วันอาชูรออ์อาชูรออฺ แปลว่า วันที่ 10 ในที่นี้คือวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม (เดือนแรกพภของอิสลาม) ความหมายในทัศนะของซุนนีเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า “ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน (โอ้ชาวยิว)” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม) บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ (สิบมุฮัรรอม) เป็นวาญิบ (จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎูแล้ว ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” [1] ความหมายเชิงสากลอาชูรออ์ เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซน บิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในแผ่นดินกัรบาลา เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 ฮุเซนและครอบครัวพร้อมกับบรรดาสาวกจำนวน 72 คนของท่านได้ร่วมได้เดินทางไปยังเมืองกูฟะ ประเทศอิรัก เนื่องจากประชาชนที่กูฟะได้ทำการร้องเรียกให้ฮุเซน อิบนิ อาลี มาปกครองและโค่นล้มบัลลังค์ของราชวงค์บนีอุมัยยะ ผู้ปกครองในยุคนั้น ซึ่งระหว่างการเดินทาง กองคาราวานของฮุเซนได้ไปหยุดอยู่ที่หนึ่งซึ่งที่นั่นเรียกว่า กัรบาลา คาราวานของเขายังคงเดินทางไปต่อไม่ได้เนื่องจาก ถูกทหารฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ จำนวนหลายแสนคนได้ทำการปิดกันทาง แม้กระทั่งธารน้ำฟูรอต เพื่อไม่ให้คนในกองคาราวานดื่มน้ำ แม้จะเป็นเด็กและสตรีก็ตาม ท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงปิดกั้นน้ำ ? ทำไมถึงต้องมาในจำนวนมากขนาดนั้น ? คำตอบก็คือ ทางฝ่ายของบนีอุมัยยะนั้นไม่ต้องการให้ใครมีชีวิตรอดแม้แต่คนเดียว เหลือเพียงเด็กและสตรีในการเป็นเชลยก็เพียงพอ และหากท่านยังสงสัยว่า ทำไมต้องฆ่าฮุเซน ? คำตอบก็คือ เพียงเพราะเขา (ฮุเซน) ไม่ยอมรับการปกครองที่อธรรมของบนีอุมัยยะ อีกทั้งคำพูดของเขา (ฮุเซน) ที่ยังโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็คือ ยอมตายอย่างมีศักดิ์ศรีเสียดีกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างอัปยศ นั่นซึ่งทำให้ ในโลกอิสลามหรือศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่าจะนิกายไหนก็ตามต่างพากันพูดถึงเรื่องราวของฮุเซน ไม่เพียงแค่ชีอะห์เท่านั้น แต่รวมถึงนิกายอื่น ๆ ที่มีความรัก ไปยังลูกหลานของศาสดามูฮัมหมัด ต่างพากันรำลึกในการเสียสละของ ฮุเซน ชาวมุสลิมชีอะหฺจะไว้อาลัยฮุเซนในวันอาชูรออ์ โดยการจัดพิธีกรรม เช่นการเล่าเรื่องอิมามฮุเซนจากประวัติศาสตร์ การขอดุอาอ์ การร้องไห้ การเลี้ยงอาหารและน้ำให้แก่คนยากจน สถานที่จัดคือที่มัสยิด หรือฮุซัยนียะหฺ อาชูรอคือการกำชับความดีและระงับความชั่ว คือเสียงป่าวร้องต่อต้านการทำเป็นทองไม่รู้ร้อนและการวางเฉยในสงครามระหว่างธรรมะกับอธรรม และอาชูรอคือสุรเสียงแห่งการคัดค้านของฮุเซน อิบนี อาลี (อ) หัวหน้าของบรรดาชะฮีดต่อการนั่งเก้าอี้ปกครองประชาชาติอิสลามของเหล่าผู้อธรรม อาชูรอประณามการวางเฉยของรัฐเกี่ยวกับประเด็นสำคัญสามประการ: ความจริง, ความยุติธรรม และศีลธรรมอันดีงาม อาชูรอถือว่าการปกป้องและเข้าข้างความเท็จ ความอธรรม และความเสื่อมเสียนั้นคือความชั่วทางสังคมที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งอิมามฮุซัยน์ (อ) อิมามแห่งบรรดาชะฮีดได้ลุกขึ้นต่อต้านความชั่วร้ายนั้นพร้อมกับแบกรับความเจ็บปวดรวดร้าวทั้งหมดไว้ในการบำราบความชั่วที่ร้ายแรงดังกล่าว ขบวนการของอิมามฮุซัยน์ (อ) มิใช่การการเดินทางท่องเที่ยว ค้าขาย หรือแม้กระทั่งการเดินทางด้วยเจตนาไปทำหัจญ์และอุมเราะฮ์ หรือการเดินทางไปเยี่ยมเยียนศาสนสถาน แต่การเดินทางไปกัรบะลาของอิมามฮุซัยน์ (อ) นั้นเป็นการอพยพในมิติของการปกป้อง มิติของการเคารพภักดีพระเจ้า และมิติของการเผยแผ่สาส์นด้วยเจตนาในการทำหน้าที่อันสำคัญและหนักอึ้ง หน้าที่ของการต่อสู้อันเป็นสากล อาชูรอมีบทเรียน อนุสติ และภาพลักษณ์ที่ฉายออกมาให้เห็นมากมายซึ่งทุกปีจะถูกกล่าวซ้ำและนำเสนอโดยปวงปราชญ์ นักวิชาการศาสนา นักเผยแผ่ที่เคร่งครัด และนักกวีแห่งกัรบะลา ดูเพิ่มอ้างอิง |