึ้นราวปปี พ.ศ. 2348

ที่ตั้ง

วัดห้วยขมิ้น ตั้งอยู่เลขที่ 27 บ้านห้วยขมิ้น หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส.ค.1 เลขที่ 1.[1]

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จดห้วย
  • ทศใต้ จดที่ดินเอกชน
  • ทิศตะวันออก จดห้วย
  • ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน
  • มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 2447

[2]

ประวัติ

วัดห้วยขมิ้น ก่อตั่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2348 ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยขมิ้นมาแต่เดิม เป็นศาสนสถานที่บำเพ็ญบุญกุศลฃองชาวบ้านห้วยขมิ้นและหมู่บ้านใกล้เคียง วัดห้วยขมิ้นได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 40 เมตร[3]

ศาสนสถาน

  1. อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2510 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  2. ศาลาการเปรียญ กว้าง 21 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2505 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  3. กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งไม้
  4. วิหาร กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  5. อาคารเอนกประสงค์ กว้าง 16 เมตร ยาว 21 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  6. ฌาปนสถาน จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  7. ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

[4]

ปูชนียวัตถุ

  1. พระประธานประจำอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลอง ปางมารวิชัย ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตัก กว้าง 86 นิ้ว สูง 108 นิ้ว สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2510
  2. พระหลวงพ่อขาวศักดิ์สิทธิ์ ลักษญะเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 64 นิ้ว สร้างราว ปี พ.ศ. 2460
  3. พระรูปเหมือนหลวงพ่อสีนวน กนฺตสีโล แกะสลักจากหินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 25 สูง 32 นิ้ว สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2555

[5]

การบริหารและการปกครอง

มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

  1. พระชื้น พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2504
  2. พระอธิการสีนวน กนฺตสีโล พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2554
  3. พระครูปลัดเกียรติศักดิ์ กนฺตสีโล พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

[6]

อ้างอิง

  1. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 613
  2. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 613
  3. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 613
  4. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 613
  5. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 614
  6. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 614
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya