วันเดอร์ฟูลทาวน์ หรือ เมืองเหงาซ่อนรัก เป็นภาพยนตร์ความยาว 92 นาที กำกับโดย อาทิตย์ อัสสรัตน์ ออกฉายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2550 ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ [1]
เรื่องย่อ
ตะกั่วป่า เมืองเล็กๆ ริมชายฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิเมื่อ พ.ศ. 2547 หลังเวลาผ่านไปสามปี ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว แต่ในตัวอำเภอยังมีบรรยากาศความเศร้าสร้อยแฝงอยู่ทั่วไป
ต้น (ศุภสิทธิ์ แก่นเสน) สถาปนิกหนุ่มจากกรุงเทพ เพิ่งย้ายเข้ามาคุมงานสร้างรีสอร์ตแห่งใหม่ริมชายหาด เขาพักอยู่ที่โรงแรมเก่าแก่ในตัวอำเภอที่มีนา (อัญชลี สายสุนทร) เป็นผู้ดูแลอยู่ ทั้งคู่มีอัธยาศัยต้องใจกันจนพัฒนาเป็นความรัก
ในเช้าวันหลังจากที่ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กัน ต้นก็หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมกับที่วิทย์ (ดล แย้มบุญยิ่ง) น้องชายคนเดียวของนา เลิกเป็นวัยรุ่นกวนเมือง กลับตัวกลับใจหันมาช่วยพี่สาวดูแลกิจการของครอบครัว ตามที่พ่อแม่ตั้งใจไว้
นักแสดง
การเข้าฉาย
ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายแบบจำกัดโรงในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และยังได้รับเชิญให้ไปฉายและเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์หลายเทศกาลทั่วโลก
- รายชื่อเทศกาลที่เชิญไปฉายและเข้าประกวด
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 13[2]
- เทศกาลภาพยนตร์เยรูซาเล็ม ครั้งที่ 25 ได้เข้าฉายในสายผู้กำกับหน้าใหม่(New Directors)[3]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินิวซีแลนด์ 2008 ซึ่งมีเทศกาลย่อยตามเมืองต่างๆหลายเมือง
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโอกแลนด์ ครั้งที่ 40 ได้เข้าฉายในสาย New Directions[4]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวลลิงตัน ครั้งที่ 37 ได้เข้าฉายในสาย New Directions[5]
- เทศกาลภาพยนตร์เอเชียและอาหรับ Osian's Cinefan ครั้งที่ 10 ได้เข้าประกวดในสาย Asian and Arab Competition ซึ่งเป็นสายหลัก
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเยเรวาน Golden Apricot ครั้งที่ 5 ได้เข้าประกวดและรับรางวัล Silver Prize[6]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Era New Horizons ครั้งที่ 8 ที่เมือง Wrocław ประเทศโปแลนด์ ได้เข้าประกวดในสาย New Horizons International Competition[7]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Durban ครั้งที่ 29[8]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมลเบิร์น 2008 ได้เข้าฉายในสาย Neighbourhood watch[9]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติบริสเบน
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินอร์เวย์ ที่เมือง Haugesund ได้เข้าฉายในสาย Sidesprang[10]
- เทศกาลภาพยนตร์สหรัฐ-อาเซียน ครั้งที่ 5[11]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเฮลซิงกิ ครั้งที่ 21 ได้เข้าสายประกวด[12]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ 2008[13]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต ครั้งที่ 27 ได้เข้าฉายในสาย Dragons and Tigers[14]
- ทเศกาลภาพยนตร์จากแดนใต้ (Film fra Sør) 2008 ที่ออสโล[15]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวียนนา (Viennale) 2008[16]
- เทศกาลหนังเซาเปาโล
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2008 ได้เข้าประกวดในสายรางวัลภาพยนตร์เอเชีย-ตะวันออกกลางยอดเยี่ยม[17]
รางวัลและการเข้าชิง
ตัวหนา หมายถึง สาขารางวัลที่ได้รับ
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วันเดอร์ฟูลทาวน์)
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดล แย้มบุญยิ่ง)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (หม่อมราชวงศ์อัมพรพล ยุคล)
- บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (ทีฆะเดช วัชรธานินท์, อัครริศเฉลิม กัลยาณมิตร - บริษัท เทคนิค คัลเลอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Zai Kuning, Koichi Shimizu)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (การัณยภาส ขำสิน)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วันเดอร์ฟูลทาวน์)
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (อัญชลี สายสุนทร)
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดล แย้มบุญยิ่ง)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- กำกับภาพยอดเยี่ยม (หม่อมราชวงศ์อัมพรพล ยุคล)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (การัณยภาส ขำสิน)
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ลี ชาตะเมธีกุล)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Zai Kuning, Koichi Shimizu)
- งานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
- ภาพยนตร์ฉายจำกัดโรงแห่งปี (วันเดอร์ฟูลทาวน์)
อ้างอิง
ดูเพิ่ม