วิจิตรศิลป์ (อังกฤษ: fine art) เป็นศิลปะที่พัฒนาขึ้นเพื่อสุนทรียภาพหรือความงามเป็นหลัก ต่างจากศิลปะประยุกต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น เครื่องปั้นดินเผาหรืองานโลหะส่วนใหญ่
ในอดีต วิจิตรศิลป์มีห้าแขนงหลัก ประกอบด้วย จิตรกรรม, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, ดนตรี และกวีนิพนธ์ กับศิลปะการแสดง ได้แก่ การละครและการเต้นรำ[1] รวมไปถึงภาพต้นแบบเก่าและการวาดเส้นนับว่าเป็นจิตรกรรม เช่นเดียวกับวรรณคดีรูปแบบร้อยแก้ว ที่นับว่าเป็นกวีนิพนธ์ ในปัจจุบัน วิจิตรศิลป์โดยทั่วไปจะรวมถึงรูปแบบที่ทันสมัยด้วย เช่น ภาพยนตร์, การถ่ายภาพ, การสร้างวิดีโอ/การลำดับภาพ, การออกแบบ และศิลปะเชิงแนวคิด
คำจำกัดความของคำว่า วิจิตรศิลป์ คือ "ทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุนทรียภาพและสติปัญญาโดยตัดสินจากความงามและความหมายเป็นหลัก โดยเฉพาะ จิตรกรรม, ประติมากรรม, การวาดเส้น, การระบายสีน้ำ, กราฟิก และสถาปัตยกรรม"[2] ในความหมายมีความแตกต่างระหว่างวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ ตามที่เข้าใจกันมาแต่เดิม
และเป็นที่เข้าใจกันในยุคปัจจุบันคือ การรับรู้คุณภาพความงามต้องใช้วิจารณญาณกลั่นกรอง หรือมีรสนิยมดี ซึ่งแตกต่างจากศิลปะนิยมและการบันเทิง[3]
อ้างอิง
อ่านเพิ่มเติม
- Ballard, A. (1898). Arrows; or, Teaching a fine art. New York: A.S. Barnes & Company.
- Caffin, Charles Henry. (1901). Photography as a fine art; the achievements and possibilities of photographic art in America. New York: Doubleday, Page & Co.
- Crane, L., and Whiting, C. G. (1885). Art and the formation of taste: six lectures. Boston: Chautauqua Press. Chapter 4 : Fine Arts
- Hegel, G. W. F., and Bosanquet, B. (1905). The introduction to Hegel's Philosophy of fine art. London: K. Paul, Trench &.
- Hegel, G. W. F. (1998). Aesthetics: lectures on fine art. Oxford: Clarendon Press.
- Neville, H. (1875). The stage: its past and present in relation to fine art. London: R. Bentley and Son.
- Rossetti, W. M. (1867). Fine art, chiefly contemporary: notices re-printed, with revisions. London: Macmillan.
- Shiner, Larry. (2003). "The Invention of Art: A Cultural History". Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-75342-3
- Torrey, J. (1874). A theory of fine art. New York: Scribner, Armstrong, and Co.
- ALBA (2018). [1] เก็บถาวร 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.